xs
xsm
sm
md
lg

รมช.สาธารณสุขนำทัพลงพื้นที่สตูลต้านการระบาด “ชิคุนกุนยา”

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

นายมานิต นพอมรบดี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
สตูล - รมช.สาธารณสุข ลงพื้นที่สีแดงใน จ.สตูล ออกพ่นควันไล่ยุงพาหะนำเชื้อชิคุนกุนยา ตีกรอบสร้างกำแพงเน้น 4 จังหวัด พัทลุง ตรัง สตูลและนครศรีธรรมราช ร่วมป้องกันการแพร่เชื้อ


วันนี้ (1 มิ.ย.) นายมานิต นพอมรบดี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมนายแพทย์ ม.ล.สมชาย จักรพันธุ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค และคณะลงพื้นที่จังหวัดสตูล ซึ่งเป็นพื้นที่สีแดงของการระบาดของโรคชิคุนกุนยา ซึ่งเป็นโรคที่ระเกิดการระบาดหนักในพื้นที่ ถึงแม้ยังไม่มีผู้เสียชีวิตจากโรคดังกล่าว แต่ได้รับผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ

พร้อมกันนี้ คณะของ รมช.สาธารณสุข ได้สาธิตการพ่นควันไล่ยุงพาหะนำเชื้อ ทั้งปล่อยรถคาราวานเจ้าหน้าที่พ่นหมอกควันกำจัดยุงลาย แจกโลชั่นทากัยยุงให้กับ อสม.ชาวสวน ชาวบ้าน นักเรียน โดยภายในงานกิจกรรมรณรงค์ควบคุมโรคชิคุนกุนยาที่โรงเรียนบ้านไทรงาม ต.ควนขัน อ.เมือง จ.สตูล มีการจัดนิทรรศการให้ความรู้เกี่ยวกับภัยของโรคชิคุนกุนยา วิธีการดูแลป้องกัน ควบคุมตัวเองจากโรคชิคุนกุนยา และมีบริการชุบน้ำยาเสื้อ-กางเกงป้องกันยุง ซึ่งมีรัศมี 2-3 เมตร ระยะเวลานานถึง 3 เดือนแก่ชาวสวนจำนวน 3 พันตัวภายในงาน

รัฐมนตรีช่วยกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า โดยวันนี้เป็นวันที่ 1 เดือนมิถุนายน 2552 เป็นวันที่ดีสำหรับการปล่อยคาราวานเพื่อกำจัดยุงลาย หรือ โรคชิคุนกุนยา ซึ่งทีมวิชาการได้แบ่งพื้นที่ 4 จังหวัด คือ ยะลา ปัตตานี สงขลา และนราธิวาส ซึ่งมีผู้ป่วยเป็นโรคชิคุนกุนยากันเยอะมาก และเป็นผู้ป่วยที่รักษาและรับประทานยากันเอง เราจะตรวจสอบเข้าผู้ป่วยในครั้งนี้และนำมารักษาที่ถูกวิธี

ส่วนอีก 4 จังหวัด คือ สตูล พัทลุง ตรัง และนครศรีธรรมราช มีผู้ป่วยที่เป็นโรคชิคุนกันยาเริ่มมากขึ้น ดังนั้น ทางกระทรวงสาธารณสุข จึงรีบป้องกันและแก้ปัญหาด่วนทันที ซึ่งจากเมื่อก่อน 3 จังหวัดชายแดนมีผู้ป่วยกันมากและเกิดแพร่ละบาดอย่างรวดเร็ว จนขณะนี้มีการระบาดมากที่ จ.สงขลา

“ดังนั้น เราจึงเอาแถว 4 จังหวัด ตั้งแต่ สตูล พัทลุง ตรัง และ นครศรีธรรมราช เป็นแนวกันการระบาดพร้อมเป็นการรณรงค์การป้องกันทันที และเข้าดูแลประชาชนถึงในบ้าน แต่ยุงที่นำพาโรคชิคุนกุนยาเป็นยุงลายสวน และจะป้องกันยาก เราจึงเริ่มให้เจ้าของบ้านกำจัดยุงลายสวน ที่แหล่งภาชนะที่ขังอยู่ข้างบ้านให้หมดไป” นายมานิต กล่าวและว่า

ทั้งนี้ สิ่งที่ต้องกำจัดให้หมดไป โดยเฉพาะไข่ยุง เพราะไข่ยุงสามารถอยู่ได้ไม่ต้องมีน้ำขัง และอยู่ได้เป็นปี ที่มีอยู่ในภาชนะที่รองน้ำและแห้ง ซึ่งสมารถเป็นที่วางไข่ยุงโดยไม่ต้องอาศัยน้ำเลย และต้องกำจัดจุดตรงนี้ให้มากโดยเน้นที่เยาวชนนักเรียนให้มีความรู้เรื่องโรคชิคุนกุนยา และการป้องกันตัวเองให้มาก และขอเน้นย้ำเจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำตำบล อำเภอและจังหวัดเน้นให้ความรู้เยาวชนให้มาก

ด้านสถานการณ์โรคชิคุนกุนยา ใน จ.สตูล ช่วงปี 2552 ตั้งแต่เดือน 1 มกราคม 2552 - 31 พฤษภาคม 2552 จากข้อมูลทางระบาดวิทยาโรคชิคุนกุนยาในพื้นที่ จ.สตูล มีรายงานผู้ป่วยทั้งสิ้น 149 ราย อัตราผู้ป่วย 52.06 ต่อแสนประชากร ไม่มีรายงานผู้ที่เสียชีวิต





กำลังโหลดความคิดเห็น