ศูนย์ข่าวภูเก็ต - ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ภูเก็ต ระบุ ผลิตภัณฑ์สุขภาพจำหน่ายในท้องตลาดยังไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภคเร่งให้ความรู้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดูแลป้องกัน
ว่าที่ ร.ต.ณรงค์ รัตนนาคินทร์ ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ภูเก็ต กล่าวภายหลังการเปิดสัมมนาการถ่ายทอดภารกิจการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฎิบัติการสู่ชุมชน ประจำปี 2552 ซึ่งจัดโดยศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ภูเก็ต เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ เสริมสร้างความพร้อมให้กับเจ้าหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้สามารถนำไปใช้ในการปฎิบัติงานคุ้มครองผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
โดยมีผู้เข้าร่วม ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่จากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่างๆ ใน จ.ภูเก็ต โรงเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาภูเก็ต สถานีอนามัย อาสาสมัครสาธารณสุข โรงพยาบาลชุมชน สำนักงานสาธารณสุขอำเภอและสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต จำนวนประมา 80 คน
โดยมี นางจุรีภรณ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เป็นประธานเปิดการ ณ โรงแรมภูเก็ตเมอร์ลิน อ.เมือง จ.ภูเก็ต ว่า ปัจจุบันผลิตภัณฑ์สุขภาพ เช่น อาหาร ยา เครื่องสำอาง ที่จำหน่ายในท้องตลาดพบว่ายังไม่มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค
เนื่องจากการแข่งขันสูง ผู้ผลิตใช้สารเคมีต่างๆ มากมาย ทั้งที่ได้รับอนุญาตและไม่ได้รับอนุญาตในกระบวนการผลิต หรือมีกระบวนการผลิตที่ไม่เหมาะสม ไม่มีหลักเกณฑ์และวิธีการที่ดีพอ จึงทำให้ตรวจพบสารเคมีตกค้าง สารปนเปื้อน และสารเคมีอันตราย หรือจุลินทรีย์ปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์ ดังปรากฏเป็นข่าวอยู่เป็นระยะๆ
ส่งผลให้ผู้บริโภคมีความเสี่ยงต่อการบริโภคผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีคุณภาพและเป็นอันตราย ซึ่งองค์กรท้องถิ่นในชุมชน ควรจะมีหน่วยตรวจสอบเฝ้าระวังโดยใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการใช้ภาคสนาม ตรวจง่าย สะดวก ให้ผลถูกต้องน่าเชื่อถือ แปลผลได้รวดเร็ว
เช่น ชุดทดสอบ ซึ่งสามารถใช้เป็นเครื่องมือตรวจสอบ คัดกรองความไม่ปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้คิดค้นชุดทดสอบอย่างง่ายในการทดสอบเบื้องต้นที่มีความสามารถในการตรวจคัดกรองคุณภาพอาหาร ยา และเครื่องสำอาง ตลอดจนผลิตภัณฑ์สุขภาพอื่นๆ
ดังนั้น การถ่ายทอดฟื้นฟูองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์และเทคโนโลยี ที่เหมาะสมกับการตรวจให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งมีเครื่องมือไว้ใช้ประโยชน์ในการประเมินปัญหาความเสี่ยงด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ และตรวจเฝ้าระวังความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สุขภาพได้ด้วยตนเองในชุมชน
นับเป็นการสร้างเครือข่ายเฝ้าระวังคุ้มครองผู้บริโภคที่มีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2550 ที่มีการกำหนดให้มีการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพึ่งตน และตัดสินใจในกิจการของท้องถิ่นได้เอง ส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการดำเนินการตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ อีกทั้งพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 ได้กำหนดอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเรื่องการดูแลสุขภาพอนามัยของประชาชน พร้อมนำนโยบายคุ้มครองผู้บริโภคไปดำเนินการในชุมชนได้
ว่าที่ ร.ต.ณรงค์ กล่าวด้วยว่า ภูเก็ตเป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศเดินทางเข้ามาเป็นจำนวนมาก รวมถึงผู้มาประกอบอาชีพด้วย ส่งผลให้เป็นแรงผลักดันก่อให้เกิดความเจริญรุดหน้าอย่างรวดเร็ว และก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมามากมาย รวมทั้งปัญหาสาธารณสุขในพื้นที่ ซึ่งนักท่องเที่ยวและประชาชนในพื้นที่เหล่านี้ย่อมที่จะมีการอุปโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพ
เช่น อาหาร ยา เครื่องสำอาง และวัตถุอันตรายที่จำหน่ายในท้องตลาด ซึ่งพบว่าส่วนหนึ่งมีความไม่ปลอดภัย ดังนั้นการสัมมนาถ่ายทอดภารกิจการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการสู่ชุมชน จึงเป็นส่วนช่วยให้เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับการใช้ชุดทดสอบและผลิตภัณฑ์สุขภาพของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และสามารถนำไปใช้คุ้มครองผู้บริโภคในท้องถิ่นของตนเองได้ ส่งผลให้ผู้บริโภคมีสุขภาพอนามัยและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เนื่องจากได้บริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ปลอดภัยและมีคุณภาพมาตรฐาน รวมทั้งยังสร้างภาพลักษณ์ที่ดีและสนับสนุนการท่องเที่ยวของจังหวัดภูเก็ตด้วย
ว่าที่ ร.ต.ณรงค์ รัตนนาคินทร์ ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ภูเก็ต กล่าวภายหลังการเปิดสัมมนาการถ่ายทอดภารกิจการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฎิบัติการสู่ชุมชน ประจำปี 2552 ซึ่งจัดโดยศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ภูเก็ต เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ เสริมสร้างความพร้อมให้กับเจ้าหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้สามารถนำไปใช้ในการปฎิบัติงานคุ้มครองผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
โดยมีผู้เข้าร่วม ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่จากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่างๆ ใน จ.ภูเก็ต โรงเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาภูเก็ต สถานีอนามัย อาสาสมัครสาธารณสุข โรงพยาบาลชุมชน สำนักงานสาธารณสุขอำเภอและสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต จำนวนประมา 80 คน
โดยมี นางจุรีภรณ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เป็นประธานเปิดการ ณ โรงแรมภูเก็ตเมอร์ลิน อ.เมือง จ.ภูเก็ต ว่า ปัจจุบันผลิตภัณฑ์สุขภาพ เช่น อาหาร ยา เครื่องสำอาง ที่จำหน่ายในท้องตลาดพบว่ายังไม่มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค
เนื่องจากการแข่งขันสูง ผู้ผลิตใช้สารเคมีต่างๆ มากมาย ทั้งที่ได้รับอนุญาตและไม่ได้รับอนุญาตในกระบวนการผลิต หรือมีกระบวนการผลิตที่ไม่เหมาะสม ไม่มีหลักเกณฑ์และวิธีการที่ดีพอ จึงทำให้ตรวจพบสารเคมีตกค้าง สารปนเปื้อน และสารเคมีอันตราย หรือจุลินทรีย์ปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์ ดังปรากฏเป็นข่าวอยู่เป็นระยะๆ
ส่งผลให้ผู้บริโภคมีความเสี่ยงต่อการบริโภคผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีคุณภาพและเป็นอันตราย ซึ่งองค์กรท้องถิ่นในชุมชน ควรจะมีหน่วยตรวจสอบเฝ้าระวังโดยใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการใช้ภาคสนาม ตรวจง่าย สะดวก ให้ผลถูกต้องน่าเชื่อถือ แปลผลได้รวดเร็ว
เช่น ชุดทดสอบ ซึ่งสามารถใช้เป็นเครื่องมือตรวจสอบ คัดกรองความไม่ปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้คิดค้นชุดทดสอบอย่างง่ายในการทดสอบเบื้องต้นที่มีความสามารถในการตรวจคัดกรองคุณภาพอาหาร ยา และเครื่องสำอาง ตลอดจนผลิตภัณฑ์สุขภาพอื่นๆ
ดังนั้น การถ่ายทอดฟื้นฟูองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์และเทคโนโลยี ที่เหมาะสมกับการตรวจให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งมีเครื่องมือไว้ใช้ประโยชน์ในการประเมินปัญหาความเสี่ยงด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ และตรวจเฝ้าระวังความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สุขภาพได้ด้วยตนเองในชุมชน
นับเป็นการสร้างเครือข่ายเฝ้าระวังคุ้มครองผู้บริโภคที่มีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2550 ที่มีการกำหนดให้มีการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพึ่งตน และตัดสินใจในกิจการของท้องถิ่นได้เอง ส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการดำเนินการตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ อีกทั้งพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 ได้กำหนดอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเรื่องการดูแลสุขภาพอนามัยของประชาชน พร้อมนำนโยบายคุ้มครองผู้บริโภคไปดำเนินการในชุมชนได้
ว่าที่ ร.ต.ณรงค์ กล่าวด้วยว่า ภูเก็ตเป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศเดินทางเข้ามาเป็นจำนวนมาก รวมถึงผู้มาประกอบอาชีพด้วย ส่งผลให้เป็นแรงผลักดันก่อให้เกิดความเจริญรุดหน้าอย่างรวดเร็ว และก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมามากมาย รวมทั้งปัญหาสาธารณสุขในพื้นที่ ซึ่งนักท่องเที่ยวและประชาชนในพื้นที่เหล่านี้ย่อมที่จะมีการอุปโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพ
เช่น อาหาร ยา เครื่องสำอาง และวัตถุอันตรายที่จำหน่ายในท้องตลาด ซึ่งพบว่าส่วนหนึ่งมีความไม่ปลอดภัย ดังนั้นการสัมมนาถ่ายทอดภารกิจการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการสู่ชุมชน จึงเป็นส่วนช่วยให้เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับการใช้ชุดทดสอบและผลิตภัณฑ์สุขภาพของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และสามารถนำไปใช้คุ้มครองผู้บริโภคในท้องถิ่นของตนเองได้ ส่งผลให้ผู้บริโภคมีสุขภาพอนามัยและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เนื่องจากได้บริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ปลอดภัยและมีคุณภาพมาตรฐาน รวมทั้งยังสร้างภาพลักษณ์ที่ดีและสนับสนุนการท่องเที่ยวของจังหวัดภูเก็ตด้วย