ASTVผู้จัดการรายวัน - นายกฯรับปากองค์กรสิทธิมนุษยชน ตรวจสอบชาวโรฮิงยาถูกทหารเรือทารุณ ครส.เรียกร้องรัฐบาลเร่งออกกม.สิทธิมนุษยชน ด้าน เทพเทือก สั่งกลาโหมเช็คข้อเท็จจริง สงสัยถูกฝ่ายตรงข้ามจ้องดิสเครดิต โฆษกกลาโหมยันไม่เคยมีการทารุณโอริงยา ตั้งข้อสังเกตุสื่อเทศเล่นงานกองทัพหนักในช่วงนี้ ส่วนโฆษกรัฐบาลรับข่าวที่เกิดขึ้นทำให้รัฐบาลทำงานฟื้นฟูความเชื่อมั่นลำบาก
ที่ทำเนียบรัฐบาล เมื่อเวลา 08.30 น. วานนี้ (19 ม.ค.) องค์กรสิทธิมนุษยชน นำโดยนายสมชาย หอมละออ ประธานคณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน (ครส.) นายโคทม อารียา ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาและสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล นางอังคณา นีละไพจิตร กรรมการคณะกรรมการรณองค์กรเพื่อสิทธิมนุษยชน และนายไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เข้าหารือกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เพื่อแก้ปัญหาคดีละเมิดสิทธิมนุษยชน และปัญหาภาคใต้ โดยใช้เวลาในการหารือประมาณ 2 ชั่วโมง
นายสมชาย กล่าวว่าได้มีการหารือเรื่องปัญหาภาคใต้ โดยนายกฯ ได้ให้ความสนใจ เกี่ยวกับรายงานขององค์การนิรโทษกรรมสากล เรื่องการซ้อม และทรมาน ซึ่งรัฐบาลยังมีแนวคิดที่จะลดการใช้กฎหมายพิเศษในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เช่น พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และ ใช้ความอดทนไม่ใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหาความขัดแย้งในสังคม เป็นต้น นอกจากนี้ ครส.ได้หยิบยกประเด็นข่าวที่ทหารเรือไทย ทำทารุณกรรมชาวโรฮิงยามาหารือกับนายกรัฐมนตรี เมื่อได้รับฟัง นายกฯก็รับปากว่าจะรับไปดำเนินการ ซึ่งขณะนี้ได้สอบถามไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว โดยการตรวจสอบ จะอยู่บนพื้นฐานของหลักมนุษยธรรม
เราตั้งความหวังไว้กับรัฐบาลภายใต้การนำของนายอภิสิทธิ์ ว่าจะสามารถ เป็นแบบอย่างให้กับประเทศในแถบอาเซียนในการพัฒนาด้านประชาธิไตย และเสริมสร้างสิทธิมนุษยชน รวมถึงการเคารพสิทธิของประเทศเพื่อบ้าน โดยเฉพาะกลุ่มแรงงานข้ามชาติ ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นประธานอาเซียน จึงต้องทำให้เป็นตัวอย่างกับประเทศอื่นๆ
นางอังคณา นีละไพจิตร กล่าวว่า ยังมีรายงานเรื่องของการซ้อมทรมาน และการอุ้มหายในพื้นที่ภาคใต้ และความไม่เป็นเอกภาพของความมั่นคงเองที่ยังขัดแย้งกันอยู่ รัฐบาลต้องสร้างความเชื่อมั่นกับประชาชนว่าทุกคนสามารถเข้าถึงกลไก ในเรื่องของการอำนวยความยุติธรรมได้โดยง่าย โปร่งใส และเรียกร้องให้ออกพ.ร.บ. กรรมการสิทธิมนุษชนแห่งชาติ ที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของกฤษฎีกา เนื่องจาก กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เป็นที่พึ่งของประชาชนได้มาก และฟ้องร้องแทนประชาชนผู้เสียหาย
ด้านนายโคทม อารียา กล่าวว่ากรณีข่าวทหารเรือไทยทารุกรรมกลุ่มโรฮิงญา ี้รัฐบาลต้องตรวจสอบให้ชัดเจน ส่วนที่ฝ่ายทหารตั้งข้อสังเกตว่า การอพยพเข้ามา มีแต่ผู้ชาย อาจเป็นการเข้ามาเพื่อดำเนินการบางอย่างในประเทศไทย และอาจส่งผลกระทบด้านความมั่นคงนั้น ตนมองว่าเรื่องนี้คงไม่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงอย่างที่หลายฝ่ายกังวล แต่ถึงจะเกี่ยวข้องกับความมั่นคง เจ้าหน้าที่ก็ต้องปฏิบัติกับกลุ่มคนเหล่านั้นโดยยึดหลักสิทธิมนุษยชน และความปลอดภัยในชีวิตของบุคคลเหล่านั้น
***จี้มาร์คกู้ภาพลักษณ์สิทธิมนุษยชน
นายเมธา มาสขาว เลขาธิการ คณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน (ครส.) กล่าวว่า ประเด็นที่ ครส. นำเสนอเพิ่มเติม สืบเนื่องจากกรณีครบรอบ 10 ปี ปฏิญญา ว่าด้วยนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน (Human Rights Defenders) ที่ออกโดย องค์การสหประชาชาติ โดยประเทศไทยเชิญ นางฮีน่า จิราณี ผู้แทนพิเศษยูเอ็น ด้านนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน เข้ามาดูสถานการณ์ด้านนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน แต่กลับได้รับการเย้ยหยันจากรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ช่วงนั้นว่า UN ไม่ใช่พ่อ และมีสถานการณ์การคุกคามโดยการลอบสังหารนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน อย่างแพร่หลาย ทำให้สถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ถูกมองภาพลบลงเรื่อยๆ
รัฐบาลปัจจุบันและในฐานะประธานอาเซียน จะต้องกู้ภาพลักษณ์กลับคืนมา เพื่อเป็นผู้นำด้านสิทธิมนุษยชนในภูมิภาคให้ได้ในอนาคต โดยจะต้องสร้างความ ต่างให้เกิดขึ้นจากรัฐบาลขั้วอำนาจเก่าให้ได้ โดยเฉพาะ 1. เร่งคลี่คลายคดีบันลือโลกอย่างการอุ้มทนายสมชาย นีละไพจิตร ซึ่งเรื่อง อยู่ใน DSI ซึ่งไม่มีความคืบหน้า และอยู่ในการดูแลของคณะทำงานด้านคนหายของ UN ด้วย รวมทั้งคดีพระสุพจน์ สุวโจ คดีเจริญ วัดอักษร อาจจะต้องมีการรื้อคดีใหม่ ทำให้เกิดการคลี่คลายและบรรเทาสถานการณ์ความขัดแย้ง 2.จะต้องจัดทำ บัญชีขาว หรือ White List ของพื้นที่เสี่ยงภัย เพื่อป้องกันการคุกคามนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนรายอื่นๆ ในอนาคต ในพื้นที่สุ่มเสี่ยง ไม่ว่าจะเป็น ประจวบคีรีขันธ์ กาฬสินธุ์ ขอนแก่น เชียงใหม่ ฯลฯ และ3. จะต้องปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม โดยเฉพาะการปฏิรูปตำรวจ จะต้องแยกอำนาจสืบสวน-สอบสวนออกจากกัน
***สุเทือกสั่ง กห.สอบทารุณโรฮิงยา
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่ากรณีการทารุณกรรม ชาวโรฮิงยา ได้ให้ รมว.กลาโหมไปตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้ว ซึ่งเท่าที่ได้ฟับรายงานทราบว่า ไม่ได้ดำเนินการตามที่เป็นข่าว ซึ่งรูปที่มีการนำมาเผยแพร่นั้น ก็มีหลายรูป จะดูรูปของเขา หรือของเราก็ต้องพิจารณา แต่สุดท้ายแล้ว ก็ต้องหาความจริงให้ได้
ส่วนตัวผมไม่เชื่อว่าเจ้าหน้าที่ของเราจะทำอะไรอย่างนั้น เพราะคนไทยเรา เป็นคนที่เอื้ออารี มีเมตตาธรรมอยู่แล้ว เท่าที่เห็นเจ้าหน้าที่เราเอื้อเฟื้อกับคนที่เข้าเมือง โดยไม่ถูกต้องตลอด ซึ่งทางรมว.กลาโหม คงจะมารายงานข้อเท็จจริงให้นายกฯทราบ
ผู้สื่อข่าวถามว่า จะส่งผลต่อภาพลักษณ์ของประเทศไทยในสายตาต่างชาติ หรือไม่ นายสุเทพ กล่าวว่า มันอยู่ที่ความจริง ถ้าเราไม่ได้ทำ ต่อให้ไปพูดอย่างไร ก็ไม่เสียหาย ส่วนจะเป็นการดิสเครดิตไทยหรือไม่นั้น นายสุเทพ กล่าวว่า ก็สงสัยอยู่เหมือนกันว่าทำไมเป็นข่าวอย่างนี้ออกมาได้ ทั้งที่เราไม่ได้ทำอะไรอย่างนั้น แต่ก็ไม่ทราบว่าเป็นการกระทำของฝ่ายตรงข้ามหรือไม่ ต้องให้กระทรวงกลาโหมตรวจสอบก่อน และต้องเอาความจริงเรื่องนี้ออกมาให้ได้
ผู้สื่อข่าวถามว่าจำเป็นต้องมีการชี้แจงกับนานาประเทศในเรื่องนี้หรือไม่ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า สั่งอยู่แล้ว ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้กระทรวงการต่างประเทศชี้แจงอยู่แล้ว
***กห.ปฏิเสธทารุณชาวโรฮิงยา
พ.อ.จิตตสักก์ เจริญสมบัติ โฆษกกระทรวงกลาโหม กล่าวถึงกรณีที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ สั่งการให้ รมว.กลาโหมตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับข่าวทหารเรือทารุณกรรมชาวโรฮิงยา ที่หลบหนีเข้าเมืองและผลักดันให้ไปเสียชีวิตกลางทะเลว่า ว่า เบื้องต้นหลังการจับกุมของกองทัพเรือได้ส่งต่อให้ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) ภาค 4 ส่วนแยก เป็นผู้ดำเนินการควบคุมตัว ซึ่งการจับกุมดำเนินการไปตามปกติ ไม่ได้ทารุณกรรมกับกลุ่มโรฮิงยาตามที่เป็นข่าว และ พล.ร.อ. กำธร พุ่มหิรัญ ผบ.ทร. ก็ชี้แจงข้อเท็จจริงแล้วว่าไม่มีการให้ไปลอยคอในทะเลแน่นอน
โฆษกกระทรวงกลาโหม กล่าวว่า ภายหลังการควบคุมของ กอ.รมน.ภาค 4 แล้วก็ได้มีการดำเนินการส่งกลับประเทศ ซึ่งตามหลักปฏิบัติจะมีการส่งกลับทางบกและทางเรือ แต่ส่วนใหญ่จะส่งทางเรือ เพราะเมื่อส่งกลับทางบกแล้วกลุ่มหลบหนีเข้าเมืองมักเดินทางกลับเข้ามาใหม่ ซึ่งกรณีนี้น่าจะส่งกลับทางเรือ แต่วัน เวลา ใดอยู่ระหว่างการ ตรวจสอบ และ พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหม สั่งให้ตรวจสอบอยู่ เพราะทหารเป็นเครื่องมือส่วนหนึ่งของ กอ.รมน.ก็ตรวจสอบควบคู่กันไป คงใช้เวลาไม่นานก่อนรายงานให้นายกรัฐมนตรีทราบ
***สงสัยทำไมสื่อเทศโจมตีกองทัพบ่อย
เป็นที่น่าสังเกตว่าทำไมช่วงนี้ กองทัพถึงถูกโจมตีจากสื่อต่างชาติ และไม่ทราบมาจากสาเหตุอะไร แต่ก็ไม่อยากคิดว่าที่กองทัพถูกโจมตีหนักช่วงนี้เกี่ยวเนื่องกับเรื่องการเมือง
พ.อ.จิตตสักก์ กล่าวว่า กลไกที่เป็นเครื่องมือทำให้เรื่องนี้เป็นประเด็น ส่วนใหญ่เป็นสื่อต่างประเทศ สำนักข่าวบีบีซีจุดประกายมา แต่กองทัพไม่จำเป็นจะต้องขอความร่วมมือไปยังสำนักข่าวบีบีซี เพื่อขอข้อมูลรายละเอียดกับเรื่องดังกล่าว เพราะเรื่องที่เกิดขึ้นไม่เป็นความจริง กองทัพบริสุทธิ์ใจดูแลผู้ลักลอบหลบเข้าประเทศ เพราะผู้หลบหนีเข้าเมืองเป็นมนุษย์เหมือนกับคนไทย ไปทำรุนแรงคงไม่ได้ มั่นใจจะบานปลาย
พ.อ.จิตตสักก์ กล่าวว่า กองทัพตั้งข้อสังเกตการหลบหนีเข้าเมืองกลุ่มโรฮิงยาไว้ 2 ประเด็น คือ 1.ลักลอบเข้าเมืองถึง 200 กว่าคน และเป็นชายฉกรรจ์ทั้งนั้น เรื่องความมั่นคงกองทัพจำเป็นต้องตรวจสอบละเอียด และประเด็นที่ 2. กลุ่มโรฮิงยา อาจจะถูกกดดันอาจจะอยากไปประเทศที่ 3 เพื่อรองรับก็ได้ จึงอาศัยช่องทางที่เสี่ยงตาย เดินทางไปประเทศที่ 3
***ปณิธานยันยึดหลักสิทธิมษุยชน
นายปณิธาน วัฒนายากร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ยืนยันว่ารัฐบาลมีหลักปฏิบัติชัดเจนบนพื้นฐานกฎหมายและหลักสิทธิมนุษยชน ซึ่งการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวจะต้องทำอย่างเป็นระบบ รัฐบาลยึดหลักความสมดุล สิทธิมนุษยชน มนุษยธรรม และผลประโยชน์ของประเทศ ซึ่งนายกรัฐมนตรีให้ความสำคัญ และสั่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบข้อมูล เกี่ยวกับการทารุณกรรมชาวโรฮิงโย ทั้งในส่วนของกองทัพและ กอ.รมน.หากตรวจสอบ พบการดำเนินการใดๆ ที่ขัดต่อหลักปฏิบัติ ก็ต้องถูกดำเนินการตามกฎหมาย อย่างเคร่งครัด
การที่รัฐบาลออกมาชี้แจงในขณะนี้ ทั้งที่เรื่องผ่านมาตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม ไม่ถือว่าล่าช้า เพราะทันทีที่มีรายงานข่าวจากสำนักข่าวต่างประเทศออกมา กระทรวงการต่างประเทศได้ออกแถลงการณ์ชี้แจงภายใน 24 ชั่วโมง ส่วนที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ระบุเป็นการดิสเครดิตรัฐบาลนั้น ต้องดูที่ข้อเท็จจริงเป็นหลัก หากเป็นการเผยแพร่ข้อเท็จจริงก็พร้อมรับฟัง แต่หากเป็นความพยายามดิสเครดิตรัฐบาลจริง ถือว่าไม่สมควร เพราะอยู่ระหว่างการที่รัฐบาลพยายามเรียกความเชื่อมั่น ประเทศเริ่มตั้งหลักได้ และจะมีการประชุมระหว่างประเทศที่ไทยเป็นเจ้าภาพ ซึ่งรัฐบาลจะต้องพยายามชี้แจงข้อเท็จจริงให้เร็วที่สุด
นายปฌิธาน ยอมรับว่า ข่าวที่เกิดขึ้นทำให้รัฐบาลทำงานได้ยากขึ้น ถ้ามีข่าวลบแบบนี้มากขึ้น ความเชื่อมั่นที่จะเรียกกลับมาก็คงต้องทำงานหนักมาก มองไปแล้วก็ถือเป็นเรื่องปกติในขณะที่ประเทศไทยกำลังตั้งหลักได้ กำลังจะเป็นนำในการประชุมต่างๆ เมื่อมีเรื่องเหล่านี้เข้ามาก็ต้องชี้แจง และต้องทำให้ได้ดี
***กมธ.วุฒิฯเตรียมสอบกรณีโรฮิงยา
นายสมชาย แสวงการ ส.ว.สรรหา ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการสิทธิ มนุษยชน สิทธิเสรีภาพและการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา กล่าวว่า ในวันที่ 22 ม.ค.นี้ ที่ประชุมกรรมาธิการฯ จะนำกรณีข่าวทหารเรือทารุกรรมชาวโรฮิงยา มาพิจารณา เพื่อสอบสวนข้อเท็จจริงว่ามีการทารุณกรรม ตามที่สื่อต่างประเทศนำเสนอหรือไม่ เพราะตอนนี้ มีการนำเสนอข่าวที่สับสน เนื่องจากสื่อไทย นำเสนอไปอีกทาง ขณะที่สื่อต่างประเทศ ก็นำเสนอในลักษณะที่ทางการไทย ทำทารุณกรรม ด้วยการมัดมือ มัดเท้า ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการฯ คาดว่าจะใช้เวลาพิจารณาไม่เกิน 30 วัน โดยเบื้องต้นจะมีการเชิญ ตัวแทนของกองทัพเรือมาชี้แจง แล้วแจ้งให้รัฐบาล ดำเนินการต่อไป
นายสมชาย กล่าวเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งดำเนินการ เกี่ยวกับปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน ในช่วง 5-6 ปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็น คดีการฆ่าตัดตอน ผู้ค้ายาเสพติดในสมัยรัฐบาล พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร รวมถึงการหายตัวไปของ ทนายสมชาย นีละไพจิตร และคดีการสังหารที่มัสยิดกรือเซะ และ การสลายการชุมนุมที่ อ.ตากใบ จ.นราธิวาส
นอกจากนี้ รัฐบาลควรเร่งดำเนินการตรา พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน เพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนอย่างแท้จริง.
ที่ทำเนียบรัฐบาล เมื่อเวลา 08.30 น. วานนี้ (19 ม.ค.) องค์กรสิทธิมนุษยชน นำโดยนายสมชาย หอมละออ ประธานคณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน (ครส.) นายโคทม อารียา ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาและสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล นางอังคณา นีละไพจิตร กรรมการคณะกรรมการรณองค์กรเพื่อสิทธิมนุษยชน และนายไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เข้าหารือกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เพื่อแก้ปัญหาคดีละเมิดสิทธิมนุษยชน และปัญหาภาคใต้ โดยใช้เวลาในการหารือประมาณ 2 ชั่วโมง
นายสมชาย กล่าวว่าได้มีการหารือเรื่องปัญหาภาคใต้ โดยนายกฯ ได้ให้ความสนใจ เกี่ยวกับรายงานขององค์การนิรโทษกรรมสากล เรื่องการซ้อม และทรมาน ซึ่งรัฐบาลยังมีแนวคิดที่จะลดการใช้กฎหมายพิเศษในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เช่น พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และ ใช้ความอดทนไม่ใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหาความขัดแย้งในสังคม เป็นต้น นอกจากนี้ ครส.ได้หยิบยกประเด็นข่าวที่ทหารเรือไทย ทำทารุณกรรมชาวโรฮิงยามาหารือกับนายกรัฐมนตรี เมื่อได้รับฟัง นายกฯก็รับปากว่าจะรับไปดำเนินการ ซึ่งขณะนี้ได้สอบถามไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว โดยการตรวจสอบ จะอยู่บนพื้นฐานของหลักมนุษยธรรม
เราตั้งความหวังไว้กับรัฐบาลภายใต้การนำของนายอภิสิทธิ์ ว่าจะสามารถ เป็นแบบอย่างให้กับประเทศในแถบอาเซียนในการพัฒนาด้านประชาธิไตย และเสริมสร้างสิทธิมนุษยชน รวมถึงการเคารพสิทธิของประเทศเพื่อบ้าน โดยเฉพาะกลุ่มแรงงานข้ามชาติ ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นประธานอาเซียน จึงต้องทำให้เป็นตัวอย่างกับประเทศอื่นๆ
นางอังคณา นีละไพจิตร กล่าวว่า ยังมีรายงานเรื่องของการซ้อมทรมาน และการอุ้มหายในพื้นที่ภาคใต้ และความไม่เป็นเอกภาพของความมั่นคงเองที่ยังขัดแย้งกันอยู่ รัฐบาลต้องสร้างความเชื่อมั่นกับประชาชนว่าทุกคนสามารถเข้าถึงกลไก ในเรื่องของการอำนวยความยุติธรรมได้โดยง่าย โปร่งใส และเรียกร้องให้ออกพ.ร.บ. กรรมการสิทธิมนุษชนแห่งชาติ ที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของกฤษฎีกา เนื่องจาก กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เป็นที่พึ่งของประชาชนได้มาก และฟ้องร้องแทนประชาชนผู้เสียหาย
ด้านนายโคทม อารียา กล่าวว่ากรณีข่าวทหารเรือไทยทารุกรรมกลุ่มโรฮิงญา ี้รัฐบาลต้องตรวจสอบให้ชัดเจน ส่วนที่ฝ่ายทหารตั้งข้อสังเกตว่า การอพยพเข้ามา มีแต่ผู้ชาย อาจเป็นการเข้ามาเพื่อดำเนินการบางอย่างในประเทศไทย และอาจส่งผลกระทบด้านความมั่นคงนั้น ตนมองว่าเรื่องนี้คงไม่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงอย่างที่หลายฝ่ายกังวล แต่ถึงจะเกี่ยวข้องกับความมั่นคง เจ้าหน้าที่ก็ต้องปฏิบัติกับกลุ่มคนเหล่านั้นโดยยึดหลักสิทธิมนุษยชน และความปลอดภัยในชีวิตของบุคคลเหล่านั้น
***จี้มาร์คกู้ภาพลักษณ์สิทธิมนุษยชน
นายเมธา มาสขาว เลขาธิการ คณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน (ครส.) กล่าวว่า ประเด็นที่ ครส. นำเสนอเพิ่มเติม สืบเนื่องจากกรณีครบรอบ 10 ปี ปฏิญญา ว่าด้วยนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน (Human Rights Defenders) ที่ออกโดย องค์การสหประชาชาติ โดยประเทศไทยเชิญ นางฮีน่า จิราณี ผู้แทนพิเศษยูเอ็น ด้านนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน เข้ามาดูสถานการณ์ด้านนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน แต่กลับได้รับการเย้ยหยันจากรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ช่วงนั้นว่า UN ไม่ใช่พ่อ และมีสถานการณ์การคุกคามโดยการลอบสังหารนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน อย่างแพร่หลาย ทำให้สถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ถูกมองภาพลบลงเรื่อยๆ
รัฐบาลปัจจุบันและในฐานะประธานอาเซียน จะต้องกู้ภาพลักษณ์กลับคืนมา เพื่อเป็นผู้นำด้านสิทธิมนุษยชนในภูมิภาคให้ได้ในอนาคต โดยจะต้องสร้างความ ต่างให้เกิดขึ้นจากรัฐบาลขั้วอำนาจเก่าให้ได้ โดยเฉพาะ 1. เร่งคลี่คลายคดีบันลือโลกอย่างการอุ้มทนายสมชาย นีละไพจิตร ซึ่งเรื่อง อยู่ใน DSI ซึ่งไม่มีความคืบหน้า และอยู่ในการดูแลของคณะทำงานด้านคนหายของ UN ด้วย รวมทั้งคดีพระสุพจน์ สุวโจ คดีเจริญ วัดอักษร อาจจะต้องมีการรื้อคดีใหม่ ทำให้เกิดการคลี่คลายและบรรเทาสถานการณ์ความขัดแย้ง 2.จะต้องจัดทำ บัญชีขาว หรือ White List ของพื้นที่เสี่ยงภัย เพื่อป้องกันการคุกคามนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนรายอื่นๆ ในอนาคต ในพื้นที่สุ่มเสี่ยง ไม่ว่าจะเป็น ประจวบคีรีขันธ์ กาฬสินธุ์ ขอนแก่น เชียงใหม่ ฯลฯ และ3. จะต้องปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม โดยเฉพาะการปฏิรูปตำรวจ จะต้องแยกอำนาจสืบสวน-สอบสวนออกจากกัน
***สุเทือกสั่ง กห.สอบทารุณโรฮิงยา
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่ากรณีการทารุณกรรม ชาวโรฮิงยา ได้ให้ รมว.กลาโหมไปตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้ว ซึ่งเท่าที่ได้ฟับรายงานทราบว่า ไม่ได้ดำเนินการตามที่เป็นข่าว ซึ่งรูปที่มีการนำมาเผยแพร่นั้น ก็มีหลายรูป จะดูรูปของเขา หรือของเราก็ต้องพิจารณา แต่สุดท้ายแล้ว ก็ต้องหาความจริงให้ได้
ส่วนตัวผมไม่เชื่อว่าเจ้าหน้าที่ของเราจะทำอะไรอย่างนั้น เพราะคนไทยเรา เป็นคนที่เอื้ออารี มีเมตตาธรรมอยู่แล้ว เท่าที่เห็นเจ้าหน้าที่เราเอื้อเฟื้อกับคนที่เข้าเมือง โดยไม่ถูกต้องตลอด ซึ่งทางรมว.กลาโหม คงจะมารายงานข้อเท็จจริงให้นายกฯทราบ
ผู้สื่อข่าวถามว่า จะส่งผลต่อภาพลักษณ์ของประเทศไทยในสายตาต่างชาติ หรือไม่ นายสุเทพ กล่าวว่า มันอยู่ที่ความจริง ถ้าเราไม่ได้ทำ ต่อให้ไปพูดอย่างไร ก็ไม่เสียหาย ส่วนจะเป็นการดิสเครดิตไทยหรือไม่นั้น นายสุเทพ กล่าวว่า ก็สงสัยอยู่เหมือนกันว่าทำไมเป็นข่าวอย่างนี้ออกมาได้ ทั้งที่เราไม่ได้ทำอะไรอย่างนั้น แต่ก็ไม่ทราบว่าเป็นการกระทำของฝ่ายตรงข้ามหรือไม่ ต้องให้กระทรวงกลาโหมตรวจสอบก่อน และต้องเอาความจริงเรื่องนี้ออกมาให้ได้
ผู้สื่อข่าวถามว่าจำเป็นต้องมีการชี้แจงกับนานาประเทศในเรื่องนี้หรือไม่ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า สั่งอยู่แล้ว ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้กระทรวงการต่างประเทศชี้แจงอยู่แล้ว
***กห.ปฏิเสธทารุณชาวโรฮิงยา
พ.อ.จิตตสักก์ เจริญสมบัติ โฆษกกระทรวงกลาโหม กล่าวถึงกรณีที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ สั่งการให้ รมว.กลาโหมตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับข่าวทหารเรือทารุณกรรมชาวโรฮิงยา ที่หลบหนีเข้าเมืองและผลักดันให้ไปเสียชีวิตกลางทะเลว่า ว่า เบื้องต้นหลังการจับกุมของกองทัพเรือได้ส่งต่อให้ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) ภาค 4 ส่วนแยก เป็นผู้ดำเนินการควบคุมตัว ซึ่งการจับกุมดำเนินการไปตามปกติ ไม่ได้ทารุณกรรมกับกลุ่มโรฮิงยาตามที่เป็นข่าว และ พล.ร.อ. กำธร พุ่มหิรัญ ผบ.ทร. ก็ชี้แจงข้อเท็จจริงแล้วว่าไม่มีการให้ไปลอยคอในทะเลแน่นอน
โฆษกกระทรวงกลาโหม กล่าวว่า ภายหลังการควบคุมของ กอ.รมน.ภาค 4 แล้วก็ได้มีการดำเนินการส่งกลับประเทศ ซึ่งตามหลักปฏิบัติจะมีการส่งกลับทางบกและทางเรือ แต่ส่วนใหญ่จะส่งทางเรือ เพราะเมื่อส่งกลับทางบกแล้วกลุ่มหลบหนีเข้าเมืองมักเดินทางกลับเข้ามาใหม่ ซึ่งกรณีนี้น่าจะส่งกลับทางเรือ แต่วัน เวลา ใดอยู่ระหว่างการ ตรวจสอบ และ พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหม สั่งให้ตรวจสอบอยู่ เพราะทหารเป็นเครื่องมือส่วนหนึ่งของ กอ.รมน.ก็ตรวจสอบควบคู่กันไป คงใช้เวลาไม่นานก่อนรายงานให้นายกรัฐมนตรีทราบ
***สงสัยทำไมสื่อเทศโจมตีกองทัพบ่อย
เป็นที่น่าสังเกตว่าทำไมช่วงนี้ กองทัพถึงถูกโจมตีจากสื่อต่างชาติ และไม่ทราบมาจากสาเหตุอะไร แต่ก็ไม่อยากคิดว่าที่กองทัพถูกโจมตีหนักช่วงนี้เกี่ยวเนื่องกับเรื่องการเมือง
พ.อ.จิตตสักก์ กล่าวว่า กลไกที่เป็นเครื่องมือทำให้เรื่องนี้เป็นประเด็น ส่วนใหญ่เป็นสื่อต่างประเทศ สำนักข่าวบีบีซีจุดประกายมา แต่กองทัพไม่จำเป็นจะต้องขอความร่วมมือไปยังสำนักข่าวบีบีซี เพื่อขอข้อมูลรายละเอียดกับเรื่องดังกล่าว เพราะเรื่องที่เกิดขึ้นไม่เป็นความจริง กองทัพบริสุทธิ์ใจดูแลผู้ลักลอบหลบเข้าประเทศ เพราะผู้หลบหนีเข้าเมืองเป็นมนุษย์เหมือนกับคนไทย ไปทำรุนแรงคงไม่ได้ มั่นใจจะบานปลาย
พ.อ.จิตตสักก์ กล่าวว่า กองทัพตั้งข้อสังเกตการหลบหนีเข้าเมืองกลุ่มโรฮิงยาไว้ 2 ประเด็น คือ 1.ลักลอบเข้าเมืองถึง 200 กว่าคน และเป็นชายฉกรรจ์ทั้งนั้น เรื่องความมั่นคงกองทัพจำเป็นต้องตรวจสอบละเอียด และประเด็นที่ 2. กลุ่มโรฮิงยา อาจจะถูกกดดันอาจจะอยากไปประเทศที่ 3 เพื่อรองรับก็ได้ จึงอาศัยช่องทางที่เสี่ยงตาย เดินทางไปประเทศที่ 3
***ปณิธานยันยึดหลักสิทธิมษุยชน
นายปณิธาน วัฒนายากร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ยืนยันว่ารัฐบาลมีหลักปฏิบัติชัดเจนบนพื้นฐานกฎหมายและหลักสิทธิมนุษยชน ซึ่งการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวจะต้องทำอย่างเป็นระบบ รัฐบาลยึดหลักความสมดุล สิทธิมนุษยชน มนุษยธรรม และผลประโยชน์ของประเทศ ซึ่งนายกรัฐมนตรีให้ความสำคัญ และสั่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบข้อมูล เกี่ยวกับการทารุณกรรมชาวโรฮิงโย ทั้งในส่วนของกองทัพและ กอ.รมน.หากตรวจสอบ พบการดำเนินการใดๆ ที่ขัดต่อหลักปฏิบัติ ก็ต้องถูกดำเนินการตามกฎหมาย อย่างเคร่งครัด
การที่รัฐบาลออกมาชี้แจงในขณะนี้ ทั้งที่เรื่องผ่านมาตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม ไม่ถือว่าล่าช้า เพราะทันทีที่มีรายงานข่าวจากสำนักข่าวต่างประเทศออกมา กระทรวงการต่างประเทศได้ออกแถลงการณ์ชี้แจงภายใน 24 ชั่วโมง ส่วนที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ระบุเป็นการดิสเครดิตรัฐบาลนั้น ต้องดูที่ข้อเท็จจริงเป็นหลัก หากเป็นการเผยแพร่ข้อเท็จจริงก็พร้อมรับฟัง แต่หากเป็นความพยายามดิสเครดิตรัฐบาลจริง ถือว่าไม่สมควร เพราะอยู่ระหว่างการที่รัฐบาลพยายามเรียกความเชื่อมั่น ประเทศเริ่มตั้งหลักได้ และจะมีการประชุมระหว่างประเทศที่ไทยเป็นเจ้าภาพ ซึ่งรัฐบาลจะต้องพยายามชี้แจงข้อเท็จจริงให้เร็วที่สุด
นายปฌิธาน ยอมรับว่า ข่าวที่เกิดขึ้นทำให้รัฐบาลทำงานได้ยากขึ้น ถ้ามีข่าวลบแบบนี้มากขึ้น ความเชื่อมั่นที่จะเรียกกลับมาก็คงต้องทำงานหนักมาก มองไปแล้วก็ถือเป็นเรื่องปกติในขณะที่ประเทศไทยกำลังตั้งหลักได้ กำลังจะเป็นนำในการประชุมต่างๆ เมื่อมีเรื่องเหล่านี้เข้ามาก็ต้องชี้แจง และต้องทำให้ได้ดี
***กมธ.วุฒิฯเตรียมสอบกรณีโรฮิงยา
นายสมชาย แสวงการ ส.ว.สรรหา ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการสิทธิ มนุษยชน สิทธิเสรีภาพและการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา กล่าวว่า ในวันที่ 22 ม.ค.นี้ ที่ประชุมกรรมาธิการฯ จะนำกรณีข่าวทหารเรือทารุกรรมชาวโรฮิงยา มาพิจารณา เพื่อสอบสวนข้อเท็จจริงว่ามีการทารุณกรรม ตามที่สื่อต่างประเทศนำเสนอหรือไม่ เพราะตอนนี้ มีการนำเสนอข่าวที่สับสน เนื่องจากสื่อไทย นำเสนอไปอีกทาง ขณะที่สื่อต่างประเทศ ก็นำเสนอในลักษณะที่ทางการไทย ทำทารุณกรรม ด้วยการมัดมือ มัดเท้า ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการฯ คาดว่าจะใช้เวลาพิจารณาไม่เกิน 30 วัน โดยเบื้องต้นจะมีการเชิญ ตัวแทนของกองทัพเรือมาชี้แจง แล้วแจ้งให้รัฐบาล ดำเนินการต่อไป
นายสมชาย กล่าวเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งดำเนินการ เกี่ยวกับปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน ในช่วง 5-6 ปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็น คดีการฆ่าตัดตอน ผู้ค้ายาเสพติดในสมัยรัฐบาล พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร รวมถึงการหายตัวไปของ ทนายสมชาย นีละไพจิตร และคดีการสังหารที่มัสยิดกรือเซะ และ การสลายการชุมนุมที่ อ.ตากใบ จ.นราธิวาส
นอกจากนี้ รัฐบาลควรเร่งดำเนินการตรา พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน เพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนอย่างแท้จริง.