ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ – สร.รฟท.ออกแถลงการณ์คัดค้านแผนฟื้นฟูองค์กรของการรถไฟแห่งประเทศไทย ล้มฝัน “โสภณ ซารัมย์” ชี้ขัดต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ 2550 และการตั้งบริษัทลูก ทำให้นิติสัมพันธ์ระหว่างการรถไฟฯ และบริษัทที่เกิดขึ้นใหม่ขาดจากกัน จวกเรื่องสางทุจริตกลับไม่แก้ไข
ภายหลังจากการประชุมคณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบแผนฟื้นฟูองค์กรของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) โดย นายโสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นผู้เสนอของบประมาณการตั้งบริษัทลูกเพื่อขอเงินมาลงทุนหมุนเวียนวงเงิน 560 ล้านบาทนั้น
วันนี้ (4 มิ.ย.) สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย (สร.รฟท.) ออกแถลงการณ์ฉบับที่ 2 ร่วมปกป้องรักษาผลประโยชน์ของการรถไฟฯ ภายหลังจากที่ได้ออกแถลงการณ์ฉบับที่ 1 เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2552 เรื่องขอให้ระงับแผนฟื้นฟูการรถไฟฯ เข้าพิจารณาในการประชุม ครม.
แถลงการณ์ได้ตอกย้ำว่า แผนดังกล่าวไม่มีความชัดเจนในการส่งเสริมการขนส่งทางรางตามนโยบายแห่งรัฐ ในบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ 2550 และไม่เป็นไปตามข้อตกลงสภาพการจ้างระหว่างการรถไฟฯ กับสหภาพ เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2550 ข้อ 18 ความว่า “ในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์กรของการรถไฟฯ ต้องทำความตกลงกับสหภาพแรงงานรถไฟฯ ก่อนทุกกรณี” ประกอบกับการดำเนินงานดังกล่าวมีลักษณะเร่งรีบไม่โปร่งใส โดยเฉพาะการตั้งบริษัทลูก ซึ่งจะทำให้นิติสัมพันธ์ระหว่างการรถไฟฯ และบริษัทที่เกิดขึ้นใหม่ขาดจากกัน มีผลกระทบต่อประเทศชาติ ประชาชน และพนักงานในที่สุด
มติดังกล่าว สวนทางกับที่ สร.รฟท.ได้เคยนำเสนอแนวทางต่อรัฐบาลทุกสมัยมาตลอดในการแก้ไขปัญหาการรถไฟฯ ไว้โดยสิ้นเชิง ทั้งการให้สร้างรางคู่ทั่วประเทศ ให้จัดหารถจักร รถโดยสาร รถสินค้าให้เพียงพอ เพิ่มการจัดเก็บรายได้จากที่ดินทั่วประเทศ ตรวจสอบกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างให้โปร่งใสและรวดเร็ว ยกเลิกมติ ครม.เมื่อ 28 กรกฎาคม 2541 เรื่องจำกัดอัตรากำลังของการรถไฟฯ และให้รัฐบาลจ่ายเงินชดเชยการบริการทางสังคม (PSO) ที่รัฐบาลค้างการรถไฟฯ อยู่ 26,000 ล้านบาท เป็นต้น
ทว่า รัฐบาลกลับต้องการที่จะเปลี่ยนกิจการซึ่งเป็นของรัฐ ของประชาชนให้เป็นบริษัทเอกชนมาตลอด ล่าสุดในการประชุม ครม.เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2552 ครม.ได้มีมติเห็นชอบแผนฟื้นฟูฯ (เป็นบริษัท) ตามที่กระทรวงคมนาคมและการรถไฟฯ นำเสนอ
สถานการณ์เช่นนี้จึงไม่เป็นที่น่าว่างใจว่าแผนฟื้นฟูฯ ดังกล่าว ผลประโยชน์จะตกเป็นของนายทุนกลุ่มใด มีหลายกรณีที่ไม่สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น กรณีการต่อสัญญาเช่าที่ดินบริเวณสามเหลี่ยมพหลโยธินกับเซ็นทรัล กรณีการขยายสัญญาโครงการแอร์พอร์ตลิงก์ กรณีไม่ดำเนินการทวงคืนที่ดินเขากระโดง จ.บุรีรัมย์
ดังนั้น เพื่อเป็นการรักษาผลประโยชน์ของการรถไฟฯ ขอให้สมาชิกและคนรถไฟทั่วประเทศรอฟังสัญญาณจาก สร.รฟท.ต่อไป
ภายหลังจากการประชุมคณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบแผนฟื้นฟูองค์กรของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) โดย นายโสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นผู้เสนอของบประมาณการตั้งบริษัทลูกเพื่อขอเงินมาลงทุนหมุนเวียนวงเงิน 560 ล้านบาทนั้น
วันนี้ (4 มิ.ย.) สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย (สร.รฟท.) ออกแถลงการณ์ฉบับที่ 2 ร่วมปกป้องรักษาผลประโยชน์ของการรถไฟฯ ภายหลังจากที่ได้ออกแถลงการณ์ฉบับที่ 1 เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2552 เรื่องขอให้ระงับแผนฟื้นฟูการรถไฟฯ เข้าพิจารณาในการประชุม ครม.
แถลงการณ์ได้ตอกย้ำว่า แผนดังกล่าวไม่มีความชัดเจนในการส่งเสริมการขนส่งทางรางตามนโยบายแห่งรัฐ ในบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ 2550 และไม่เป็นไปตามข้อตกลงสภาพการจ้างระหว่างการรถไฟฯ กับสหภาพ เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2550 ข้อ 18 ความว่า “ในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์กรของการรถไฟฯ ต้องทำความตกลงกับสหภาพแรงงานรถไฟฯ ก่อนทุกกรณี” ประกอบกับการดำเนินงานดังกล่าวมีลักษณะเร่งรีบไม่โปร่งใส โดยเฉพาะการตั้งบริษัทลูก ซึ่งจะทำให้นิติสัมพันธ์ระหว่างการรถไฟฯ และบริษัทที่เกิดขึ้นใหม่ขาดจากกัน มีผลกระทบต่อประเทศชาติ ประชาชน และพนักงานในที่สุด
มติดังกล่าว สวนทางกับที่ สร.รฟท.ได้เคยนำเสนอแนวทางต่อรัฐบาลทุกสมัยมาตลอดในการแก้ไขปัญหาการรถไฟฯ ไว้โดยสิ้นเชิง ทั้งการให้สร้างรางคู่ทั่วประเทศ ให้จัดหารถจักร รถโดยสาร รถสินค้าให้เพียงพอ เพิ่มการจัดเก็บรายได้จากที่ดินทั่วประเทศ ตรวจสอบกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างให้โปร่งใสและรวดเร็ว ยกเลิกมติ ครม.เมื่อ 28 กรกฎาคม 2541 เรื่องจำกัดอัตรากำลังของการรถไฟฯ และให้รัฐบาลจ่ายเงินชดเชยการบริการทางสังคม (PSO) ที่รัฐบาลค้างการรถไฟฯ อยู่ 26,000 ล้านบาท เป็นต้น
ทว่า รัฐบาลกลับต้องการที่จะเปลี่ยนกิจการซึ่งเป็นของรัฐ ของประชาชนให้เป็นบริษัทเอกชนมาตลอด ล่าสุดในการประชุม ครม.เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2552 ครม.ได้มีมติเห็นชอบแผนฟื้นฟูฯ (เป็นบริษัท) ตามที่กระทรวงคมนาคมและการรถไฟฯ นำเสนอ
สถานการณ์เช่นนี้จึงไม่เป็นที่น่าว่างใจว่าแผนฟื้นฟูฯ ดังกล่าว ผลประโยชน์จะตกเป็นของนายทุนกลุ่มใด มีหลายกรณีที่ไม่สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น กรณีการต่อสัญญาเช่าที่ดินบริเวณสามเหลี่ยมพหลโยธินกับเซ็นทรัล กรณีการขยายสัญญาโครงการแอร์พอร์ตลิงก์ กรณีไม่ดำเนินการทวงคืนที่ดินเขากระโดง จ.บุรีรัมย์
ดังนั้น เพื่อเป็นการรักษาผลประโยชน์ของการรถไฟฯ ขอให้สมาชิกและคนรถไฟทั่วประเทศรอฟังสัญญาณจาก สร.รฟท.ต่อไป