ศูนย์ข่าวภูเก็ต - นักดาราศาสตร์จาก 25 ประเทศร่วมประชุมวิชาการดาราศาสตร์นานาชาติที่ภูเก็ต
ที่โรงแรมเมอร์ลินบีชรีสอร์ท อ.กะทู้ จ.ภูเก็ต ดร.สุจินดา โชติพานิช ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนยี เป็นประธานเปิดการประชุมวิชาการดาราศาสตร์นานาชาติ เรื่อง The 8th Pacific Rim Conference on Stellar (Astrophysics PRCSA 2008) ซึ่งทางสถาบันดาราศาสตร์แห่งชาติ (ดร.) จัดขึ้น โดยมีนักดาราศาสตร์จาก 25 ประเทศทั่วโลก จำนวนประมาณ 100 คน เข้าร่วม
ดร.สุจินดา กล่าวว่า การจัดประชุมวิชาการครั้งนี้ เพื่อเป็นการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพงานวิจัยและบุคคลากรวิจัยทางด้านดาราศาสตร์ในระดับนานาชาติ รวมทั้งยังเป็นการนำเสนอผลงานทางด้านดาราศาสตร์ของนักดาราศาสตร์ในประเทศไทย และประชาสัมพันธ์ให้นักดาราศาสตร์ทั่วโลกรู้จักสถาบันดาราศาสตร์แห่งชาติ ตลอดจนส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และบุคลากรทางด้านวิชาการ การสร้างเครือข่ายวิชาการทางด้านดาราศาสตร์ และเป็นการบูรณาการ การประชาสัมพันธ์สถานที่ท่องเที่ยวที่สวยงามอันดับหนึ่งของประเทศ
สถาบันดาราศาสตร์แห่งชาติ (ดร.) เป็นองค์กรที่มุ่งมั่น การวิจัย การสร้างเครือข่ายความร่วมมือแลการพัฒนาองค์ความรู้ทางดาราศาตร์และเทคโนโลยีในสังคมไทย พันธกิจหลักของสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ คือ สร้างผลงานวิจัยทางด้านดาราศาสตร์ ที่เป็นองค์ความรู้ใหม่และมีคุณภาพระดับสากล เผยแพร่ในระดับประเทศและนานาชาติ เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน และการพัฒนาองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ สร้างเครือข่ายความร่วมมือทางด้านดาราศาสตร์กับมหาวิทยาลัย สถาบันการศึกษาและองค์กรที่เกี่ยวข้องทั้งในรับประเทศและนานาชาติในการวิจัย การผลิตบัณฑิต การบริการวิชาการแก่สังคม และการสร้างมาตราฐานทางวิชาการด้านดาราศาสตร์และวิทยาศาสตร์ของประเทศ
“การประชุมครั้งนี้เป็นการประชุมของนักวิชาการด้านดาราศาสตร์ ด้านชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก จำนวน 25 ประเทศ เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับดวงดาว ซึ่งเป็นครั้งที่ 2 ที่ประเทศเป็นเจ้าภาพ หลังจากที่เคยจัดมาแล้วครั้งแรกที่ จ.เชียงใหม่ โดยคาดว่าจะทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันระหว่างภูมิภาค อันจะทำให้มีความรู้ด้านดาราศาสตร์มีการพัฒนาให้เท่าเทียมกับนานาประเทศ”
ดร.สุจินดา กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันแล้ว ยังจะเป็นการเผยแพร่สถาบันดาราศาสตร์แห่งชาติให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น เพราะเรากำลังจะมีการติดตั้งกล้องดูดาวมาตรฐานขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.4 เมตร ที่บริเวณดอยอินทนนท์ จ.เชียงใหม่ ซึ่งก็จะได้มีการประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่รู้จักกันมากขึ้น
ทางด้าน รศ.บุญรักษา สุนทรธรรม ผู้อำนวยการ ดร.กล่าวว่า การนำเสนอผลงานวิจัยในครั้งนี้เป็นผลงานเกี่ยวกับเรื่องการศึกษาคุณสมบัติของวัตถุท้องฟ้าต่างๆ โดยเฉพาะในเรื่องของดาวฤกษ์ กระจุกดาว แกแลคซี่ ซึ่งมีการทำวิจัยทั้งในภาคทฤษฎีและภาคการสังเกตการณ์ โดยผู้มาร่วมประชุมในครั้งนี้เป็นนักดาราศาสตร์ชั้นแนวหน้าของโลกที่ได้ทำงานวิจัยมาเป็นระยะเวลาอันยาวนาน และได้นำเสนอผลงานวิจัยซึ่งจะทำให้นักดาราศาสตร์จากทั่วโลกซึ่งมีประสบการณ์ได้รู้จักประเทศไทยมากขึ้น เป็นเรื่องที่ดีในการส่งเสริมความร่วมมือด้านดาราศาสตร์นานาชาติในอนาคต รวมถึงการพัฒนาบุคลากรด้านดาราศาสตร์ของไทยด้วย อันจะทำให้เราก้าวสู่เวทีสากลได้ต่อไป
ในการประชุมครั้งนี้นอกจากจะมีนัดดาราศาสตร์แล้วยังมีนักศึกษาของไทยร่วมด้วย ซึ่งก็จะทำให้ได้รับแนวความคิดใหม่ๆ ในการนำไปสู่การจัดทำงานวิจัยของนักดาราศาสตร์และนักศึกษาของไทยด้วยในอนาคต และจากการที่เราได้มีการตั้ง สถาบันดาราศาสตร์แห่งชาติขึ้นก็จะทำให้เกิดความร่วมในด้านการวิจัย ซึ่งในอนาคตนักดาราศาสตร์จากต่างประเทศก็อาจจะเดินทางเข้ามาทำวิจัยในประเทศ มีการแลกเปลี่ยนทั้งนักวิชาการและนักศึกษา ซึ่งถือเป็นการพัฒนาด้านดาราศาสตร์แบบก้าวกระโดดเป็นอย่างมาก
ที่โรงแรมเมอร์ลินบีชรีสอร์ท อ.กะทู้ จ.ภูเก็ต ดร.สุจินดา โชติพานิช ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนยี เป็นประธานเปิดการประชุมวิชาการดาราศาสตร์นานาชาติ เรื่อง The 8th Pacific Rim Conference on Stellar (Astrophysics PRCSA 2008) ซึ่งทางสถาบันดาราศาสตร์แห่งชาติ (ดร.) จัดขึ้น โดยมีนักดาราศาสตร์จาก 25 ประเทศทั่วโลก จำนวนประมาณ 100 คน เข้าร่วม
ดร.สุจินดา กล่าวว่า การจัดประชุมวิชาการครั้งนี้ เพื่อเป็นการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพงานวิจัยและบุคคลากรวิจัยทางด้านดาราศาสตร์ในระดับนานาชาติ รวมทั้งยังเป็นการนำเสนอผลงานทางด้านดาราศาสตร์ของนักดาราศาสตร์ในประเทศไทย และประชาสัมพันธ์ให้นักดาราศาสตร์ทั่วโลกรู้จักสถาบันดาราศาสตร์แห่งชาติ ตลอดจนส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และบุคลากรทางด้านวิชาการ การสร้างเครือข่ายวิชาการทางด้านดาราศาสตร์ และเป็นการบูรณาการ การประชาสัมพันธ์สถานที่ท่องเที่ยวที่สวยงามอันดับหนึ่งของประเทศ
สถาบันดาราศาสตร์แห่งชาติ (ดร.) เป็นองค์กรที่มุ่งมั่น การวิจัย การสร้างเครือข่ายความร่วมมือแลการพัฒนาองค์ความรู้ทางดาราศาตร์และเทคโนโลยีในสังคมไทย พันธกิจหลักของสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ คือ สร้างผลงานวิจัยทางด้านดาราศาสตร์ ที่เป็นองค์ความรู้ใหม่และมีคุณภาพระดับสากล เผยแพร่ในระดับประเทศและนานาชาติ เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน และการพัฒนาองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ สร้างเครือข่ายความร่วมมือทางด้านดาราศาสตร์กับมหาวิทยาลัย สถาบันการศึกษาและองค์กรที่เกี่ยวข้องทั้งในรับประเทศและนานาชาติในการวิจัย การผลิตบัณฑิต การบริการวิชาการแก่สังคม และการสร้างมาตราฐานทางวิชาการด้านดาราศาสตร์และวิทยาศาสตร์ของประเทศ
“การประชุมครั้งนี้เป็นการประชุมของนักวิชาการด้านดาราศาสตร์ ด้านชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก จำนวน 25 ประเทศ เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับดวงดาว ซึ่งเป็นครั้งที่ 2 ที่ประเทศเป็นเจ้าภาพ หลังจากที่เคยจัดมาแล้วครั้งแรกที่ จ.เชียงใหม่ โดยคาดว่าจะทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันระหว่างภูมิภาค อันจะทำให้มีความรู้ด้านดาราศาสตร์มีการพัฒนาให้เท่าเทียมกับนานาประเทศ”
ดร.สุจินดา กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันแล้ว ยังจะเป็นการเผยแพร่สถาบันดาราศาสตร์แห่งชาติให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น เพราะเรากำลังจะมีการติดตั้งกล้องดูดาวมาตรฐานขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.4 เมตร ที่บริเวณดอยอินทนนท์ จ.เชียงใหม่ ซึ่งก็จะได้มีการประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่รู้จักกันมากขึ้น
ทางด้าน รศ.บุญรักษา สุนทรธรรม ผู้อำนวยการ ดร.กล่าวว่า การนำเสนอผลงานวิจัยในครั้งนี้เป็นผลงานเกี่ยวกับเรื่องการศึกษาคุณสมบัติของวัตถุท้องฟ้าต่างๆ โดยเฉพาะในเรื่องของดาวฤกษ์ กระจุกดาว แกแลคซี่ ซึ่งมีการทำวิจัยทั้งในภาคทฤษฎีและภาคการสังเกตการณ์ โดยผู้มาร่วมประชุมในครั้งนี้เป็นนักดาราศาสตร์ชั้นแนวหน้าของโลกที่ได้ทำงานวิจัยมาเป็นระยะเวลาอันยาวนาน และได้นำเสนอผลงานวิจัยซึ่งจะทำให้นักดาราศาสตร์จากทั่วโลกซึ่งมีประสบการณ์ได้รู้จักประเทศไทยมากขึ้น เป็นเรื่องที่ดีในการส่งเสริมความร่วมมือด้านดาราศาสตร์นานาชาติในอนาคต รวมถึงการพัฒนาบุคลากรด้านดาราศาสตร์ของไทยด้วย อันจะทำให้เราก้าวสู่เวทีสากลได้ต่อไป
ในการประชุมครั้งนี้นอกจากจะมีนัดดาราศาสตร์แล้วยังมีนักศึกษาของไทยร่วมด้วย ซึ่งก็จะทำให้ได้รับแนวความคิดใหม่ๆ ในการนำไปสู่การจัดทำงานวิจัยของนักดาราศาสตร์และนักศึกษาของไทยด้วยในอนาคต และจากการที่เราได้มีการตั้ง สถาบันดาราศาสตร์แห่งชาติขึ้นก็จะทำให้เกิดความร่วมในด้านการวิจัย ซึ่งในอนาคตนักดาราศาสตร์จากต่างประเทศก็อาจจะเดินทางเข้ามาทำวิจัยในประเทศ มีการแลกเปลี่ยนทั้งนักวิชาการและนักศึกษา ซึ่งถือเป็นการพัฒนาด้านดาราศาสตร์แบบก้าวกระโดดเป็นอย่างมาก