ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - เครือข่ายหลักประกันสุขภาพภาคประชาชน จังหวัดสงขลา เดินหน้าถอดถอน ‘ไชยา’ รมว.สาธารณสุข เชื่อไม่จริงใจเดินหน้า CL คาดสงขลาจังหวัดเดียวเกินพันรายชื่อ
เมื่อวันที่ 29 มีนาคมที่ผ่านมา เครือข่ายหลักประกันสุขภาพภาคประชน จังหวัดสงขลา ร่วมประชุมกัน ในหัวข้อ รู้จัก CL ยา...สร้างการเข้าถึงยาเพื่อการพัฒนาระบบหลักประกัน เอกสารแจกที่น่าสนใจในที่ประชุม ได้แก่ สิทธิ (ชีวิต) เหนือสิทธิบัตรยา, คำอภิปรายนอกสภา เรื่อง การใช้สิทธิตามสิทธิบัตรยา โดยนายแพทย์ วิชัย โชควิวัฒน์
โดยช่วงเช้ามีการอบรมเพื่อทำความรู้จักการทำ CL ยา กับการพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพโดยทีมวิทยากรจากมูลนิธิเข้าถึงเอดส์และเครือข่ายผู้ติดเชื้อ HIV และช่วงบ่ายเป็นการเสวนา เรื่อง “CL ยาได้ไม่คุ้มเสีย!....จริงหรือ?” มีวิทยากรร่วมให้ความรู้ประกอบด้วยคุณกรรณิการ์ กิจติเวชกุล องค์กรหมอไร้พรมแดน-เบลเยียม (ประเทศไทย) นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ ชมรมแพทย์ชนบท คุณโสภณ ตัวแทนเครือข่ายผู้ป่วยมะเร็ง ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ดำเนินรายการโดย อาจารย์บรรจง ทองสร้าง
โดยมีการนำบางส่วนของหนังเรื่อง Dying For drug ซึ่งแสดงให้เห็นถึงผลกระทบต่อผู้ติดเชื้อในฮอนดูรัสที่ไม่สามารถเข้าถึงยาและทำให้เสียชีวิต เป็นที่สะเทือนใจแก่ผู้ร่วมประชุม
ที่ประชุมได้รับทราบข้อมูลปัญหาการเข้าถึงยาต้องคำนึงถึงหลักสิทธิมนุษยชนมากกว่าการทำสิทธิบัตรเพื่อการค้า ซึ่งเป็นเครื่องมือของประเทศมหาอำนาจมากกว่าโดยมีบทเรียนของประเทศอินเดียที่ไม่ได้ทำสนธิสัญญาทางการค้าในปี 2535และสามารถพัฒนาการสังเคราะห์ยาต้นแบบได้ ซึ่งประเทศไทยตัดสินใจลงนามเพราะเกรงปัญหาเรื่องการตัด GSP และทำให้เกิดผลกระทบการเข้าไม่ถึงยาในปัจจุบัน
การเสวนาได้นำเสนอถึงต้นทุนที่แท้จริงของยานั้นไม่ใช่ค่าสิทธิบัตรจากการทำวิจัย แต่มาจากการทำการตลาดและขบวนการลอบบี้ของบริษัทยาข้ามชาติถึงกว่า 40 เปอร์เซนต์ และเมื่อมีการทำ CL จะสามารถทำให้ราคายาลดลงอย่างน้อย 10 เท่าตัว โดยการลดค่าใช้จ่ายยาเบื้องต้นมีมากถึง 800 ล้านซึ่งสามารถนำไปเพิ่มสิทธิการล้างไตทางหน้าท้องของผู้ป่วยโรคไตได้มากขึ้น
ต่อประเด็นต้นทุนการวิจัยที่เป็นการอ้างถึงค่าใช้จ่ายมหาศาลของบริษัทยา วิทยากรได้นำเสนอแนวคิดในการตั้งกองทุนเพื่อการสนับสนุนการวิจัยยาใหม่เป็นรางวัลยกย่องอย่างคุ้มค่าเพียงครั้งเดียว และให้ทรัพย์สินทางปัญญานั้นตกเป็นของสาธารณะซึ่งมีแนวโน้มที่เป็นไปได้ในการปรับแก้เพื่อลดระยะเวลาของการประกาศใช้สิทธิบัตรยาจาก 20 ปีที่เป็นระยะเวลาที่นานและทำให้เกิดความชะงักงันของการวิจัยยาในประเทศที่กำลังพัฒนา และน่าจะเป็นแนวคิดต่อสินค้าที่ต้องคำนึงถึงมนุษยธรรม และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
นายโสภณ ได้นำเสนอข้อมูลการต่อสู้ของผู้ติดเชื้อที่ต่อสู้อย่างโดดเดี่ยว จนขณะนี้สามารถรวมเป็นเครือข่ายและสร้างพลังต่อรองได้ อย่างไรก็ตาม เครือข่ายผู้ป่วยเรื้อรังอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วยมะเร็ง ผู้ป่วยโรคหัวใจ ที่ต้องใช้ยาอย่างต่อเนื่อง ต้องศึกษาบทเรียนของเครือข่ายผู้ติดเชื้อ และร่วมเป็นเครือข่ายหลักประกันสุขภาพภาคประชาชน ในการเคลื่อนไหวเพื่อสร้างการเข้าถึงยาอย่างยั่งยืน มากกว่าการทำ CL เป็นครั้งๆ อย่างเช่นปัจจุบันโดยฝากความหวังอะไรไม่ได้กับนักการเมืองที่ไม่เข้าใจปัญหาสาธารณสุขของประเทศอย่างแท้จริง
ช่วงท้ายของการเสวนาเครือข่ายหลักประกันสุขภาพ ประกอบด้วย เครือข่ายผู้สูงอายุ เครือข่ายผู้พิการ เครือข่ายเกษตรกร เครือข่ายผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเรื้อรัง เครือข่ายผู้บริโภค เครือข่ายสิ่งแวดล้อม ได้ร่วมกันแสดงความคิดเห็นต่อความขาดจิตสำนึกของ รมต.ไชยา ในการทบทวนการทำCLยาเพราะห่วงการส่งออก ทั้งที่ไม่มีข้อมูล และเป็นการพูดก่อนที่จะมีการแถลงนโยบายของรัฐบาล ทั้งยังไม่ใช่หน้าที่ของ รมว.สาธารณสุข
นอกจากนี้ ผู้ร่วมประชุมได้ร่วมกันวิพากษ์ถึงการทำงานของรัฐบาลชุดนี้ ที่น่าเคลือบแคลงใจว่าจะสร้างความเดือดร้อนให้ประชาชนคนไทยในอนาคตหรือไม่ และหลังจากการศึกษาเหตุผล 4 ข้อในการถอดถอนนายไชยา สะสมทรัพย์ ร่วมกันยืนยันที่จะเดินหน้าถอดถอนบุคคล ตามมาตรา 270 แห่งรัฐธรรมนูญปี 2550
ทั้งนี้จะมีการทำความเข้าใจข้อมูลการทำ CL และแนวทางการเมืองภาคประชาชนแก่สมาชิกเครือข่ายในวงกว้าง โดยจะรวบรวมรายชื่อสมาชิกเครือข่ายในจังหวัดสงขลา คาดว่าไม่ต่ำกว่า พันรายชื่อส่งต่อให้ นางสาวสารี อ๋องสมหวัง มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เพื่อดำเนินการรวบรวมรายชื่อประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวน 20,000 รายชื่อ ในการถอดถอนนายไชยา สะสมทรัพย์ รมว.สาธารณสุข ต่อนายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภา ดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป
เมื่อวันที่ 29 มีนาคมที่ผ่านมา เครือข่ายหลักประกันสุขภาพภาคประชน จังหวัดสงขลา ร่วมประชุมกัน ในหัวข้อ รู้จัก CL ยา...สร้างการเข้าถึงยาเพื่อการพัฒนาระบบหลักประกัน เอกสารแจกที่น่าสนใจในที่ประชุม ได้แก่ สิทธิ (ชีวิต) เหนือสิทธิบัตรยา, คำอภิปรายนอกสภา เรื่อง การใช้สิทธิตามสิทธิบัตรยา โดยนายแพทย์ วิชัย โชควิวัฒน์
โดยช่วงเช้ามีการอบรมเพื่อทำความรู้จักการทำ CL ยา กับการพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพโดยทีมวิทยากรจากมูลนิธิเข้าถึงเอดส์และเครือข่ายผู้ติดเชื้อ HIV และช่วงบ่ายเป็นการเสวนา เรื่อง “CL ยาได้ไม่คุ้มเสีย!....จริงหรือ?” มีวิทยากรร่วมให้ความรู้ประกอบด้วยคุณกรรณิการ์ กิจติเวชกุล องค์กรหมอไร้พรมแดน-เบลเยียม (ประเทศไทย) นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ ชมรมแพทย์ชนบท คุณโสภณ ตัวแทนเครือข่ายผู้ป่วยมะเร็ง ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ดำเนินรายการโดย อาจารย์บรรจง ทองสร้าง
โดยมีการนำบางส่วนของหนังเรื่อง Dying For drug ซึ่งแสดงให้เห็นถึงผลกระทบต่อผู้ติดเชื้อในฮอนดูรัสที่ไม่สามารถเข้าถึงยาและทำให้เสียชีวิต เป็นที่สะเทือนใจแก่ผู้ร่วมประชุม
ที่ประชุมได้รับทราบข้อมูลปัญหาการเข้าถึงยาต้องคำนึงถึงหลักสิทธิมนุษยชนมากกว่าการทำสิทธิบัตรเพื่อการค้า ซึ่งเป็นเครื่องมือของประเทศมหาอำนาจมากกว่าโดยมีบทเรียนของประเทศอินเดียที่ไม่ได้ทำสนธิสัญญาทางการค้าในปี 2535และสามารถพัฒนาการสังเคราะห์ยาต้นแบบได้ ซึ่งประเทศไทยตัดสินใจลงนามเพราะเกรงปัญหาเรื่องการตัด GSP และทำให้เกิดผลกระทบการเข้าไม่ถึงยาในปัจจุบัน
การเสวนาได้นำเสนอถึงต้นทุนที่แท้จริงของยานั้นไม่ใช่ค่าสิทธิบัตรจากการทำวิจัย แต่มาจากการทำการตลาดและขบวนการลอบบี้ของบริษัทยาข้ามชาติถึงกว่า 40 เปอร์เซนต์ และเมื่อมีการทำ CL จะสามารถทำให้ราคายาลดลงอย่างน้อย 10 เท่าตัว โดยการลดค่าใช้จ่ายยาเบื้องต้นมีมากถึง 800 ล้านซึ่งสามารถนำไปเพิ่มสิทธิการล้างไตทางหน้าท้องของผู้ป่วยโรคไตได้มากขึ้น
ต่อประเด็นต้นทุนการวิจัยที่เป็นการอ้างถึงค่าใช้จ่ายมหาศาลของบริษัทยา วิทยากรได้นำเสนอแนวคิดในการตั้งกองทุนเพื่อการสนับสนุนการวิจัยยาใหม่เป็นรางวัลยกย่องอย่างคุ้มค่าเพียงครั้งเดียว และให้ทรัพย์สินทางปัญญานั้นตกเป็นของสาธารณะซึ่งมีแนวโน้มที่เป็นไปได้ในการปรับแก้เพื่อลดระยะเวลาของการประกาศใช้สิทธิบัตรยาจาก 20 ปีที่เป็นระยะเวลาที่นานและทำให้เกิดความชะงักงันของการวิจัยยาในประเทศที่กำลังพัฒนา และน่าจะเป็นแนวคิดต่อสินค้าที่ต้องคำนึงถึงมนุษยธรรม และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
นายโสภณ ได้นำเสนอข้อมูลการต่อสู้ของผู้ติดเชื้อที่ต่อสู้อย่างโดดเดี่ยว จนขณะนี้สามารถรวมเป็นเครือข่ายและสร้างพลังต่อรองได้ อย่างไรก็ตาม เครือข่ายผู้ป่วยเรื้อรังอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วยมะเร็ง ผู้ป่วยโรคหัวใจ ที่ต้องใช้ยาอย่างต่อเนื่อง ต้องศึกษาบทเรียนของเครือข่ายผู้ติดเชื้อ และร่วมเป็นเครือข่ายหลักประกันสุขภาพภาคประชาชน ในการเคลื่อนไหวเพื่อสร้างการเข้าถึงยาอย่างยั่งยืน มากกว่าการทำ CL เป็นครั้งๆ อย่างเช่นปัจจุบันโดยฝากความหวังอะไรไม่ได้กับนักการเมืองที่ไม่เข้าใจปัญหาสาธารณสุขของประเทศอย่างแท้จริง
ช่วงท้ายของการเสวนาเครือข่ายหลักประกันสุขภาพ ประกอบด้วย เครือข่ายผู้สูงอายุ เครือข่ายผู้พิการ เครือข่ายเกษตรกร เครือข่ายผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเรื้อรัง เครือข่ายผู้บริโภค เครือข่ายสิ่งแวดล้อม ได้ร่วมกันแสดงความคิดเห็นต่อความขาดจิตสำนึกของ รมต.ไชยา ในการทบทวนการทำCLยาเพราะห่วงการส่งออก ทั้งที่ไม่มีข้อมูล และเป็นการพูดก่อนที่จะมีการแถลงนโยบายของรัฐบาล ทั้งยังไม่ใช่หน้าที่ของ รมว.สาธารณสุข
นอกจากนี้ ผู้ร่วมประชุมได้ร่วมกันวิพากษ์ถึงการทำงานของรัฐบาลชุดนี้ ที่น่าเคลือบแคลงใจว่าจะสร้างความเดือดร้อนให้ประชาชนคนไทยในอนาคตหรือไม่ และหลังจากการศึกษาเหตุผล 4 ข้อในการถอดถอนนายไชยา สะสมทรัพย์ ร่วมกันยืนยันที่จะเดินหน้าถอดถอนบุคคล ตามมาตรา 270 แห่งรัฐธรรมนูญปี 2550
ทั้งนี้จะมีการทำความเข้าใจข้อมูลการทำ CL และแนวทางการเมืองภาคประชาชนแก่สมาชิกเครือข่ายในวงกว้าง โดยจะรวบรวมรายชื่อสมาชิกเครือข่ายในจังหวัดสงขลา คาดว่าไม่ต่ำกว่า พันรายชื่อส่งต่อให้ นางสาวสารี อ๋องสมหวัง มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เพื่อดำเนินการรวบรวมรายชื่อประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวน 20,000 รายชื่อ ในการถอดถอนนายไชยา สะสมทรัพย์ รมว.สาธารณสุข ต่อนายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภา ดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป