กระบี่ - จังหวัดกระบี่แต่งตั้งคณะกรรมการยางพารา แก้ปัญหาราคายางตกต่ำ ชี้ปัจจุบันตลาดยางตกเป็นของผู้ซื้อ
นายบุญส่ง นับทอง นายกสมาคมชาวสวนยางพาราจังหวัดกระบี่ กล่าวว่า จากที่ราคายางพาราได้ตกต่ำลงอย่างต่อเนื่อง ทางสามคมฯได้ยื่นหนังสือถึง นายศิวะ ศิริเสาวลักษณ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ เพื่อขอให้ช่วยแก้ไขปัญหาราคายางตกต่ำโดยด่วน โดยได้มอบหมายให้นายชัยเลิศ ภิญโญรัตนโชติ รองผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ เป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการพิจารณา แก้ไขปัญหาราคายางพาราตกต่ำ และได้มีการประชุมร่วมกันเมื่อวันที่ 7 ที่ผ่านมาโดยมีเกษตรจังหวัดกระบี่ เกษตรและสหกรณ์จังหวัด พาณิชย์จังหวัดกระบี่ ตัวแทนสมาคมชาวสวนยางพาราจังหวัดกระบี่ และตัวแทนเกษตรกร เข้าร่วมประชุมจำนวนประมาณ 20 คน
ในที่ประชุมได้มีการพูดถึงสถานการณ์ราคายางพาราปัจจุบันที่ตกต่ำลงมา ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรชาวสวนยางเป็นอย่างมาก ในขณะที่ทางภาครัฐได้ มีการรณรงค์ให้เกษตรกร ชะลอการกรีดยาง เพื่อให้ปริมาณยางพาราในตลาดลดลงก็จะส่งผลให้ราคายางดีดตัวขึ้นมาได้ ซึ่งถ้าหากเกษตรกรรรายย่อยต้องงดการกรีดยางก็จะทำให้ไม่มีรายได้เลี้ยงชีพ ในช่วงที่ราคายางสูงเกษตรกรส่วนใหญ่ไม่ได้มีการโค่นยางพาราที่เสื่อมสภาพ เพื่อขอทุนปลูกใหม่ทดแทน จึงทำให้ยางล้นตลาด
นายกสมาคมชาวสวนยางพาราจังหวัดกระบี่ กล่าวอีกว่า ขณะนี้ราคายางในตลาดล่วงหน้าผันผวนอย่างหนัก ส่งผลต่อตลาดซื้อขายยางจริง ทำให้เกิดความแตกตื่นในหมู่ผู้ประกอบการ ผู้ส่งออกแย่งกันเสนอราคาขาย ทำให้ตลาดยางพารากลายเป็นตลาดผู้ซื้อทันที ทำให้ผู้ซื้อสามารถกำหนดราคาได้ตามใจชอบ จนปัจจุบันราคายางลดลงมาแล้วเกือบ 60 เปอร์เซ็นต์ และที่สำคัญผู้ซื้อสามารถยกเลิกสัญญาซื้อที่ราคาสูงๆ กันอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกษตรกรต้องแบกรับภาระตั้งต้นทุนที่สูง แต่ขายได้ราคาต่ำ
สำหรับมติในที่ประชุม นั้นนายกสมาคมชาวสวนยางจังหวัดกระบี่ กล่าวว่า ในที่ประชุมได้เสนอให้การแก้ปัญหาเกษตรกรชาวสวนยางเป็นนโยบายระดับจังหวัด โดยให้จัดตั้งคณะกรรมการยางพาราขึ้นมา 1 ชุด เพื่อแก้ปัญหาให้เกษตรกร ประกอบด้วยหน่วยงานภาครัฐและเอกชน และเกษตรกร มีการรณรงค์ให้เกษตรกรชะลอการกรีดยางพารา เพื่อลดปริมาณยางพาราออกสู่ท้องตลาด
สำหรับผู้ที่ไม่สามารถหยุดกรีดยางได้ก็ให้ชะลอการขายโดยสต็อกเอาไว้ โดยให้สถาบันการเงินเข้ามาดำเนินการช่วยเหลือ ซึ่งจะพลักดันให้เป็นนโยบายระดับประเทศต่อไป นอกจากนั้น ต้องส่งเสริมให้เกษตรกรโค่นยางพาราที่เสื่อมสภาพแล้ว เพื่อขอทุนปลูกใหม่ ส่วนที่อยู่ในเขตป่าสงวนนั้นจะนำเสนอปัญหาเข้าที่ประชุมเพื่อให้มีการตรวจสอบกันต่อไป ซึ่งเชื่อว่าสามารถดำเนินการได้เนื่องจากส่วนใหญ่ปลูกมาแล้วไม่ต่ำกว่า 10 ปี
นายบุญส่ง นับทอง นายกสมาคมชาวสวนยางพาราจังหวัดกระบี่ กล่าวว่า จากที่ราคายางพาราได้ตกต่ำลงอย่างต่อเนื่อง ทางสามคมฯได้ยื่นหนังสือถึง นายศิวะ ศิริเสาวลักษณ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ เพื่อขอให้ช่วยแก้ไขปัญหาราคายางตกต่ำโดยด่วน โดยได้มอบหมายให้นายชัยเลิศ ภิญโญรัตนโชติ รองผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ เป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการพิจารณา แก้ไขปัญหาราคายางพาราตกต่ำ และได้มีการประชุมร่วมกันเมื่อวันที่ 7 ที่ผ่านมาโดยมีเกษตรจังหวัดกระบี่ เกษตรและสหกรณ์จังหวัด พาณิชย์จังหวัดกระบี่ ตัวแทนสมาคมชาวสวนยางพาราจังหวัดกระบี่ และตัวแทนเกษตรกร เข้าร่วมประชุมจำนวนประมาณ 20 คน
ในที่ประชุมได้มีการพูดถึงสถานการณ์ราคายางพาราปัจจุบันที่ตกต่ำลงมา ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรชาวสวนยางเป็นอย่างมาก ในขณะที่ทางภาครัฐได้ มีการรณรงค์ให้เกษตรกร ชะลอการกรีดยาง เพื่อให้ปริมาณยางพาราในตลาดลดลงก็จะส่งผลให้ราคายางดีดตัวขึ้นมาได้ ซึ่งถ้าหากเกษตรกรรรายย่อยต้องงดการกรีดยางก็จะทำให้ไม่มีรายได้เลี้ยงชีพ ในช่วงที่ราคายางสูงเกษตรกรส่วนใหญ่ไม่ได้มีการโค่นยางพาราที่เสื่อมสภาพ เพื่อขอทุนปลูกใหม่ทดแทน จึงทำให้ยางล้นตลาด
นายกสมาคมชาวสวนยางพาราจังหวัดกระบี่ กล่าวอีกว่า ขณะนี้ราคายางในตลาดล่วงหน้าผันผวนอย่างหนัก ส่งผลต่อตลาดซื้อขายยางจริง ทำให้เกิดความแตกตื่นในหมู่ผู้ประกอบการ ผู้ส่งออกแย่งกันเสนอราคาขาย ทำให้ตลาดยางพารากลายเป็นตลาดผู้ซื้อทันที ทำให้ผู้ซื้อสามารถกำหนดราคาได้ตามใจชอบ จนปัจจุบันราคายางลดลงมาแล้วเกือบ 60 เปอร์เซ็นต์ และที่สำคัญผู้ซื้อสามารถยกเลิกสัญญาซื้อที่ราคาสูงๆ กันอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกษตรกรต้องแบกรับภาระตั้งต้นทุนที่สูง แต่ขายได้ราคาต่ำ
สำหรับมติในที่ประชุม นั้นนายกสมาคมชาวสวนยางจังหวัดกระบี่ กล่าวว่า ในที่ประชุมได้เสนอให้การแก้ปัญหาเกษตรกรชาวสวนยางเป็นนโยบายระดับจังหวัด โดยให้จัดตั้งคณะกรรมการยางพาราขึ้นมา 1 ชุด เพื่อแก้ปัญหาให้เกษตรกร ประกอบด้วยหน่วยงานภาครัฐและเอกชน และเกษตรกร มีการรณรงค์ให้เกษตรกรชะลอการกรีดยางพารา เพื่อลดปริมาณยางพาราออกสู่ท้องตลาด
สำหรับผู้ที่ไม่สามารถหยุดกรีดยางได้ก็ให้ชะลอการขายโดยสต็อกเอาไว้ โดยให้สถาบันการเงินเข้ามาดำเนินการช่วยเหลือ ซึ่งจะพลักดันให้เป็นนโยบายระดับประเทศต่อไป นอกจากนั้น ต้องส่งเสริมให้เกษตรกรโค่นยางพาราที่เสื่อมสภาพแล้ว เพื่อขอทุนปลูกใหม่ ส่วนที่อยู่ในเขตป่าสงวนนั้นจะนำเสนอปัญหาเข้าที่ประชุมเพื่อให้มีการตรวจสอบกันต่อไป ซึ่งเชื่อว่าสามารถดำเนินการได้เนื่องจากส่วนใหญ่ปลูกมาแล้วไม่ต่ำกว่า 10 ปี