เอเอฟพี - หน่วยงานด้านความมั่นคงของไทย ใช้แนวทางการซ้อมทรมานผู้ต้องหา เพื่อปราบปรามกลุ่มกบฎแบ่งแยกดินแดนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้งนี้ จากรายงานขององค์การนิรโทษกรรมสากล (เอไอ) ซึ่งเผยแพร่วันนี้ (13)
องค์การด้านสิทธิมนุษยธรรมดังกล่าวเผยในรายงานล่าสุดว่า พบการทารุณกรรมผู้ต้องหาจำนวน 34 ราย ไล่ตั้งแต่การทุบตี,การใช้เครื่องช็อตไฟฟ้าช็อตตามร่างกาย จนถึงการใช้เข็มทิ่มแทงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ดวงตา
เอไอระบุว่า มีผู้เสียชีวิต 4 ราย หลังโดนทุบตีอย่างรุนแรง ระหว่างถูกควบคุมตัว
"หน่วยงานด้านความมั่นคงของไทย ใช้แนวทางการซ้อมและทรมานผู้ต้องหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้" ดอนนา เกสต์ รองผู้อำนวยการภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกแห่งองค์การนิโทษกรรมสากลกล่าว
ทั้งนี้ มีผู้เสียชีวิตแล้วมากกว่า 3,500 ราย นับตั้งแต่เหตุความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ปะทุขึ้นเมื่อ 5 ปีก่อน
ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่เป็นพลเรือนหรือไม่ก็เจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งถูกกลุ่มผู้ก่อการโจมตีหลายต่อหลายครั้ง เช่น การลอบระเบิด, การดัดยิง, การฆ่าตัดคอชาวพุทธและชาวมุสลิม
เกสต์มองว่า กลุ่มกบฎเน้นใช้ยุทธวิธีโจมตีแบบโหดเหี้ยม ขณะที่เจ้าหน้าที่รัฐพึ่งพาการซ้อมทรมาน พร้อมกับเสริมว่า การกระทำดังกล่าว มีแต่จะยิ่งสร้างความแตกแยกในพื้นที่
ด้านเบนจามิน ซาวาสกี ผู้รายงานสถานการณ์ในพื้นที่ได้รายงานว่า แม้หน่วยงานด้านความมั่นคงและรัฐบาลไทยจะแถลงประณามการซ้อมทรมานผู้ต้องหา แต่อาจเป็นเพราะ วัฒนธรรม "การเอาหูไปนาเอาตาไปไร่" ในหมู่เจ้าหน้าที่
พร้อมกันนี้ องค์การนิรโทษกรรมสากลเรียกร้องให้ทางการไทยดำเนินการต่าง ๆ อย่างเร่งด่วน เช่น การปิดศูนย์กักกันในจังหวัดชายแแดนภาคใต้ ,การอนุญาตให้ผู้ต้องหาเข้าพบทนายความและครอบครัว ตลอดจนยุติวัฒนธรรมการละเว้นโทษเจ้าหน้าที่รัฐซึ่งพัวพันกับการซ้อมทรมาน
องค์การด้านสิทธิมนุษยธรรมดังกล่าวเผยในรายงานล่าสุดว่า พบการทารุณกรรมผู้ต้องหาจำนวน 34 ราย ไล่ตั้งแต่การทุบตี,การใช้เครื่องช็อตไฟฟ้าช็อตตามร่างกาย จนถึงการใช้เข็มทิ่มแทงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ดวงตา
เอไอระบุว่า มีผู้เสียชีวิต 4 ราย หลังโดนทุบตีอย่างรุนแรง ระหว่างถูกควบคุมตัว
"หน่วยงานด้านความมั่นคงของไทย ใช้แนวทางการซ้อมและทรมานผู้ต้องหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้" ดอนนา เกสต์ รองผู้อำนวยการภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกแห่งองค์การนิโทษกรรมสากลกล่าว
ทั้งนี้ มีผู้เสียชีวิตแล้วมากกว่า 3,500 ราย นับตั้งแต่เหตุความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ปะทุขึ้นเมื่อ 5 ปีก่อน
ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่เป็นพลเรือนหรือไม่ก็เจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งถูกกลุ่มผู้ก่อการโจมตีหลายต่อหลายครั้ง เช่น การลอบระเบิด, การดัดยิง, การฆ่าตัดคอชาวพุทธและชาวมุสลิม
เกสต์มองว่า กลุ่มกบฎเน้นใช้ยุทธวิธีโจมตีแบบโหดเหี้ยม ขณะที่เจ้าหน้าที่รัฐพึ่งพาการซ้อมทรมาน พร้อมกับเสริมว่า การกระทำดังกล่าว มีแต่จะยิ่งสร้างความแตกแยกในพื้นที่
ด้านเบนจามิน ซาวาสกี ผู้รายงานสถานการณ์ในพื้นที่ได้รายงานว่า แม้หน่วยงานด้านความมั่นคงและรัฐบาลไทยจะแถลงประณามการซ้อมทรมานผู้ต้องหา แต่อาจเป็นเพราะ วัฒนธรรม "การเอาหูไปนาเอาตาไปไร่" ในหมู่เจ้าหน้าที่
พร้อมกันนี้ องค์การนิรโทษกรรมสากลเรียกร้องให้ทางการไทยดำเนินการต่าง ๆ อย่างเร่งด่วน เช่น การปิดศูนย์กักกันในจังหวัดชายแแดนภาคใต้ ,การอนุญาตให้ผู้ต้องหาเข้าพบทนายความและครอบครัว ตลอดจนยุติวัฒนธรรมการละเว้นโทษเจ้าหน้าที่รัฐซึ่งพัวพันกับการซ้อมทรมาน