ยะลา - นักเรียนทุนโครงการส่งเสริม การศึกษานักเรียนกลุ่มพิเศษจังหวัดชายแดนใต้ แห่เปิดบัญชีกับผู้แทนธนาคารออมสิน ขณะที่ผู้ปกครองบางคนเมินทุนการศึกษา นำลูกเข้าเรียนโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม
ที่ห้องประชุมโรงเรียนรามันห์ศิริวิทย์ อ.รามัน จ.ยะลา ผู้ปกครองนักเรียนจากตำบลต่างๆ ในพื้นที่อำเภอรามัน นำนักเรียนมาเปิดบัญชีธนาคารออมสิน ประเภทออมทรัพย์ หลังจากได้รับการคัดเลือกเป็นผู้ได้รับทุนการศึกษา ตามโครงการส่งเสริมการศึกษานักเรียนกลุ่มพิเศษจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประจำปี 2552 จากศูนย์ประสานงานและบริหารการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 32 คน โดยมี นายสุวิทย์ ศรีสวัสดิ์ ผู้จัดการธนาคารออมสิน สาขายะลา มาให้บริการด้วยตนเอง
สำหรับโครงการดังกล่าว เป็นของกระทรวงศึกษาฯ ที่จัดขึ้นเพื่อสร้างโอกาสในการเรียนต่อ ให้นักเรียนที่กำลังเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เข้าเรียนต่อในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ในระดับที่สูงขึ้น โดยจัดสรรทุนการศึกษาแก่นักเรียนที่ศึกษาต่อระดับมัธยมศึกษา จำนวน 1,182 ทุนๆ ละ 25,000 บาทต่อปี
สำหรับจังหวัดยะลา ใน 3 เขตพื้นที่การศึกษา รวมทั้งสิ้น 208 ทุน แบ่งเป็นพื้นที่ อ.กรงปินัง จำนวน 14 ทุน อ.เมืองยะลา 46 ทุน อ.รามัน 56 ทุน อ.กาบัง 8 ทุน อ.บันนังสตา 23 ทุน อ.ยะหา 26 ทุน อ.ธารโต 17 ทุนและ อ.เบตง 18 ทุน โดยกำหนดคุณสมบัติของผู้จะขอทุนไว้คือ ต้องกำลังเรียนในชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ทุกสังกัดในโรงเรียนในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีบิดามารดาอยู่ในพื้นที่ไม่น้อยกว่า 3 ปี เป็นผู้ที่ผลการเรียนดี เกรดเฉลี่ย 3.00 ขึ้นไป
ผู้รับทุนต้องเข้าศึกษาในสถานศึกษา ที่กำหนดตามภูมิลำเนาในอำเภอ ทุนการศึกษาจะจ่ายเป็นปีๆ แก่ผู้ที่รับทุนศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษาเท่านั้น โดยจ่ายเงินผ่านบัญชีธนาคาร ซึ่งครูและผู้รับทุนเป็นผู้เบิกจ่ายเป็นค่าใช้จ่าย เป็นค่าอาหาร และค่าพาหนะเท่านั้น ในการนี้ได้จัดสรรโควตาให้กับตำบลต่างๆ ตำบลละ 3-5 คน ตามความเหมาะสม
นายดอรอแม แซมูโซ อยู่บ้านเลขที่ 10/1 ม.6 บ้านกำปงบือแน หมู่ที่ 6 ต.จะกว๊ะ อ.รามัน กล่าวว่า ตนรู้สึกดีใจที่รัฐบาลได้จัดสรรทุนสนับสนุนให้กับผู้ที่ด้อยโอกาสทางการศึกษา อันเนื่องมาจากความไม่พร้อมทางการเงิน โดยเฉพาะตนเองนั้นมีลูก 3 คน โดยคนพี่เรียนอยู่ชั้นปี 2 ของวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่ง ทำให้ได้รับความเดือดร้อนในเรื่องของการส่งเสียลูกเรียน เมื่อรัฐบาลได้จัดสรรทุนดังกล่าว ทำให้ตนมองถึงเส้นทางอนาคตทางการศึกษาของลูกทันที คิดว่าจะดูแลการศึกษาของลูกอย่างเต็มที่เพื่อให้คุ้มกับที่ทางรัฐบาลให้การช่วยเหลือ
ในขณะเดียวกัน ยังมีผู้ปกครองบางคนบางพื้นที่ไม่ยอมรับการรับทุน โดยอ้างถึงปัจจัยในเงื่อนไขที่ต้องส่งลูกเรียนในโรงเรียนรัฐที่กำหนด ทำให้เขาไม่สามารถส่งลูกเข้าเรียนในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามได้ และบางส่วนนั้นมีบ้านอยู่ไกลกับโรงเรียนที่กำหนด ทำให้มีปัญหาในการเดินทางไปโรงเรียนของนักเรียน
สำหรับอำเภอรามัน ได้รับโควตาทุนทั้งสิ้น 56 ทุนใน 16 ตำบล แต่มีผู้สมัครขอรับทุนและมารายงานตัวยืนยันขอรับทุนเพียง 34 ทุน โดยบางตำบลไม่มีผู้สมัครขอรับทุนเลยแม้แต่คนเดียว
ที่ห้องประชุมโรงเรียนรามันห์ศิริวิทย์ อ.รามัน จ.ยะลา ผู้ปกครองนักเรียนจากตำบลต่างๆ ในพื้นที่อำเภอรามัน นำนักเรียนมาเปิดบัญชีธนาคารออมสิน ประเภทออมทรัพย์ หลังจากได้รับการคัดเลือกเป็นผู้ได้รับทุนการศึกษา ตามโครงการส่งเสริมการศึกษานักเรียนกลุ่มพิเศษจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประจำปี 2552 จากศูนย์ประสานงานและบริหารการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 32 คน โดยมี นายสุวิทย์ ศรีสวัสดิ์ ผู้จัดการธนาคารออมสิน สาขายะลา มาให้บริการด้วยตนเอง
สำหรับโครงการดังกล่าว เป็นของกระทรวงศึกษาฯ ที่จัดขึ้นเพื่อสร้างโอกาสในการเรียนต่อ ให้นักเรียนที่กำลังเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เข้าเรียนต่อในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ในระดับที่สูงขึ้น โดยจัดสรรทุนการศึกษาแก่นักเรียนที่ศึกษาต่อระดับมัธยมศึกษา จำนวน 1,182 ทุนๆ ละ 25,000 บาทต่อปี
สำหรับจังหวัดยะลา ใน 3 เขตพื้นที่การศึกษา รวมทั้งสิ้น 208 ทุน แบ่งเป็นพื้นที่ อ.กรงปินัง จำนวน 14 ทุน อ.เมืองยะลา 46 ทุน อ.รามัน 56 ทุน อ.กาบัง 8 ทุน อ.บันนังสตา 23 ทุน อ.ยะหา 26 ทุน อ.ธารโต 17 ทุนและ อ.เบตง 18 ทุน โดยกำหนดคุณสมบัติของผู้จะขอทุนไว้คือ ต้องกำลังเรียนในชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ทุกสังกัดในโรงเรียนในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีบิดามารดาอยู่ในพื้นที่ไม่น้อยกว่า 3 ปี เป็นผู้ที่ผลการเรียนดี เกรดเฉลี่ย 3.00 ขึ้นไป
ผู้รับทุนต้องเข้าศึกษาในสถานศึกษา ที่กำหนดตามภูมิลำเนาในอำเภอ ทุนการศึกษาจะจ่ายเป็นปีๆ แก่ผู้ที่รับทุนศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษาเท่านั้น โดยจ่ายเงินผ่านบัญชีธนาคาร ซึ่งครูและผู้รับทุนเป็นผู้เบิกจ่ายเป็นค่าใช้จ่าย เป็นค่าอาหาร และค่าพาหนะเท่านั้น ในการนี้ได้จัดสรรโควตาให้กับตำบลต่างๆ ตำบลละ 3-5 คน ตามความเหมาะสม
นายดอรอแม แซมูโซ อยู่บ้านเลขที่ 10/1 ม.6 บ้านกำปงบือแน หมู่ที่ 6 ต.จะกว๊ะ อ.รามัน กล่าวว่า ตนรู้สึกดีใจที่รัฐบาลได้จัดสรรทุนสนับสนุนให้กับผู้ที่ด้อยโอกาสทางการศึกษา อันเนื่องมาจากความไม่พร้อมทางการเงิน โดยเฉพาะตนเองนั้นมีลูก 3 คน โดยคนพี่เรียนอยู่ชั้นปี 2 ของวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่ง ทำให้ได้รับความเดือดร้อนในเรื่องของการส่งเสียลูกเรียน เมื่อรัฐบาลได้จัดสรรทุนดังกล่าว ทำให้ตนมองถึงเส้นทางอนาคตทางการศึกษาของลูกทันที คิดว่าจะดูแลการศึกษาของลูกอย่างเต็มที่เพื่อให้คุ้มกับที่ทางรัฐบาลให้การช่วยเหลือ
ในขณะเดียวกัน ยังมีผู้ปกครองบางคนบางพื้นที่ไม่ยอมรับการรับทุน โดยอ้างถึงปัจจัยในเงื่อนไขที่ต้องส่งลูกเรียนในโรงเรียนรัฐที่กำหนด ทำให้เขาไม่สามารถส่งลูกเข้าเรียนในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามได้ และบางส่วนนั้นมีบ้านอยู่ไกลกับโรงเรียนที่กำหนด ทำให้มีปัญหาในการเดินทางไปโรงเรียนของนักเรียน
สำหรับอำเภอรามัน ได้รับโควตาทุนทั้งสิ้น 56 ทุนใน 16 ตำบล แต่มีผู้สมัครขอรับทุนและมารายงานตัวยืนยันขอรับทุนเพียง 34 ทุน โดยบางตำบลไม่มีผู้สมัครขอรับทุนเลยแม้แต่คนเดียว