อุดรธานี - เกษตรและสหกรณ์อุดรฯแนะเกษตรกรวางแผนรับมือวิกฤตยางพารา โค่นต้นเก่าเกิน 25 ปีแล้วปลูกใหม่ เชื่อเป็นอีกมาตรการที่จะช่วยทำให้ผลผลิตยางธรรมชาติออกสู้ตลาดลดลงประมาณ 30% ซึ่งจะช่วยสร้างสมดุลความต้องการในท้องตลาดและผลักดันราคายางให้ขยับสูงขึ้นในอนาคต
นายปวิต ถมยาวิทย์ เกษตรและสหกรณ์จังหวัดอุดรธานี เปิดเผยว่า จากปัญหายางพารามีราคาตกต่ำ อันเนื่องมาจากวิกฤตทางเศรษฐกิจของอเมริกาและสหภาพยุโรป ประกอบกับประเทศจีนได้ชะลอการนำเข้ายางพาราจากไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีการประชุมร่วมกับสมาคมผู้ผลิตยาง 9 ประเทศ
โดยเบื้องต้นได้เห็นชอบให้นำ 2 มาตรการใช้แก้ไขปัญหา คือ 1.ผลักดันให้เกษตรกรโค่นยางเก่าที่มีอายุ 25 ปี ขึ้นไปและปลูกใหม่ทดแทน และ 2.ส่งเสริมให้เกษตรกรลดจำนวนวันกรีดยางลงจาก 3 วันต่อสัปดาห์เหลือ 2 วันต่อสัปดาห์
การลดจำนวนวันกรีดยางลงเช่นนี้จะทำให้ผลผลิตยางธรรมชาติออกสู้ตลาดลดลงประมาณ 30% ซึ่งจะช่วยสร้างสมดุลย์ความต้องการและผลัดดันราคายางให้ขยับสูงขึ้นได้
นายปวิต กล่าวอีกว่า ในช่วงที่ผ่านมามีเกษตรกรจำนวนไม่น้อยที่กรีดยางต้นเล็กที่ไม่ได้ขนาด รวมทั้งใช้ระบบกรีดยางแบบถี่และหักโหมโดยไม่มีการใส่ปุ๋ยหรือดูแลรักษา ซึ่งการทำเช่นนี้จะส่งผลให้อายุขัยของยางนั้นสั้นลง ทำให้ต้องโค่นต้นยางทิ้งก่อนกำหนด นอกจากนี้ เกษตรกรควรทำยางแผ่นดิบหรือยางแผ่นรมควันแทนการทำแผ่นยางและควรใช้แรงงานภายในครอบครัว ซึ่งจะทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการจ้างกรีดยางถึงร้อยละ 30-50 ช่วยให้มีรายได้เพิ่มขึ้นและลดต้นทุนในการผลิต
นอกจากนี้ ควรมีการรวมกลุ่มกันขายยางอย่างจริงจัง เพื่อประโยชน์ในการมีอำนาจต่อรองราคาและสร้างเครือข่าย เป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ ข้อมูลข่าวสารทั้งด้านการผลิตและการตลาด หากเกษตรกรชาวสวนยางพร้อมใจกันปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าว เชื่อได้ว่าจะทำให้ปริมาณยางในท้องตลาดลดลง และจะส่งผลให่ราคายางพาราสูงขึ้นได้ในระดับหนึ่ง
นายปวิต ถมยาวิทย์ เกษตรและสหกรณ์จังหวัดอุดรธานี เปิดเผยว่า จากปัญหายางพารามีราคาตกต่ำ อันเนื่องมาจากวิกฤตทางเศรษฐกิจของอเมริกาและสหภาพยุโรป ประกอบกับประเทศจีนได้ชะลอการนำเข้ายางพาราจากไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีการประชุมร่วมกับสมาคมผู้ผลิตยาง 9 ประเทศ
โดยเบื้องต้นได้เห็นชอบให้นำ 2 มาตรการใช้แก้ไขปัญหา คือ 1.ผลักดันให้เกษตรกรโค่นยางเก่าที่มีอายุ 25 ปี ขึ้นไปและปลูกใหม่ทดแทน และ 2.ส่งเสริมให้เกษตรกรลดจำนวนวันกรีดยางลงจาก 3 วันต่อสัปดาห์เหลือ 2 วันต่อสัปดาห์
การลดจำนวนวันกรีดยางลงเช่นนี้จะทำให้ผลผลิตยางธรรมชาติออกสู้ตลาดลดลงประมาณ 30% ซึ่งจะช่วยสร้างสมดุลย์ความต้องการและผลัดดันราคายางให้ขยับสูงขึ้นได้
นายปวิต กล่าวอีกว่า ในช่วงที่ผ่านมามีเกษตรกรจำนวนไม่น้อยที่กรีดยางต้นเล็กที่ไม่ได้ขนาด รวมทั้งใช้ระบบกรีดยางแบบถี่และหักโหมโดยไม่มีการใส่ปุ๋ยหรือดูแลรักษา ซึ่งการทำเช่นนี้จะส่งผลให้อายุขัยของยางนั้นสั้นลง ทำให้ต้องโค่นต้นยางทิ้งก่อนกำหนด นอกจากนี้ เกษตรกรควรทำยางแผ่นดิบหรือยางแผ่นรมควันแทนการทำแผ่นยางและควรใช้แรงงานภายในครอบครัว ซึ่งจะทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการจ้างกรีดยางถึงร้อยละ 30-50 ช่วยให้มีรายได้เพิ่มขึ้นและลดต้นทุนในการผลิต
นอกจากนี้ ควรมีการรวมกลุ่มกันขายยางอย่างจริงจัง เพื่อประโยชน์ในการมีอำนาจต่อรองราคาและสร้างเครือข่าย เป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ ข้อมูลข่าวสารทั้งด้านการผลิตและการตลาด หากเกษตรกรชาวสวนยางพร้อมใจกันปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าว เชื่อได้ว่าจะทำให้ปริมาณยางในท้องตลาดลดลง และจะส่งผลให่ราคายางพาราสูงขึ้นได้ในระดับหนึ่ง