ปัตตานี – “เครือข่ายนักศึกษาเพื่อพิทักษ์ประชาชน” ซึ่งใช้ชื่อย่อว่า “คพช.” ได้ออกแถลงการณ์ยาวเหยียดเกี่ยวกับสถานการณ์ไฟใต้ที่ปะทุคุกรุ่นรุนแรงขึ้นในเวลานี้ โดยมีเนื้อหาหลักที่ต้องการเสนอแนะให้ฝ่ายทหารและรัฐบาลจริงใจต่อการแก้วิกฤตไฟใต้โดยเร็ว
วันนี้ (11 มิ.ย.) นายตูแวดานียา ตูแวแมแง ในฐานะประธานเครือข่ายนักศึกษาเพื่อพิทักษ์ประชาชน (คพช.) เปิดเผยว่า เครือข่ายนักศึกษาเพื่อพิทักษ์ประชาชนได้ออกแถลงการณ์ ซึ่งมีเนื้อหาสาระสำคัญ ดังงนี้
ตามที่ได้เกิดเหตุการณ์มีกลุ่มคนร้ายไม่ทราบจำนวนบุกเข้ากราดยิงชาวบ้านด้วยอาวุธสงครามขณะกำลังละหมาดในมัสยิดประจำหมู่บ้าน บ้านไอปาแย ต.จวบ อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส ซึ่งตามข้อมูลจากโรงพยาบาลมีผู้เสียชีวิต 10 คน แต่ฝ่ายความมั่นคงยืนยันว่ามีจำนวน 11 คน และมีผู้บาดเจ็บตามข้อมูลจากโรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์อีก 12 คน เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2552 เวลาประมาณ 20.00 น. โดยที่คนร้ายสวมหมวกไหมพรมปิดบังใบหน้าขณะก่อเหตุด้วยนั้น
ในนามเครือข่ายนักศึกษาเพื่อพิทักษ์ประชาชน (คพช.) ขอประณามการกระทำอันไร้มนุษยธรรมอย่างอุกอาจ และไม่เคารพสถานประกอบศาสนกิจของพี่น้องมุสลิมชายแดนใต้ โดยไม่เกรงกลัวต่อกฎหมายพิเศษที่มีอยู่ในมือของทหารอย่างล้นฟ้า ตามอำนาจของกฎอัยการศึก และพระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่เต็มไปด้วยกองกำลังทหารทุกหน่วยทุกประเภท ซึ่งในเวลาปัจจุบันนี้มีจำนวนถึง 70,000 กว่านาย
อีกทั้งบริเวณที่เกิดเหตุก็เป็นพื้นที่ที่อยู่ใกล้กับการควบคุมของกองบัญชาการผสม พลเรือน ตำรวจ ทหาร (พตท.) ตามโครงการหมู่บ้านสันติสุขหรือ “หมู่บ้าน 3 ส.” ที่กองกำลังของ พตท.เรียกว่า “ชุดพัฒนาสันติ” กระจายเข้าไปอาศัยอยู่กับชาวบ้านในพื้นที่สีแดงตามทัศนะของ พตท.จำนวน 217 หมู่บ้านทั่วพื้นที่ชายแดนใต้ แต่เหตุการณ์อันโหดเหี้ยมที่ต้องสังเวยชีวิตชาวบ้านผู้บริสุทธิ์ 10 หรือ 11 คน ในครั้งนี้ก็ยังเกิดขึ้นได้
ทั้งนี้ ความจริงที่ผ่านการพิสูจน์ตามกระบวนการยุติธรรมแห่งนิติรัฐ จนถึงทุกวันนี้ก็ยังไม่ปรากฏชัดแจ้งว่าคนร้ายเป็นใคร แต่ทางโฆษกกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า (กอ.รมน.ภาค 4 สน.) พ.อ.ปริญญา ฉายดิลก กล่าวให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนในคืนเดียวกันกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เวลาประมาณ 22.30 น. ห่างจากเวลาเกิดเหตุประมาณ 2 ชั่วโมงว่า
“เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นค่อนข้างอ่อนไหว และฝ่ายความมั่นคงยังไม่สามารถฟันธงโดยไม่มีหลักฐานได้ว่าเป็นการกระทำของกลุ่มใด แต่ยืนยันชัดเจนว่าไม่ใช่เจ้าหน้าที่อย่างแน่นอน ส่วนจะเป็นกลุ่มใดนั้น กำลังเร่งตรวจสอบอยู่ โดยเฉพาะกลุ่มที่พยายามเสี้ยมให้คนไทยพุทธกับคนมุสลิมทะเลาะกัน”
การออกมายืนยันของผู้ทำหน้าที่เป็นโฆษก กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า ในภาวะของเวลาอันจำกัดที่ห่างจากการก่อเหตุของคนร้ายเพียงแค่ 2 ชั่วโมง และในภาวะความอ่อนไหวของสถานที่เกิดเหตุนั่นคือ มัสยิดที่มีชาวบ้านกำลังละหมาดประจำเวลาอีซาอฺนั้น ดูเหมือนว่าเป็นการยืนยันบนฐานของความรู้สึก มากกว่าความเป็นจริง
โดยที่อาจจะมีเจตนาดีอย่างไรก็ตาม แต่คำพูดเช่นนี้ส่งผลในทางกลับกัน ทำให้เพิ่มความรู้สึกต่อครอบครัวของผู้สูญเสียและประชาชนในพื้นที่ชายแดนใต้ว่า เจ้าหน้าที่รัฐไม่มีความจริงใจในการให้ความเป็นธรรมกับชาวบ้าน และยังส่อวิสัยว่า “อำนาจของทหารคือ ความยุติธรรม” ซึ่งปรากฏการณ์เช่นนี้ไม่ได้ส่งผลดีต่อการสร้างสรรค์สันติภาพบนแนวทางสันติวิธีในพื้นที่ชายแดนใต้ของประเทศไทยแต่อย่างใดเลย
เรา เครือข่ายนักศึกษาเพื่อพิทักษ์ประชาชน (คพช.) มีข้อเสนอแนะต่อทหารและรัฐบาล เพื่อสนองนโยบายการเมืองนำการทหารของภาครัฐที่ได้ประกาศไว้ต่อสังคมไทยและสังคมโลก ดังต่อไปนี้
1. ให้รัฐบาลและทหารทบทวนนโยบายการเมืองนำการทหารนำสู่การปฏิบัติได้จริง ดังนี้
1.1 ถ้าอำนาจการตัดสินใจสูงสุดอยู่ที่ทหาร ในความเป็นจริงจะสามารถเกิดพื้นที่ทางการเมือง หรือพื้นที่สาธารณะ ที่มีหลักประกันความปลอดภัยหลังจากแสดงความคิดเห็นอย่างตรงไปตรงมา และปราศจากการคุกคามอย่างใส่ร้ายป้ายสี โดยเจ้าหน้าที่อาศัยอำนาจตามกฎอัยการศึก และ พ.ร.ก.ฉุกเฉินหรือไม่
1.2 ตามหลักการข้อ 1.1 ความเห็นของเครือข่ายนักศึกษาเพื่อพิทักษ์ประชาชน (คพช.) คิดว่า มีความเป็นไปได้สูงพื้นที่ทางการเมืองหรือพื้นที่สาธารณะ ซึ่งมีเจ้าของชะตากรรมได้มาแก้ปัญหาความเดือดร้อนของตัวเองตามหลักการประชาธิปไตย โดยประชาชน เพื่อประชาชน จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้อย่างแท้จริง ถ้าตราบใดอำนาจสูงสุดของการแก้ปัญหาไฟใต้ยังอยู่ที่ทหาร ฉะนั้นแล้ว เราขอเสนอเพื่อพิจารณาว่า จะดีหรือไม่ ถ้ายกเลิกกฎอัยการศึกและ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน รวมทั้งถอนทหารออกจากพื้นที่ เพื่อเปิดพื้นที่ทางการเมืองให้สามารถใช้แนวทางสันติวิธีได้อย่างแท้จริง
2. ให้ภาครัฐลบความรู้สึกคลางแคลงใจของชาวบ้านที่มีต่อเจ้าหน้าที่รัฐ ในหลายๆ เหตุการณ์ที่ชาวบ้านสงสัยว่า เจ้าหน้าที่รัฐมีส่วนพัวพัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหตุการณ์กราดยิงชาวบ้านในมัสยิดบ้านไอปาแยในครั้งนี้ โดยการ
2.1 พิสูจน์สร้างความกระจ่างชัดต่อภาคสังคมโดยรวม และให้ความเป็นธรรมกับครอบครัวผู้สูญเสีย โดยมาจากกระบวนการยุติธรรม ที่มีความอิสระจากการแทรกแซงของอำนาจทหาร ตำรวจ หรือรัฐบาล
2.2 หยุดใช้ความรู้สึกนำหน้าของเจ้าหน้าที่ ในการสรุปเหตุการณ์ที่ชาวบ้านคลางแคลงใจในทุกกรณี
3. เพื่อสร้างความเชื่อมั่นของประชาชนที่ชายแดนใต้ของประเทศไทย ต่อกระบวนการยุติธรรมแห่งนิติรัฐ ภาครัฐจะต้องนำคนผิดในเหตุการณ์กรือเซะ เหตุการณ์ตากใบ เหตุการณ์ซ้อมทรมานอิหม่ามยะผา กาเซ็ง จนเสียชีวิต เหตุการณ์ซ้อมทรมานนักกิจกรรมนักศึกษาราชภัฎยะลา และเหตุการณ์อื่นๆ ที่ยังไม่ถูกเปิดเผย มาลงโทษดำเนินคดีตามกฎหมาย ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และตามเจตนารมณ์ของหลักสิทธิมนุษยชนสากลที่รัฐไทยได้เข้าร่วมลงนาม และให้สัตยาบันกติการะหว่างประเทศและอนุสัญญาประกอบเป็นพันธกรณีที่จะต้องยึดถือปฏิบัติอยู่รวม 6 ฉบับ ดังนี้
- อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ [Convention on the Elimination of All Forms of Racial Discrimination (CERD)]
- อนุสัญญาต่อต้านการทรมานและปฏิบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี [Convention against Torture and Other Cruel Inhuman or Degrading Treatment or Punishment (CAT)]
- อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบและพิธีสารเลือกรับ [Convention on the Elimination of All Forms of Discrimination against Women (CEDAW), Optional Protocol]
- อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก [Convention on the Rights of the Child (CRC)]
- กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง [UN International Covenant on Civil and Political Rights (ICCPR)]
- กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม [UN International Covenant of Economic, Social and Cultural Rights (ICESCR)]
4. ขอให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ซึ่งเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ มีภารกิจหลักในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน โดยยึดถือหลักการสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ และพันธกรณีระหว่างประเทศเป็นฐานในการปฏิบัติงาน เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 257 มีอยู่ทั้งหมด 9 ข้อด้วยกัน โดยเฉพาะข้อ 4, 5 และ 6 ซึ่งมีใจความดังนี้
ข้อ 4 ฟ้องคดีต่อศาลยุติธรรมแทนผู้เสียหาย เมื่อได้รับการร้องขอจากผู้เสียหายและเป็นกรณีที่เห็นสมควร เพื่อแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนเป็นส่วนรวม ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ
ข้อ 5 เสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมายและกฎต่อรัฐสภาและคณะรัฐมนตรี เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
ข้อ 6 ส่งเสริมการศึกษา การวิจัย การเผยแพร่ ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชน
ทั้งนี้ ในท้ายของแถงการณ์ดังกล่าว ได้ลงท้ายด้วยข้อความว่า “ด้วยจิตรักสันติภาพ เครือข่ายนักศึกษาเพื่อพิทักษ์ประชาชน”
วันนี้ (11 มิ.ย.) นายตูแวดานียา ตูแวแมแง ในฐานะประธานเครือข่ายนักศึกษาเพื่อพิทักษ์ประชาชน (คพช.) เปิดเผยว่า เครือข่ายนักศึกษาเพื่อพิทักษ์ประชาชนได้ออกแถลงการณ์ ซึ่งมีเนื้อหาสาระสำคัญ ดังงนี้
ตามที่ได้เกิดเหตุการณ์มีกลุ่มคนร้ายไม่ทราบจำนวนบุกเข้ากราดยิงชาวบ้านด้วยอาวุธสงครามขณะกำลังละหมาดในมัสยิดประจำหมู่บ้าน บ้านไอปาแย ต.จวบ อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส ซึ่งตามข้อมูลจากโรงพยาบาลมีผู้เสียชีวิต 10 คน แต่ฝ่ายความมั่นคงยืนยันว่ามีจำนวน 11 คน และมีผู้บาดเจ็บตามข้อมูลจากโรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์อีก 12 คน เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2552 เวลาประมาณ 20.00 น. โดยที่คนร้ายสวมหมวกไหมพรมปิดบังใบหน้าขณะก่อเหตุด้วยนั้น
ในนามเครือข่ายนักศึกษาเพื่อพิทักษ์ประชาชน (คพช.) ขอประณามการกระทำอันไร้มนุษยธรรมอย่างอุกอาจ และไม่เคารพสถานประกอบศาสนกิจของพี่น้องมุสลิมชายแดนใต้ โดยไม่เกรงกลัวต่อกฎหมายพิเศษที่มีอยู่ในมือของทหารอย่างล้นฟ้า ตามอำนาจของกฎอัยการศึก และพระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่เต็มไปด้วยกองกำลังทหารทุกหน่วยทุกประเภท ซึ่งในเวลาปัจจุบันนี้มีจำนวนถึง 70,000 กว่านาย
อีกทั้งบริเวณที่เกิดเหตุก็เป็นพื้นที่ที่อยู่ใกล้กับการควบคุมของกองบัญชาการผสม พลเรือน ตำรวจ ทหาร (พตท.) ตามโครงการหมู่บ้านสันติสุขหรือ “หมู่บ้าน 3 ส.” ที่กองกำลังของ พตท.เรียกว่า “ชุดพัฒนาสันติ” กระจายเข้าไปอาศัยอยู่กับชาวบ้านในพื้นที่สีแดงตามทัศนะของ พตท.จำนวน 217 หมู่บ้านทั่วพื้นที่ชายแดนใต้ แต่เหตุการณ์อันโหดเหี้ยมที่ต้องสังเวยชีวิตชาวบ้านผู้บริสุทธิ์ 10 หรือ 11 คน ในครั้งนี้ก็ยังเกิดขึ้นได้
ทั้งนี้ ความจริงที่ผ่านการพิสูจน์ตามกระบวนการยุติธรรมแห่งนิติรัฐ จนถึงทุกวันนี้ก็ยังไม่ปรากฏชัดแจ้งว่าคนร้ายเป็นใคร แต่ทางโฆษกกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า (กอ.รมน.ภาค 4 สน.) พ.อ.ปริญญา ฉายดิลก กล่าวให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนในคืนเดียวกันกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เวลาประมาณ 22.30 น. ห่างจากเวลาเกิดเหตุประมาณ 2 ชั่วโมงว่า
“เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นค่อนข้างอ่อนไหว และฝ่ายความมั่นคงยังไม่สามารถฟันธงโดยไม่มีหลักฐานได้ว่าเป็นการกระทำของกลุ่มใด แต่ยืนยันชัดเจนว่าไม่ใช่เจ้าหน้าที่อย่างแน่นอน ส่วนจะเป็นกลุ่มใดนั้น กำลังเร่งตรวจสอบอยู่ โดยเฉพาะกลุ่มที่พยายามเสี้ยมให้คนไทยพุทธกับคนมุสลิมทะเลาะกัน”
การออกมายืนยันของผู้ทำหน้าที่เป็นโฆษก กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า ในภาวะของเวลาอันจำกัดที่ห่างจากการก่อเหตุของคนร้ายเพียงแค่ 2 ชั่วโมง และในภาวะความอ่อนไหวของสถานที่เกิดเหตุนั่นคือ มัสยิดที่มีชาวบ้านกำลังละหมาดประจำเวลาอีซาอฺนั้น ดูเหมือนว่าเป็นการยืนยันบนฐานของความรู้สึก มากกว่าความเป็นจริง
โดยที่อาจจะมีเจตนาดีอย่างไรก็ตาม แต่คำพูดเช่นนี้ส่งผลในทางกลับกัน ทำให้เพิ่มความรู้สึกต่อครอบครัวของผู้สูญเสียและประชาชนในพื้นที่ชายแดนใต้ว่า เจ้าหน้าที่รัฐไม่มีความจริงใจในการให้ความเป็นธรรมกับชาวบ้าน และยังส่อวิสัยว่า “อำนาจของทหารคือ ความยุติธรรม” ซึ่งปรากฏการณ์เช่นนี้ไม่ได้ส่งผลดีต่อการสร้างสรรค์สันติภาพบนแนวทางสันติวิธีในพื้นที่ชายแดนใต้ของประเทศไทยแต่อย่างใดเลย
เรา เครือข่ายนักศึกษาเพื่อพิทักษ์ประชาชน (คพช.) มีข้อเสนอแนะต่อทหารและรัฐบาล เพื่อสนองนโยบายการเมืองนำการทหารของภาครัฐที่ได้ประกาศไว้ต่อสังคมไทยและสังคมโลก ดังต่อไปนี้
1. ให้รัฐบาลและทหารทบทวนนโยบายการเมืองนำการทหารนำสู่การปฏิบัติได้จริง ดังนี้
1.1 ถ้าอำนาจการตัดสินใจสูงสุดอยู่ที่ทหาร ในความเป็นจริงจะสามารถเกิดพื้นที่ทางการเมือง หรือพื้นที่สาธารณะ ที่มีหลักประกันความปลอดภัยหลังจากแสดงความคิดเห็นอย่างตรงไปตรงมา และปราศจากการคุกคามอย่างใส่ร้ายป้ายสี โดยเจ้าหน้าที่อาศัยอำนาจตามกฎอัยการศึก และ พ.ร.ก.ฉุกเฉินหรือไม่
1.2 ตามหลักการข้อ 1.1 ความเห็นของเครือข่ายนักศึกษาเพื่อพิทักษ์ประชาชน (คพช.) คิดว่า มีความเป็นไปได้สูงพื้นที่ทางการเมืองหรือพื้นที่สาธารณะ ซึ่งมีเจ้าของชะตากรรมได้มาแก้ปัญหาความเดือดร้อนของตัวเองตามหลักการประชาธิปไตย โดยประชาชน เพื่อประชาชน จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้อย่างแท้จริง ถ้าตราบใดอำนาจสูงสุดของการแก้ปัญหาไฟใต้ยังอยู่ที่ทหาร ฉะนั้นแล้ว เราขอเสนอเพื่อพิจารณาว่า จะดีหรือไม่ ถ้ายกเลิกกฎอัยการศึกและ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน รวมทั้งถอนทหารออกจากพื้นที่ เพื่อเปิดพื้นที่ทางการเมืองให้สามารถใช้แนวทางสันติวิธีได้อย่างแท้จริง
2. ให้ภาครัฐลบความรู้สึกคลางแคลงใจของชาวบ้านที่มีต่อเจ้าหน้าที่รัฐ ในหลายๆ เหตุการณ์ที่ชาวบ้านสงสัยว่า เจ้าหน้าที่รัฐมีส่วนพัวพัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหตุการณ์กราดยิงชาวบ้านในมัสยิดบ้านไอปาแยในครั้งนี้ โดยการ
2.1 พิสูจน์สร้างความกระจ่างชัดต่อภาคสังคมโดยรวม และให้ความเป็นธรรมกับครอบครัวผู้สูญเสีย โดยมาจากกระบวนการยุติธรรม ที่มีความอิสระจากการแทรกแซงของอำนาจทหาร ตำรวจ หรือรัฐบาล
2.2 หยุดใช้ความรู้สึกนำหน้าของเจ้าหน้าที่ ในการสรุปเหตุการณ์ที่ชาวบ้านคลางแคลงใจในทุกกรณี
3. เพื่อสร้างความเชื่อมั่นของประชาชนที่ชายแดนใต้ของประเทศไทย ต่อกระบวนการยุติธรรมแห่งนิติรัฐ ภาครัฐจะต้องนำคนผิดในเหตุการณ์กรือเซะ เหตุการณ์ตากใบ เหตุการณ์ซ้อมทรมานอิหม่ามยะผา กาเซ็ง จนเสียชีวิต เหตุการณ์ซ้อมทรมานนักกิจกรรมนักศึกษาราชภัฎยะลา และเหตุการณ์อื่นๆ ที่ยังไม่ถูกเปิดเผย มาลงโทษดำเนินคดีตามกฎหมาย ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และตามเจตนารมณ์ของหลักสิทธิมนุษยชนสากลที่รัฐไทยได้เข้าร่วมลงนาม และให้สัตยาบันกติการะหว่างประเทศและอนุสัญญาประกอบเป็นพันธกรณีที่จะต้องยึดถือปฏิบัติอยู่รวม 6 ฉบับ ดังนี้
- อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ [Convention on the Elimination of All Forms of Racial Discrimination (CERD)]
- อนุสัญญาต่อต้านการทรมานและปฏิบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี [Convention against Torture and Other Cruel Inhuman or Degrading Treatment or Punishment (CAT)]
- อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบและพิธีสารเลือกรับ [Convention on the Elimination of All Forms of Discrimination against Women (CEDAW), Optional Protocol]
- อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก [Convention on the Rights of the Child (CRC)]
- กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง [UN International Covenant on Civil and Political Rights (ICCPR)]
- กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม [UN International Covenant of Economic, Social and Cultural Rights (ICESCR)]
4. ขอให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ซึ่งเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ มีภารกิจหลักในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน โดยยึดถือหลักการสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ และพันธกรณีระหว่างประเทศเป็นฐานในการปฏิบัติงาน เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 257 มีอยู่ทั้งหมด 9 ข้อด้วยกัน โดยเฉพาะข้อ 4, 5 และ 6 ซึ่งมีใจความดังนี้
ข้อ 4 ฟ้องคดีต่อศาลยุติธรรมแทนผู้เสียหาย เมื่อได้รับการร้องขอจากผู้เสียหายและเป็นกรณีที่เห็นสมควร เพื่อแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนเป็นส่วนรวม ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ
ข้อ 5 เสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมายและกฎต่อรัฐสภาและคณะรัฐมนตรี เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
ข้อ 6 ส่งเสริมการศึกษา การวิจัย การเผยแพร่ ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชน
ทั้งนี้ ในท้ายของแถงการณ์ดังกล่าว ได้ลงท้ายด้วยข้อความว่า “ด้วยจิตรักสันติภาพ เครือข่ายนักศึกษาเพื่อพิทักษ์ประชาชน”