พัทลุง – สัมปทานรังนกนางแอ่น จ.พัทลุง วุ่นต่อ ผู้ร่วมประมูลร้อง มท.1 เผยสัญญาใหม่ รวบอำนาจให้ประธาน กก.เบ็ดเสร็จ เดิมต้องเป็นของคณะกรรมการ ชี้ประกอบการรังนก กำไรเละยาวตลอด 5 ปี มีเพียงปีแรกขาดทุน เพราะนกอยู่ระหว่างการขยายพันธุ์
รายงานข่าวเปิดเผยว่า นายพิพัฒน์ อมรวัตพงศ์ ตัวแทน บริษัท เบสท์เนสท์ จำกัด บริษัทผู้ประมูลรังนกอีแอ่นในภาคใต้ ได้ยื่นหนังหนังสือร้องเรียนเรื่อง สัมปทานรังนกนางแอ่น เกาะสี่ เกาะห้า ต.เกาะหมาก อ.ปากพะยูน จ.พัทลุง ถึง ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เพื่อขอให้พิจารณาการออกกฎระเบียบและเงื่อนไขการประมูลอากรรังนกอีแอ่น
ทั้งนี้ เนื่องจากการเปิดประมูลกระทำโดยการเร่งรัดและรวดเร็ว รู้กันเฉพาะผู้สัมปทานรายเดิม หรือบุคคลกลุ่มใกล้ชิดภายในจังหวัด และการวางหลักประกันซองในการเข้าประมูล ทำสัญญาสัมปทาน ล้วนขั้นตอนข้อกำหนด เป็นช่องทางเอื้อประโยชน์ให้กลุ่มบุคคล และอาจจะเป็นช่องทางแก้สัญญาสัมปทานในภายหลัง
ในหนังสือยังระบุด้วยว่า การกระทำดังกล่าวมิใช่การเปิดเสรีในการแข่งขันกันประมูลกัน และยังแตกต่างไม่เป็นไปตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยพัสดุ พ.ศ.2535, 2549 ขัดต่อ พ.ร.บ.ว่าด้วยสัญญาอันไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540 และ พ.ร.ก.ลักษณะของสัญญา พ.ศ.2542
แหล่งข่าวระดับสูงจากผู้ประกอบการรังนกอีแอ่น เปิดเผยว่า ข้อกำหนดสัญญารังนกนางแอ่นจังหวัดพัทลุงฉบับยกร่างใหม่ ได้ระบุว่าผู้ที่ได้รับสัมปทานต้องจัดจ้างแรงงานมีภูมิลำเนาในเขตพื้นที่จังหวัดพัทลุงไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของแรงงานทั้งหมด จัดสร้างท่าเทียบเรือ เรือเร็ว ยินยอมให้เกาะจำนวน 6 เกาะ เป็นแหล่งท่องเที่ยวบริการนักท่องเที่ยว อีกทั้งให้เป็นสถานที่การศึกษาค้นคว้าวิจัย โดยผู้รับสัมปทานยังคงสิทธิในการจัดเก็บรังนก และหากสัญญาสิ้นสุดลง ผู้รับสัมปทานจะต้องออกจากพื้นที่ทันที
ที่สำคัญ ยกร่างสัญญาใหม่ที่เขียนข้อกำหนดเพิ่มเติมขึ้น ซึ่งดังที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน คือ ข้อที่ 7.5 ที่มอบอำนาจให้ประธานคณะกรรมการพิจารณาจัดเก็บรังนกอีแอ่นจังหวัดพัทลุง ทรงไว้ซึ่งสิทธิที่จะอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ผู้ที่ชนะการประมูลผู้ใดเก็บรังนกนางแอ่นก็ได้ หรือจะยกเลิกการประมูลเงินอากรรังนกอีแอ่นโดยไม่พิจารณาประมูลเลยก็ได้ และให้ถือเป็นเด็ดขาด ผู้เสนอประมูลจะเรียกร้องค่าเสียหายใดๆ ไม่ได้
รวมทั้งประธานจะพิจารณายกเลิกการประมูล และลงโทษผู้เสนอประมูลเสมือนเป็นผู้ทิ้งงาน หากมีเหตุเชื่อว่าการเสนอวงเงินประมูล กระทำไปโดยไม่สุจริต หรือสมยอมกัน
“ข้อกำหนดในยกร่างสัญญารังนกนางแอ่นฉบับนี้ มอบอำนาจเบ็ดเสร็จให้ประธานคณะกรรมการแต่เพียงผู้เดียว ความจริงอำนาจนี้จะต้องผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการพิจารณาจัดเก็บรังนกนางแอ่นจังหวัดพัทลุง การยกร่างสัญญาใหม่ในที่ประชุมคณะกรรมการจัดเก็บรังนกนางแอ่นมีอัยการจังหวัดเพียงผู้เดียวที่ได้เสนอความเห็นคัดค้านในบางประเด็นมาแล้ว”
ผู้ประกอบการรังนกนางแอ่น เปิดเผยว่า การประกอบการรังนกนางแอ่นในปีแรก จะประสบกับภาวะขาดทุน และปีที่ 2 จะเสมอตัว ส่วนในปีถัดมา ปีที่ 3 4 5 จะมีกำไร และปีที่ 6 และ 7 จะมีกำไรมาก เพราะนกนางแอ่นจะทำการขยายพันธุ์ลูกนกอย่างต่อเนื่องเพิ่มขึ้นตั้งแต่ปีที่ 3 ซึ่งแต่ละตัวจะขยายพันธุ์นกได้หลายตัว และแต่ละตัวจะทำรังปีละ 3 ครั้ง
“รังนกนางแอ่นมีหลายเกรด โดยเกรดชั้นดี ราคาประมาณ 80,000-100,000 บาท ลูกค้ารายใหญ่ของไทย คือ ประเทศญี่ปุ่น จีน ไต้หวัน สิงคโปร์ ซึ่งตลาดเหล่านี้จะเป็นศูนย์กลางจำหน่ายไปต่างประเทศอีกทอดหนึ่ง”
รายงานข่าวเปิดเผยว่า นายพิพัฒน์ อมรวัตพงศ์ ตัวแทน บริษัท เบสท์เนสท์ จำกัด บริษัทผู้ประมูลรังนกอีแอ่นในภาคใต้ ได้ยื่นหนังหนังสือร้องเรียนเรื่อง สัมปทานรังนกนางแอ่น เกาะสี่ เกาะห้า ต.เกาะหมาก อ.ปากพะยูน จ.พัทลุง ถึง ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เพื่อขอให้พิจารณาการออกกฎระเบียบและเงื่อนไขการประมูลอากรรังนกอีแอ่น
ทั้งนี้ เนื่องจากการเปิดประมูลกระทำโดยการเร่งรัดและรวดเร็ว รู้กันเฉพาะผู้สัมปทานรายเดิม หรือบุคคลกลุ่มใกล้ชิดภายในจังหวัด และการวางหลักประกันซองในการเข้าประมูล ทำสัญญาสัมปทาน ล้วนขั้นตอนข้อกำหนด เป็นช่องทางเอื้อประโยชน์ให้กลุ่มบุคคล และอาจจะเป็นช่องทางแก้สัญญาสัมปทานในภายหลัง
ในหนังสือยังระบุด้วยว่า การกระทำดังกล่าวมิใช่การเปิดเสรีในการแข่งขันกันประมูลกัน และยังแตกต่างไม่เป็นไปตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยพัสดุ พ.ศ.2535, 2549 ขัดต่อ พ.ร.บ.ว่าด้วยสัญญาอันไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540 และ พ.ร.ก.ลักษณะของสัญญา พ.ศ.2542
แหล่งข่าวระดับสูงจากผู้ประกอบการรังนกอีแอ่น เปิดเผยว่า ข้อกำหนดสัญญารังนกนางแอ่นจังหวัดพัทลุงฉบับยกร่างใหม่ ได้ระบุว่าผู้ที่ได้รับสัมปทานต้องจัดจ้างแรงงานมีภูมิลำเนาในเขตพื้นที่จังหวัดพัทลุงไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของแรงงานทั้งหมด จัดสร้างท่าเทียบเรือ เรือเร็ว ยินยอมให้เกาะจำนวน 6 เกาะ เป็นแหล่งท่องเที่ยวบริการนักท่องเที่ยว อีกทั้งให้เป็นสถานที่การศึกษาค้นคว้าวิจัย โดยผู้รับสัมปทานยังคงสิทธิในการจัดเก็บรังนก และหากสัญญาสิ้นสุดลง ผู้รับสัมปทานจะต้องออกจากพื้นที่ทันที
ที่สำคัญ ยกร่างสัญญาใหม่ที่เขียนข้อกำหนดเพิ่มเติมขึ้น ซึ่งดังที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน คือ ข้อที่ 7.5 ที่มอบอำนาจให้ประธานคณะกรรมการพิจารณาจัดเก็บรังนกอีแอ่นจังหวัดพัทลุง ทรงไว้ซึ่งสิทธิที่จะอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ผู้ที่ชนะการประมูลผู้ใดเก็บรังนกนางแอ่นก็ได้ หรือจะยกเลิกการประมูลเงินอากรรังนกอีแอ่นโดยไม่พิจารณาประมูลเลยก็ได้ และให้ถือเป็นเด็ดขาด ผู้เสนอประมูลจะเรียกร้องค่าเสียหายใดๆ ไม่ได้
รวมทั้งประธานจะพิจารณายกเลิกการประมูล และลงโทษผู้เสนอประมูลเสมือนเป็นผู้ทิ้งงาน หากมีเหตุเชื่อว่าการเสนอวงเงินประมูล กระทำไปโดยไม่สุจริต หรือสมยอมกัน
“ข้อกำหนดในยกร่างสัญญารังนกนางแอ่นฉบับนี้ มอบอำนาจเบ็ดเสร็จให้ประธานคณะกรรมการแต่เพียงผู้เดียว ความจริงอำนาจนี้จะต้องผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการพิจารณาจัดเก็บรังนกนางแอ่นจังหวัดพัทลุง การยกร่างสัญญาใหม่ในที่ประชุมคณะกรรมการจัดเก็บรังนกนางแอ่นมีอัยการจังหวัดเพียงผู้เดียวที่ได้เสนอความเห็นคัดค้านในบางประเด็นมาแล้ว”
ผู้ประกอบการรังนกนางแอ่น เปิดเผยว่า การประกอบการรังนกนางแอ่นในปีแรก จะประสบกับภาวะขาดทุน และปีที่ 2 จะเสมอตัว ส่วนในปีถัดมา ปีที่ 3 4 5 จะมีกำไร และปีที่ 6 และ 7 จะมีกำไรมาก เพราะนกนางแอ่นจะทำการขยายพันธุ์ลูกนกอย่างต่อเนื่องเพิ่มขึ้นตั้งแต่ปีที่ 3 ซึ่งแต่ละตัวจะขยายพันธุ์นกได้หลายตัว และแต่ละตัวจะทำรังปีละ 3 ครั้ง
“รังนกนางแอ่นมีหลายเกรด โดยเกรดชั้นดี ราคาประมาณ 80,000-100,000 บาท ลูกค้ารายใหญ่ของไทย คือ ประเทศญี่ปุ่น จีน ไต้หวัน สิงคโปร์ ซึ่งตลาดเหล่านี้จะเป็นศูนย์กลางจำหน่ายไปต่างประเทศอีกทอดหนึ่ง”