สคบ.เตือนผู้บริโภคอย่าหลงเชื่อร่วมลงทุนธุรกิจปลูกต้นกฤษณา เผยระบบการชักชวนสมาชิก-ระดมทุนคล้ายแชร์ลูกโซ่ เข้าข่ายหลอกลวงผู้บริโภค
นายนิโรธ เจริญประกอบ เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ได้รับเรื่องร้องเรียน กรณีมีผู้ประกอบธุรกิจโฆษณาเชิญชวนผู้บริโภคร่วมลงทุนธุรกิจการจัดซื้อและดำเนินการเกี่ยวกับไม้กฤษณาหากผู้บริโภคร่วมลงทุนจะได้รับเงินปันผลตอบแทน 20-30 หรือสูงถึง 100 เท่าของเงินทุน
โดยบริษัทจะมีวิธีการให้ผู้บริโภคนำเงินมาร่วมลงทุนกับบริษัท และผู้บริโภคจะได้รับต้นกล้าไม้กฤษณาไปปลูก และหากผู้บริโภคอยากได้รับผลตอบแทนเร็ว บริษัทก็จัดจำหน่ายสารเร่งให้เกิดกฤษณาแก่สมาชิก ซึ่งผลที่ได้ของสมาชิก บริษัทจะรับซื้อและเป็นตัวกลางซื้อขายกับต่างประเทศ อีกทั้งบริษัทยังได้จัดเตรียมหม้อต้มกลั่นและสร้างโรงงานกลั่นน้ำมันกฤษณาขนาดใหญ่ เพื่อรองรับไม้กฤษณาของสมาชิกแต่เมื่อผู้บริโภคนำต้นกฤษณาไปปลูกแล้วผลปรากฏว่าไม้กฤษณาก็ไม่โต สารเร่งการหลั่งไม้กฤษณาไม่หลั่งสาร ไม่สามารถนำมากลั่นน้ำมันได้และต้นไม้ยังเน่า ผุ ตาย เป็นจำนวนมาก ทั้งที่ผู้บริโภคได้ปฏิบัติตามขั้นตอนการแนะนำ และสมาชิกไม่ได้รับเงินปันผลตามที่แจ้งไว้ โดยบริษัทยังได้มีการแบ่งขายหุ้นให้แก่ผู้สนใจจะร่วมลงทุนทำธุรกิจ ทั้งที่บริษัทดังกล่าวยังไม่ได้จดทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
นายนิโรธ กล่าวอีกว่า สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้ว พบว่า เป็นการประกอบธุรกิจในลักษณะของการระดมทุนคล้ายแชร์ลูกโซ่ ซึ่งมีการจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนให้สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยที่สถาบันการเงินตามกฎหมายกำหนด และจะรับเมื่อผู้บริโภคร่วมลงทุน แต่ก็ไม่ได้ผลประโยชน์ตอบแทนตามที่แจ้งไว้ ซึ่งเข้าข่ายเป็นความผิดตามมาตรา 4 และมาตรา 5 แห่งพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ.2527
“จึงขอเตือนประชาชนผู้บริโภคอย่าหลงเชื่อ สำหรับกรณีที่มีผู้ร้องเรียนกับ สคบ.ได้ดำเนินการส่งเรื่องให้กลุ่มงานป้องปรามนอกระบบ สำนักงานปลัดกระทรวงการคลังพิจารณาดำเนินการต่อไปแล้ว และหากผู้บริโภคต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สอบถามได้ที่กองคุ้มครองผู้บริโภคด้านฉลาก 0-2151-3450-6” เลขาธิการ สคบ.กล่าว
นายนิโรธ เจริญประกอบ เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ได้รับเรื่องร้องเรียน กรณีมีผู้ประกอบธุรกิจโฆษณาเชิญชวนผู้บริโภคร่วมลงทุนธุรกิจการจัดซื้อและดำเนินการเกี่ยวกับไม้กฤษณาหากผู้บริโภคร่วมลงทุนจะได้รับเงินปันผลตอบแทน 20-30 หรือสูงถึง 100 เท่าของเงินทุน
โดยบริษัทจะมีวิธีการให้ผู้บริโภคนำเงินมาร่วมลงทุนกับบริษัท และผู้บริโภคจะได้รับต้นกล้าไม้กฤษณาไปปลูก และหากผู้บริโภคอยากได้รับผลตอบแทนเร็ว บริษัทก็จัดจำหน่ายสารเร่งให้เกิดกฤษณาแก่สมาชิก ซึ่งผลที่ได้ของสมาชิก บริษัทจะรับซื้อและเป็นตัวกลางซื้อขายกับต่างประเทศ อีกทั้งบริษัทยังได้จัดเตรียมหม้อต้มกลั่นและสร้างโรงงานกลั่นน้ำมันกฤษณาขนาดใหญ่ เพื่อรองรับไม้กฤษณาของสมาชิกแต่เมื่อผู้บริโภคนำต้นกฤษณาไปปลูกแล้วผลปรากฏว่าไม้กฤษณาก็ไม่โต สารเร่งการหลั่งไม้กฤษณาไม่หลั่งสาร ไม่สามารถนำมากลั่นน้ำมันได้และต้นไม้ยังเน่า ผุ ตาย เป็นจำนวนมาก ทั้งที่ผู้บริโภคได้ปฏิบัติตามขั้นตอนการแนะนำ และสมาชิกไม่ได้รับเงินปันผลตามที่แจ้งไว้ โดยบริษัทยังได้มีการแบ่งขายหุ้นให้แก่ผู้สนใจจะร่วมลงทุนทำธุรกิจ ทั้งที่บริษัทดังกล่าวยังไม่ได้จดทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
นายนิโรธ กล่าวอีกว่า สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้ว พบว่า เป็นการประกอบธุรกิจในลักษณะของการระดมทุนคล้ายแชร์ลูกโซ่ ซึ่งมีการจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนให้สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยที่สถาบันการเงินตามกฎหมายกำหนด และจะรับเมื่อผู้บริโภคร่วมลงทุน แต่ก็ไม่ได้ผลประโยชน์ตอบแทนตามที่แจ้งไว้ ซึ่งเข้าข่ายเป็นความผิดตามมาตรา 4 และมาตรา 5 แห่งพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ.2527
“จึงขอเตือนประชาชนผู้บริโภคอย่าหลงเชื่อ สำหรับกรณีที่มีผู้ร้องเรียนกับ สคบ.ได้ดำเนินการส่งเรื่องให้กลุ่มงานป้องปรามนอกระบบ สำนักงานปลัดกระทรวงการคลังพิจารณาดำเนินการต่อไปแล้ว และหากผู้บริโภคต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สอบถามได้ที่กองคุ้มครองผู้บริโภคด้านฉลาก 0-2151-3450-6” เลขาธิการ สคบ.กล่าว