ยะลา - ในฤดูแล้งทุกปี ชาวสวนยางต้องหยุดกรีดยางชั่วคราวเป็นระยะเวลา 2 เดือน เนื่องจากต้นยางพาราผลักใบ น้ำยางลด ไม่คุ้มการกรีด และทำให้เสียหน้ายางไปโดยไม่คุ้มกับการได้น้ำยาง ทำให้พ่อค้ารับซื้อยางในตลาดเมืองยะลาต้องทำใจในช่วงยางหาย ต้องเตรียมตัวหาอาชีพใหม่มาทดแทนเป็นการชั่วคราว เพื่อมีรายได้เสริมที่ขาดหายไปจากรายได้ผลกำไรการซื้อยาง
นายสมชาย แซ่ลิ่ม พ่อค้ารับยางในตัวเมืองยะลา กล่าวว่า ปัจจุบันการรับซื้อยางแทบจะไม่ได้กำไร เนื่องจากทางราชการได้เปิดตลาดกลางยาง เพื่อรองรับยางจากชาวสวนในราคาที่สูง ทำให้ชาวสวนที่นำยางมาขายที่ร้านต้องการที่เทียบราคาให้ได้ทัดเทียมกับการซื้อจากตลาดกลาง
ในขณะเดียวกัน ในช่วงหน้าแล้งของทุกปี ปริมาณยางที่จะออกสู่ตลาดมีน้อยมาก เนื่องจากชาวสวนต้องหยุดการกรีดยาง เพื่อให้ต้นยางที่ผลัดใบผลิใบมาใหม่ ซึ่งใช้เวลาประมาณ 2 เดือน ดังนั้น ในช่วงปริมาณยางหายไป ตนต้องหาอาชีพใหม่มารองรับเป็นการชั่วคราว โดยไปรับซื้อหมากแห้งจากชาวบ้านแทน
ด้าน นายธีระ มินทราศักดิ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา ได้เรียกคณะกรรมการยางจังหวัด ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง เกษตรจังหวัด สหกรณ์จังหวัด เกษตรและสหกรณ์จังหวัด ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ผู้แทนกลุ่มสหกรณ์การเกษตร เพื่อประชุมแก้ไขปัญหายางราคาตกต่ำที่ห้องประชุม สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การสวนยางจังหวัดยะลา
ที่ประชุมได้รับทราบแนวทางการช่วยเหลือเกษตรกร ที่รัฐบาลได้กำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาราคายางตกต่ำ โดยมีหลักเกณฑ์การช่วยเหลือให้กับสถาบันเกษตรกรที่ผลิตยางรมควัน ชั้น 3 หรือยางแท่ง ยางคอมปาว หรือน้ำยางข้น โดยธนาคารเพื่อเกษตรและสหกรณ์ ให้เงินกู้ตามสถานะของสถาบัน เช่น กลุ่มเกษตรกร ให้กู้ ไม่เกิน 5 ล้านบาท และสหกรณ์การเกษตร ให้กู้ไม่เกิน 15 ล้าน
ทั้งนี้ เพื่อนำเงินมาซื้อยางจากสมาชิก แล้วนำมาแปรรูปเพื่อให้สามารถเก็บไว้ได้นาน รอราคายางของตลาดโลกให้สูงขึ้นก่อนนำยางออกจำหน่าย ซึ่งเป็นกลยุทธ์การตลาดของรัฐบาล ให้เกษตรกรเก็บสต๊อกยาง ทำให้ยางขาดตลาด เมื่อยางขาดตลาดทำให้ตลาดโลกต้องยางจำนวนมาก ทำให้ปรับราคายางสูงขึ้น เมื่อสูงขึ้นสถาบันเกษตรกร หรือกลุ่มเกษตรกร จึงจะนำยางออกจำหน่ายจะทำให้ยางได้ราคาเพิ่มขึ้น
นายสมชาย แซ่ลิ่ม พ่อค้ารับยางในตัวเมืองยะลา กล่าวว่า ปัจจุบันการรับซื้อยางแทบจะไม่ได้กำไร เนื่องจากทางราชการได้เปิดตลาดกลางยาง เพื่อรองรับยางจากชาวสวนในราคาที่สูง ทำให้ชาวสวนที่นำยางมาขายที่ร้านต้องการที่เทียบราคาให้ได้ทัดเทียมกับการซื้อจากตลาดกลาง
ในขณะเดียวกัน ในช่วงหน้าแล้งของทุกปี ปริมาณยางที่จะออกสู่ตลาดมีน้อยมาก เนื่องจากชาวสวนต้องหยุดการกรีดยาง เพื่อให้ต้นยางที่ผลัดใบผลิใบมาใหม่ ซึ่งใช้เวลาประมาณ 2 เดือน ดังนั้น ในช่วงปริมาณยางหายไป ตนต้องหาอาชีพใหม่มารองรับเป็นการชั่วคราว โดยไปรับซื้อหมากแห้งจากชาวบ้านแทน
ด้าน นายธีระ มินทราศักดิ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา ได้เรียกคณะกรรมการยางจังหวัด ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง เกษตรจังหวัด สหกรณ์จังหวัด เกษตรและสหกรณ์จังหวัด ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ผู้แทนกลุ่มสหกรณ์การเกษตร เพื่อประชุมแก้ไขปัญหายางราคาตกต่ำที่ห้องประชุม สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การสวนยางจังหวัดยะลา
ที่ประชุมได้รับทราบแนวทางการช่วยเหลือเกษตรกร ที่รัฐบาลได้กำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาราคายางตกต่ำ โดยมีหลักเกณฑ์การช่วยเหลือให้กับสถาบันเกษตรกรที่ผลิตยางรมควัน ชั้น 3 หรือยางแท่ง ยางคอมปาว หรือน้ำยางข้น โดยธนาคารเพื่อเกษตรและสหกรณ์ ให้เงินกู้ตามสถานะของสถาบัน เช่น กลุ่มเกษตรกร ให้กู้ ไม่เกิน 5 ล้านบาท และสหกรณ์การเกษตร ให้กู้ไม่เกิน 15 ล้าน
ทั้งนี้ เพื่อนำเงินมาซื้อยางจากสมาชิก แล้วนำมาแปรรูปเพื่อให้สามารถเก็บไว้ได้นาน รอราคายางของตลาดโลกให้สูงขึ้นก่อนนำยางออกจำหน่าย ซึ่งเป็นกลยุทธ์การตลาดของรัฐบาล ให้เกษตรกรเก็บสต๊อกยาง ทำให้ยางขาดตลาด เมื่อยางขาดตลาดทำให้ตลาดโลกต้องยางจำนวนมาก ทำให้ปรับราคายางสูงขึ้น เมื่อสูงขึ้นสถาบันเกษตรกร หรือกลุ่มเกษตรกร จึงจะนำยางออกจำหน่ายจะทำให้ยางได้ราคาเพิ่มขึ้น