กระบี่ - เกษตรกรชาวสวนยางช็อก! ราคาต่ำสุดรอบ 5 ปี เหลือกิโลกรัมละ 30 กว่าบาท ด้านสมาคมฯ จี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องยื่นมือช่วยด่วน
นายบุญส่ง นับทอง นายกสมาคมชาวสวนยางจังหวัดกระบี่ กล่าวถึงราคายางพาราที่ตกต่ำอยู่ในขณะนี้ว่า ปัจจุบันราคายางพาราได้ตกต่ำลงอย่างเป็นประวัติศาสตร์ ที่ไม่มีใครคาดคิดมาก่อนในรอบ 5 ปี จากราคายางแผ่นดิบชั้น 3 ที่เคยมีราคาสูงสุดถึงกิโลกรัมละ 100 บาท ลดลงเหลือกิโลกรัมละ 30 กว่าบาท แม้แต่เศษยาง ราคาก็สูงถึงกิโลกรัมละ 50 บาท ได้ลดลงเหลือกิโลกรัมละ ประมาณ 13 บาท ในช่วงระยะเวลาเพียง 3 เดือน เท่านั้น
โดยสาเหตุภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอ ทำให้บริษัทยักษ์ใหญ่บางบริษัทล้มละลาย และกำลังจะตามมาอีกหลายบริษัท โดยเฉพาะบริษัทที่เกี่ยวเนื่องกับการผลิตรถยนต์ ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีความต้องใช้ยางพาราเป็นวัตถุดิบในการประกอบชิ้นส่วนยานยนต์ กำลังจะล้มละลายเป็นต้นเหตุสำคัญทำให้ราคายางตก
นายกสมาคมชาวสวนยางจังหวัดกระบี่ กล่าวอีกว่า สำหรับราคายางพาราในตลาดกลาง มีความเคลื่อนไหวตลอดทั้งวัน และเป็นไปในทิศทางที่ไม่สู้ดีนัก ทั้ง ยางแผ่น น้ำยางสด และเศษยาง โดยราคาตกต่ำลงอย่างต่อเนื่องต่ำกว่าต้นทุนการผลิต จนทำให้พ่อค้าในพื้นที่บางรายต้องชะลอการซื้อ หากซื้อก็จะซื้อในราคาที่ถูกมาก เพราะความไม่แน่นอนของราคา จึงทำให้เกษตรกรชาวสวนยางพาราได้รับความเดือดร้อนไปตามกัน เพราะต้นทุนของการผลิตยางพารา ที่แท้จริงยางแผ่นดิบราคาจะต้องไม่ต่ำกว่ากิโลกรัมละ 52 บาท นอกจากนี้ก็ยังมีในเรื่องของราคาปุ๋ย ถึงแม้ว่าก่อนหน้านี้ผู้ประกอบการจะอ้างว่าน้ำมันแพงจะต้องขอขึ้นราคาปุ๋ยตามไปด้วย จากราคาเพียง กระสอบละ 500 บาท ก็ได้พุ่งสูงสุดกระสอบละ 1,400 บาท และยังไม่มีท่าทีว่าจะลดลง
สำหรับการแก้ปัญหาให้กับเกษตรกรในเบื้องต้นนั้น ได้ประชุมหารือร่วมกับนายศิวะ ศิริเสาวลักษณ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ เพื่อแก้ไขปัญหาราคายางพาราตกต่ำ โดยมีการค้าภายในจังหวัดกระบี่ เกษตรจังหวัดกระบี่ สหกรณ์จังหวัดกระบี่ พาณิชย์จังหวัดกระบี่ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม โดยได้เสนอแนวทางแก้ไขปัญหาผ่านที่ประชุม 5-6 ประเด็นด้วยกัน เช่น เสนอให้รัฐบาลแทรกแซงราคายางพาราโดยเร่งด่วน ไม่ให้ต่ำกว่าทุนการผลิตและให้ภาครัฐเร่งรัดการสนับสนุนสินเชื่อให้กับเกษตรกรที่มีคุณสมบัติครบถ้วน ได้กู้เงินตามโครงการสนับสนุนสินเชื่อเพื่อจัดหาปัจจัยในการผลิต นอกจากนี้ก็ให้ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำยางพาราไปแปรรูปเป็นยางมะตอย เพื่อลดปริมาณยางพาราที่มีอยู่ ซึ่งเชื่อว่าจะทำให้ราคายางสูงขึ้นได้
อย่างไรก็ตาม ให้ทางสหกรณ์จังหวัดได้มีการ เสนองบจากกองทุนพัฒนาสหกรณ์ ที่มีอยู่จำนวน 40 ล้านบาทและกองทุนช่วยเหลือเกษตรกร เพื่อนำมาปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ ให้กับผู้ประกอบการเพื่อใช้ในการดำเนินการแทรกแซงราคายางพาราในพื้นที่ โดยจะซื้อในราคาที่สูงกว่าราคาปัจจุบัน และหลังจากนี้ก็จะเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะได้ดำเนินการประสานกับโรงงานยางพารา ซึ่งมีอยู่ 5 ราย เป็นโรงงานน้ำยางข้น 4 ราย และยางแห้งอีก 1 รายมาหารือ เพื่อกำหนดแนวทางในการแทรกแซงราคายางพาราต่อไป ซึ่งหากว่าได้ข้อสรุปก็จะทำให้ราคายางกระเตื้องขึ้นถึงแม้ว่าจะเป็นระยะเวลาสั้นๆก็ตาม ก็ยังดีกว่าไม่ได้ทำอะไรเลย และยังเชื่อว่าเมื่อเศรษฐกิจสหรัฐดีขึ้นก็จะทำให้ราคายางกระเตื้องขึ้นด้วยอย่างแน่นอน
นายบุญส่ง นับทอง นายกสมาคมชาวสวนยางจังหวัดกระบี่ กล่าวถึงราคายางพาราที่ตกต่ำอยู่ในขณะนี้ว่า ปัจจุบันราคายางพาราได้ตกต่ำลงอย่างเป็นประวัติศาสตร์ ที่ไม่มีใครคาดคิดมาก่อนในรอบ 5 ปี จากราคายางแผ่นดิบชั้น 3 ที่เคยมีราคาสูงสุดถึงกิโลกรัมละ 100 บาท ลดลงเหลือกิโลกรัมละ 30 กว่าบาท แม้แต่เศษยาง ราคาก็สูงถึงกิโลกรัมละ 50 บาท ได้ลดลงเหลือกิโลกรัมละ ประมาณ 13 บาท ในช่วงระยะเวลาเพียง 3 เดือน เท่านั้น
โดยสาเหตุภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอ ทำให้บริษัทยักษ์ใหญ่บางบริษัทล้มละลาย และกำลังจะตามมาอีกหลายบริษัท โดยเฉพาะบริษัทที่เกี่ยวเนื่องกับการผลิตรถยนต์ ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีความต้องใช้ยางพาราเป็นวัตถุดิบในการประกอบชิ้นส่วนยานยนต์ กำลังจะล้มละลายเป็นต้นเหตุสำคัญทำให้ราคายางตก
นายกสมาคมชาวสวนยางจังหวัดกระบี่ กล่าวอีกว่า สำหรับราคายางพาราในตลาดกลาง มีความเคลื่อนไหวตลอดทั้งวัน และเป็นไปในทิศทางที่ไม่สู้ดีนัก ทั้ง ยางแผ่น น้ำยางสด และเศษยาง โดยราคาตกต่ำลงอย่างต่อเนื่องต่ำกว่าต้นทุนการผลิต จนทำให้พ่อค้าในพื้นที่บางรายต้องชะลอการซื้อ หากซื้อก็จะซื้อในราคาที่ถูกมาก เพราะความไม่แน่นอนของราคา จึงทำให้เกษตรกรชาวสวนยางพาราได้รับความเดือดร้อนไปตามกัน เพราะต้นทุนของการผลิตยางพารา ที่แท้จริงยางแผ่นดิบราคาจะต้องไม่ต่ำกว่ากิโลกรัมละ 52 บาท นอกจากนี้ก็ยังมีในเรื่องของราคาปุ๋ย ถึงแม้ว่าก่อนหน้านี้ผู้ประกอบการจะอ้างว่าน้ำมันแพงจะต้องขอขึ้นราคาปุ๋ยตามไปด้วย จากราคาเพียง กระสอบละ 500 บาท ก็ได้พุ่งสูงสุดกระสอบละ 1,400 บาท และยังไม่มีท่าทีว่าจะลดลง
สำหรับการแก้ปัญหาให้กับเกษตรกรในเบื้องต้นนั้น ได้ประชุมหารือร่วมกับนายศิวะ ศิริเสาวลักษณ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ เพื่อแก้ไขปัญหาราคายางพาราตกต่ำ โดยมีการค้าภายในจังหวัดกระบี่ เกษตรจังหวัดกระบี่ สหกรณ์จังหวัดกระบี่ พาณิชย์จังหวัดกระบี่ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม โดยได้เสนอแนวทางแก้ไขปัญหาผ่านที่ประชุม 5-6 ประเด็นด้วยกัน เช่น เสนอให้รัฐบาลแทรกแซงราคายางพาราโดยเร่งด่วน ไม่ให้ต่ำกว่าทุนการผลิตและให้ภาครัฐเร่งรัดการสนับสนุนสินเชื่อให้กับเกษตรกรที่มีคุณสมบัติครบถ้วน ได้กู้เงินตามโครงการสนับสนุนสินเชื่อเพื่อจัดหาปัจจัยในการผลิต นอกจากนี้ก็ให้ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำยางพาราไปแปรรูปเป็นยางมะตอย เพื่อลดปริมาณยางพาราที่มีอยู่ ซึ่งเชื่อว่าจะทำให้ราคายางสูงขึ้นได้
อย่างไรก็ตาม ให้ทางสหกรณ์จังหวัดได้มีการ เสนองบจากกองทุนพัฒนาสหกรณ์ ที่มีอยู่จำนวน 40 ล้านบาทและกองทุนช่วยเหลือเกษตรกร เพื่อนำมาปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ ให้กับผู้ประกอบการเพื่อใช้ในการดำเนินการแทรกแซงราคายางพาราในพื้นที่ โดยจะซื้อในราคาที่สูงกว่าราคาปัจจุบัน และหลังจากนี้ก็จะเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะได้ดำเนินการประสานกับโรงงานยางพารา ซึ่งมีอยู่ 5 ราย เป็นโรงงานน้ำยางข้น 4 ราย และยางแห้งอีก 1 รายมาหารือ เพื่อกำหนดแนวทางในการแทรกแซงราคายางพาราต่อไป ซึ่งหากว่าได้ข้อสรุปก็จะทำให้ราคายางกระเตื้องขึ้นถึงแม้ว่าจะเป็นระยะเวลาสั้นๆก็ตาม ก็ยังดีกว่าไม่ได้ทำอะไรเลย และยังเชื่อว่าเมื่อเศรษฐกิจสหรัฐดีขึ้นก็จะทำให้ราคายางกระเตื้องขึ้นด้วยอย่างแน่นอน