ASTVผู้จัดการรายวัน - ตำรวจเตรียมเสนอให้ปืนอัดลมเลเซอร์ รวมทั้งบีบีกัน เป็นสินค้าต้องควบคุมสลาก และควบคุมการจำหน่าย หลังรมต.องอาจระบุ ทำอันตรายถึงตาบอดได้ ขณะที่เลขาธิการ สคบ.พร้อมร่วมมือตำรวจสุ่มตรวจเก็บตัวอย่างปืนอัดลม เฝ้าระวังและดำเนินคดีต่อผู้กระทำความผิดอย่างเข้มงวด
วานนี้ (20 ม.ค.) ที่กองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (บก.ปคบ.) เมื่อเวลา 10.30 น. นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย พล.ต.ต.พูลทรัพย์ ประเสริฐศักดิ์ ผบก.ปคบ. นพ.นิโรธ เจริญประกอบ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ดร.ศรัณย์ สัมฤทธิ์เดชขจร ผอ.ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ผอ.ศูนย์วิจัย เพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก แถลงข่าว “ความไม่ปลอดภัยหรืออันตรายจากปืนอัดลมเลเซอร์” และการทดสอบอันตรายจากการเล่นปืนอัดลม
นายองอาจกล่าวว่า สำหรับปัญหาเรื่องปืนอัดลมเลเซอร์นั้น สืบเนื่องจากทาง สคบ.ได้รับการร้องเรียนว่ามีเด็กในพื้นที่ จ.ลำพูน ได้รับอันตรายจากการเล่นปืนอัดลมชนิดดังกล่าว ซึ่งมีลำกล้องแสงเลเซอร์สีแดง จึงมีการนำเรื่องนี้มาพิจารณาร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยเก็บตัวอย่างปืนอัดลมจากแหล่งจำหน่ายหลายแห่งมาทดสอบความเร็วและความแรงของกระสุนเพื่อพิสูจน์ถึงความไม่ปลอดภัย และจากข้อมูลทางสถิติพบว่ามีเด็กที่ได้รับบาดเจ็บจากปืนอัดลมสูงถึง 4,792 รายต่อปี ส่วนสาเหตุเกิดจากลำแสงเลเซอร์และความแรงของกระสุนที่ทำอันตรายต่อผิวหนัง ดวงตา ซึ่งหากถูกนัยน์ตาอาจทำให้ตาบอดได้ สคบ.จึงกำหนดแนวทางบูรณาการการทำงานร่วมกับทุกหน่วยงาน เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าว
นพ.อดิศักดิ์กล่าวว่า ในเรื่องความรุนแรงของวิถีกระสุนจากปืนอัดลมชนิดนี้เมื่อมีการยิงทดสอบแล้วก็ปรากฏว่ามีความเร็วเกินกว่ามาตรฐานที่กำหนด ซึ่งนอกจากปืนอัดลมแบบนี้ยังมีปืนบีบีกันที่หาซื้อได้ตามท้องตลาดก็พบว่ามีความเร็วของกระสุนปืนเกิน 100-300 เมตรต่อวินาที ซึ่งเป็นอันตรายต่อเด็กอย่างมาก
ด้าน พล.ต.ต.พูลทรัพย์กล่าวว่า ได้เตรียมเสนอให้อาวุธปืนอัดลมประเภทนี้เป็นสินค้าที่ต้องควบคุมสลาก เพื่อควบคุมการจำหน่าย ซึ่งเมื่อมีการกำหนดเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว ทางตำรวจ บก.ปคบ.ก็จะออกตรวจสอบและบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดต่อไป
ส่วน นพ.นิโรธกล่าวว่า ทาง สคบ.ได้ส่งตัวอย่างปืนอัดลมเลเซอร์ให้กรมการปกครองได้พิจารณา และพบว่าถูกจัดให้เป็นสิ่งเทียมอาวุธปืน ตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน จึงมีการสั่งห้ามนำเข้า หรือซื้อขาย เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน ซึ่งหลังจากนี้ก็จะร่วมกับทางตำรวจ บก.ปคบ.สุ่มตรวจและเก็บตัวอย่างปืนอัดลม เพื่อเฝ้าระวังและพิจารณาดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดอย่างเข้มงวด นอกจากนี้ จากการตรวจสอบการโฆษณาชวนเชื่อตามเว็บไซต์ทางอินเทอร์เน็ตพบว่าปืนแบบบีบีกันบางประเภทนั้นยังเข้าข่ายกระทำความผิดตามบทบัญญัติที่เกี่ยวกับการโฆษณาสินค้าอีกด้วย
วานนี้ (20 ม.ค.) ที่กองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (บก.ปคบ.) เมื่อเวลา 10.30 น. นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย พล.ต.ต.พูลทรัพย์ ประเสริฐศักดิ์ ผบก.ปคบ. นพ.นิโรธ เจริญประกอบ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ดร.ศรัณย์ สัมฤทธิ์เดชขจร ผอ.ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ผอ.ศูนย์วิจัย เพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก แถลงข่าว “ความไม่ปลอดภัยหรืออันตรายจากปืนอัดลมเลเซอร์” และการทดสอบอันตรายจากการเล่นปืนอัดลม
นายองอาจกล่าวว่า สำหรับปัญหาเรื่องปืนอัดลมเลเซอร์นั้น สืบเนื่องจากทาง สคบ.ได้รับการร้องเรียนว่ามีเด็กในพื้นที่ จ.ลำพูน ได้รับอันตรายจากการเล่นปืนอัดลมชนิดดังกล่าว ซึ่งมีลำกล้องแสงเลเซอร์สีแดง จึงมีการนำเรื่องนี้มาพิจารณาร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยเก็บตัวอย่างปืนอัดลมจากแหล่งจำหน่ายหลายแห่งมาทดสอบความเร็วและความแรงของกระสุนเพื่อพิสูจน์ถึงความไม่ปลอดภัย และจากข้อมูลทางสถิติพบว่ามีเด็กที่ได้รับบาดเจ็บจากปืนอัดลมสูงถึง 4,792 รายต่อปี ส่วนสาเหตุเกิดจากลำแสงเลเซอร์และความแรงของกระสุนที่ทำอันตรายต่อผิวหนัง ดวงตา ซึ่งหากถูกนัยน์ตาอาจทำให้ตาบอดได้ สคบ.จึงกำหนดแนวทางบูรณาการการทำงานร่วมกับทุกหน่วยงาน เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าว
นพ.อดิศักดิ์กล่าวว่า ในเรื่องความรุนแรงของวิถีกระสุนจากปืนอัดลมชนิดนี้เมื่อมีการยิงทดสอบแล้วก็ปรากฏว่ามีความเร็วเกินกว่ามาตรฐานที่กำหนด ซึ่งนอกจากปืนอัดลมแบบนี้ยังมีปืนบีบีกันที่หาซื้อได้ตามท้องตลาดก็พบว่ามีความเร็วของกระสุนปืนเกิน 100-300 เมตรต่อวินาที ซึ่งเป็นอันตรายต่อเด็กอย่างมาก
ด้าน พล.ต.ต.พูลทรัพย์กล่าวว่า ได้เตรียมเสนอให้อาวุธปืนอัดลมประเภทนี้เป็นสินค้าที่ต้องควบคุมสลาก เพื่อควบคุมการจำหน่าย ซึ่งเมื่อมีการกำหนดเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว ทางตำรวจ บก.ปคบ.ก็จะออกตรวจสอบและบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดต่อไป
ส่วน นพ.นิโรธกล่าวว่า ทาง สคบ.ได้ส่งตัวอย่างปืนอัดลมเลเซอร์ให้กรมการปกครองได้พิจารณา และพบว่าถูกจัดให้เป็นสิ่งเทียมอาวุธปืน ตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน จึงมีการสั่งห้ามนำเข้า หรือซื้อขาย เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน ซึ่งหลังจากนี้ก็จะร่วมกับทางตำรวจ บก.ปคบ.สุ่มตรวจและเก็บตัวอย่างปืนอัดลม เพื่อเฝ้าระวังและพิจารณาดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดอย่างเข้มงวด นอกจากนี้ จากการตรวจสอบการโฆษณาชวนเชื่อตามเว็บไซต์ทางอินเทอร์เน็ตพบว่าปืนแบบบีบีกันบางประเภทนั้นยังเข้าข่ายกระทำความผิดตามบทบัญญัติที่เกี่ยวกับการโฆษณาสินค้าอีกด้วย