ประชุม คกก.ร่วมฯ เข้าถึงยา เลื่อนไม่มีกำหนดอีกแล้ว เหตุ รมต.พาณิชย์-ตปท.วุ่นถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจ ส่วนตัวแทนไม่ว่างอ้างติดภารกิจขณะที่ตัวแทนคณะกรรมการร่วมฯ ฝ่ายผู้ป่วย เสนอที่ประชุมคคก.ร่วมฯ ปลดตัวแทนพรีมา ออกเป็นอันดับแรก ด้าน “ไชยา” ยิ้มสนใจ หาก “พรีมา” เสนอโครงการเข้าถึงยาโดยแจกยาฟรี แต่ค้านต้องแบกภาระเพิ่มซื้อประกันเอง
วันที่ 23 มิถุนายน ที่กระทรวงสาธารณสุข นายไชยา สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า การประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อพัฒนาการเข้าถึงยาระบบยาที่มีคุณภาพอย่างยั่งยืนจำเป็นต้องเลื่อนออกไปอย่างไม่มีกำหนด เนื่องจากรัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงการต่างประเทศ ถูกยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจ ส่วนตัวแทนทั้ง 2 กระทรวงก็ติดภารกิจ และส่วนตัวได้มอบหมายให้ นพ.ไพจิตร์ วราชิต รองปลัด สธ.ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการฯให้เข้าร่วมประชุมกับคณะกรรมการจากภาคส่วนต่างๆ แต่ถ้า นายมิ่งขวัญ และ นายนพดล จะเดินทางมาด้วยตนเองก็จะเข้าร่วมประชุมด้วย และจะนำข้อเสนอของที่ประชุมมาหารือกันระหว่าง 3 รมต.กันอีกครั้ง
นายไชยา กล่าวถึงกรณีที่ พญ.กิติมา ยุทธวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสมาคมผู้วิจัยและผลิตเภสัชภัณฑ์ (พรีม่า) ในฐานะกรรมการร่วมเพื่อพัฒนาการเข้าถึงยาระบบยาที่มีคุณภาพอย่างยั่งยืน เตรียมที่จะเสนอให้บริษัทยาที่เป็นสมาชิกทำโครงการยาฟรีให้กับผู้ป่วย เพื่อเป็นทางออกหนึ่งในการแก้ไขปัญหาการเข้าถึงยา แทนที่จะต้องประกาศบังคับใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตร (ซีแอล) ว่า ถือเป็นเรื่องที่ดีมาก แสดงให้เห็นถึงประโยชน์ของการทำซีแอล เพราะช่วยให้ไทยใช้ต่อรองกับบริษัทยาต้นตำรับทั้งหลาย เหมือนกับว่าเป็นการลดราคายาให้กับเรา และผู้ป่วยไทยก็สามารถเข้าถึงยาและสามารถได้รับยาฟรีโดยที่ไม่ต้องซื้อ
นายไชยา กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม ไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอของพรีม่าในการให้ประชาชนซื้อประกันสุขภาพเพิ่มเติมจากระบบประกันสุขภาพของแต่ละคนที่มีอยู่ โดยต้องคิดให้รอบครอบถึงผลดีผลเสียทุกอง่มุม เนื่องจากหากเพิ่มเงิน 1 บาท สำหรับผู้มีสิทธิบัตรทอง 47 ล้านคน รวมเป็นเงิน 47 ล้านบาท หรือจะเพิ่มเงิน10 บาท 100 บาทก็ไม่ช่วยอะไร
“เขาจะมาเสนอทางออกอย่างนี้ให้กับเราได้อย่างไร ให้เราซื้อประกันสุขภาพเพิ่มเติมก็เท่ากับเป็นภาระ ซึ่งจำเป็นต้องคิดหลายมุม ขณะนี้ประชาชนกลัวไม่เข้าถึงยา แต่ในที่สุดก็มียาสามัญในราคาที่เหมาะสมให้ใช้กันแล้ว และขั้นตอนทุกอย่างเป็นไปอย่างโปร่งใส”นายไชยา กล่าว
ขณะที่ นายบริพัตร ดอนชาญ ประธานเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวีเอดส์แห่งประเทศไทย หนึ่งในคณะกรรมการร่วมฯ กล่าว่า หากมีการประชุมเมื่อใด ภารกิจแรกคือ เสนอให้ประธานคณะกรรมการร่วมฯ พิจารณาปลดกรรมการ ที่มาจากตัวแทนพรีมาทั้ง 2 คนออกจากคณะกรรมการร่วมฯ ทันที และให้แต่งตั้งนักวิชาการ หรือผู้เชี่ยวชาญด้านยาของภาครัฐ เช่น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) องค์การเภสัชกรรม(อภ.) หรือมหาวิทยาลัยต่างๆ เข้ามาแทนสัดส่วนของพรีมา
“ตลอดเวลาที่ผ่านมานายกพรีมา ได้แสดงจุดยืนอย่างชัดเจนว่า ไม่เห็นด้วยกับการแก้ปัญหาการเข้าถึงยาของประชาชนด้วยการลดราคายาให้ถูกลงทุกวิธี ซึ่งรวมถึงการทำซีแอลด้วย และที่สำคัญ พรีม่ายังพยายามให้ข้อมูลไม่ถูกต้องตลอดด้วยการตอกย้ำว่ายาทุกชนิดควรมีราคาแพง เพราะใช้เงินลงทุนวิจัยพัฒนายาจำนวนมหาศาล หรือการทำซีแอลของไทยเป็นการขโมยทรัพย์สินทางปัญญา ดังนั้น หากพรีม่าเข้าร่วมเป็นกรรมการอีกจะยิ่งเป็นอุปสรรคต่อการแก้ปัญหาการเข้าถึงยาของไทยอย่างแน่นอน ต้องอย่าลืมว่าพรีมาเป็นหน่วยงานที่ได้รับการว่าจ้างจากบริษัทยาข้ามชาติให้มาจัดกิจกรรมต่างๆ ในประเทศไทยด้วย” นายบริพัตร กล่าว
นายบริพัตร กล่าวด้วยว่า สำหรับแนวทางการแก้ปัญหาการเข้าถึงยาที่เครือข่ายผู้ป่วยสนับสนุนคือ รัฐบาล และ สธ.ควรศึกษาเพื่อหามาตรการที่จะทำให้ยาราคาถูกลงทุกวิธี นอกเหนือจาการทำซีแอล เพราะซีแอลไม่สามารถใช้ได้กับยาทุกชนิด ยังมียาอีกจำนวนมากที่ผู้ป่วยต้องจ่างเงินในราคาสูงอยู่ โดยเป้าหมายหลักที่เครือข่ายผู้ป่วยต้องการให้ภาครัฐแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วนมี 4 โรค คือ ผู้ป่วยจิตเวช โรคหัวใจ ไต และมะเร็ง แม้บางโรคจะมีการทำซีแอลไปแล้วก็ตาม แต่ก็ยังไม่ครอบคลุมผู้ป่วยได้ทั้งหมด เช่น ยารักษามะเร็ง ยารักษาโรคหัวใจ มีอยู่หลายชนิดแต่มีการทำซีแอลแก้ปัญหาราคาแพงไปเพียง 2-3 รายการเท่านั้น
“คงไม่สามารถบอกได้ว่าจะต้องลดราคายาลงมาเหลือเท่าใด เพราะส่วนนี้เป็นหน้าที่ของภาครัฐที่ต้องหาคำตอบ โดยต้องคำนวณจากฐานะทางเศรษฐกิจของผู้ป่วยที่ส่วนใหญ่เป็นคนจนว่ามีกำลังพอจ่ายในราคาเท่าใด โดยเฉพาะโรคที่ต้องกินยาทุกวัน วันละหลายเม็ด ซึ่งข้อมูลเหล่านี้มีหน่วยงานที่เชี่ยวชาญเรื่องยาศึกษาไว้หมดแล้ว” นายบริพัตร กล่าว
ส่วนความคืบหน้ากรณีมีข้อพิพากษาระหว่าง นพ.วิชัย โชควิวัฒน อดีตประธานคณะกรรมการบริหารองค์การเภสัชกรรม (อภ.) พร้อมกรรมการบอร์ด 5 คน และนายไชยา สะสมทรัพย์ นั้น นพ.วิชัย เปิดเผยว่า ศาลได้สั่งให้ทางตัวแทน นายไชยา นำเอกสาร คือ มติคณะรัฐมนตรีที่มีคำสั่งปลดบอร์ดอภ.ไปให้ภายในวันที่ 23 มิ.ย.หลังจากนี้ คาดว่า ไม่เกินภายในสัปดาห์นี้ ศาลจะส่งผลการไต่สวนตัดสินคุ้มครองชั่วคราวในกรณีที่นายไชยาเสนอครม.ปลดบอร์ดชุดเก่าและการแต่งตั้งบอร์ดชุดใหม่ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ และนายไชยา หมดสภาพการเป็น รมว.สธ.หรือไม่ โดยจะส่งส่งผลการตัดสินมาทางไปรษณีย์แบบเร่งด่วน (อีเอ็มเอส) ไปให้ผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด
วันที่ 23 มิถุนายน ที่กระทรวงสาธารณสุข นายไชยา สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า การประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อพัฒนาการเข้าถึงยาระบบยาที่มีคุณภาพอย่างยั่งยืนจำเป็นต้องเลื่อนออกไปอย่างไม่มีกำหนด เนื่องจากรัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงการต่างประเทศ ถูกยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจ ส่วนตัวแทนทั้ง 2 กระทรวงก็ติดภารกิจ และส่วนตัวได้มอบหมายให้ นพ.ไพจิตร์ วราชิต รองปลัด สธ.ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการฯให้เข้าร่วมประชุมกับคณะกรรมการจากภาคส่วนต่างๆ แต่ถ้า นายมิ่งขวัญ และ นายนพดล จะเดินทางมาด้วยตนเองก็จะเข้าร่วมประชุมด้วย และจะนำข้อเสนอของที่ประชุมมาหารือกันระหว่าง 3 รมต.กันอีกครั้ง
นายไชยา กล่าวถึงกรณีที่ พญ.กิติมา ยุทธวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสมาคมผู้วิจัยและผลิตเภสัชภัณฑ์ (พรีม่า) ในฐานะกรรมการร่วมเพื่อพัฒนาการเข้าถึงยาระบบยาที่มีคุณภาพอย่างยั่งยืน เตรียมที่จะเสนอให้บริษัทยาที่เป็นสมาชิกทำโครงการยาฟรีให้กับผู้ป่วย เพื่อเป็นทางออกหนึ่งในการแก้ไขปัญหาการเข้าถึงยา แทนที่จะต้องประกาศบังคับใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตร (ซีแอล) ว่า ถือเป็นเรื่องที่ดีมาก แสดงให้เห็นถึงประโยชน์ของการทำซีแอล เพราะช่วยให้ไทยใช้ต่อรองกับบริษัทยาต้นตำรับทั้งหลาย เหมือนกับว่าเป็นการลดราคายาให้กับเรา และผู้ป่วยไทยก็สามารถเข้าถึงยาและสามารถได้รับยาฟรีโดยที่ไม่ต้องซื้อ
นายไชยา กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม ไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอของพรีม่าในการให้ประชาชนซื้อประกันสุขภาพเพิ่มเติมจากระบบประกันสุขภาพของแต่ละคนที่มีอยู่ โดยต้องคิดให้รอบครอบถึงผลดีผลเสียทุกอง่มุม เนื่องจากหากเพิ่มเงิน 1 บาท สำหรับผู้มีสิทธิบัตรทอง 47 ล้านคน รวมเป็นเงิน 47 ล้านบาท หรือจะเพิ่มเงิน10 บาท 100 บาทก็ไม่ช่วยอะไร
“เขาจะมาเสนอทางออกอย่างนี้ให้กับเราได้อย่างไร ให้เราซื้อประกันสุขภาพเพิ่มเติมก็เท่ากับเป็นภาระ ซึ่งจำเป็นต้องคิดหลายมุม ขณะนี้ประชาชนกลัวไม่เข้าถึงยา แต่ในที่สุดก็มียาสามัญในราคาที่เหมาะสมให้ใช้กันแล้ว และขั้นตอนทุกอย่างเป็นไปอย่างโปร่งใส”นายไชยา กล่าว
ขณะที่ นายบริพัตร ดอนชาญ ประธานเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวีเอดส์แห่งประเทศไทย หนึ่งในคณะกรรมการร่วมฯ กล่าว่า หากมีการประชุมเมื่อใด ภารกิจแรกคือ เสนอให้ประธานคณะกรรมการร่วมฯ พิจารณาปลดกรรมการ ที่มาจากตัวแทนพรีมาทั้ง 2 คนออกจากคณะกรรมการร่วมฯ ทันที และให้แต่งตั้งนักวิชาการ หรือผู้เชี่ยวชาญด้านยาของภาครัฐ เช่น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) องค์การเภสัชกรรม(อภ.) หรือมหาวิทยาลัยต่างๆ เข้ามาแทนสัดส่วนของพรีมา
“ตลอดเวลาที่ผ่านมานายกพรีมา ได้แสดงจุดยืนอย่างชัดเจนว่า ไม่เห็นด้วยกับการแก้ปัญหาการเข้าถึงยาของประชาชนด้วยการลดราคายาให้ถูกลงทุกวิธี ซึ่งรวมถึงการทำซีแอลด้วย และที่สำคัญ พรีม่ายังพยายามให้ข้อมูลไม่ถูกต้องตลอดด้วยการตอกย้ำว่ายาทุกชนิดควรมีราคาแพง เพราะใช้เงินลงทุนวิจัยพัฒนายาจำนวนมหาศาล หรือการทำซีแอลของไทยเป็นการขโมยทรัพย์สินทางปัญญา ดังนั้น หากพรีม่าเข้าร่วมเป็นกรรมการอีกจะยิ่งเป็นอุปสรรคต่อการแก้ปัญหาการเข้าถึงยาของไทยอย่างแน่นอน ต้องอย่าลืมว่าพรีมาเป็นหน่วยงานที่ได้รับการว่าจ้างจากบริษัทยาข้ามชาติให้มาจัดกิจกรรมต่างๆ ในประเทศไทยด้วย” นายบริพัตร กล่าว
นายบริพัตร กล่าวด้วยว่า สำหรับแนวทางการแก้ปัญหาการเข้าถึงยาที่เครือข่ายผู้ป่วยสนับสนุนคือ รัฐบาล และ สธ.ควรศึกษาเพื่อหามาตรการที่จะทำให้ยาราคาถูกลงทุกวิธี นอกเหนือจาการทำซีแอล เพราะซีแอลไม่สามารถใช้ได้กับยาทุกชนิด ยังมียาอีกจำนวนมากที่ผู้ป่วยต้องจ่างเงินในราคาสูงอยู่ โดยเป้าหมายหลักที่เครือข่ายผู้ป่วยต้องการให้ภาครัฐแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วนมี 4 โรค คือ ผู้ป่วยจิตเวช โรคหัวใจ ไต และมะเร็ง แม้บางโรคจะมีการทำซีแอลไปแล้วก็ตาม แต่ก็ยังไม่ครอบคลุมผู้ป่วยได้ทั้งหมด เช่น ยารักษามะเร็ง ยารักษาโรคหัวใจ มีอยู่หลายชนิดแต่มีการทำซีแอลแก้ปัญหาราคาแพงไปเพียง 2-3 รายการเท่านั้น
“คงไม่สามารถบอกได้ว่าจะต้องลดราคายาลงมาเหลือเท่าใด เพราะส่วนนี้เป็นหน้าที่ของภาครัฐที่ต้องหาคำตอบ โดยต้องคำนวณจากฐานะทางเศรษฐกิจของผู้ป่วยที่ส่วนใหญ่เป็นคนจนว่ามีกำลังพอจ่ายในราคาเท่าใด โดยเฉพาะโรคที่ต้องกินยาทุกวัน วันละหลายเม็ด ซึ่งข้อมูลเหล่านี้มีหน่วยงานที่เชี่ยวชาญเรื่องยาศึกษาไว้หมดแล้ว” นายบริพัตร กล่าว
ส่วนความคืบหน้ากรณีมีข้อพิพากษาระหว่าง นพ.วิชัย โชควิวัฒน อดีตประธานคณะกรรมการบริหารองค์การเภสัชกรรม (อภ.) พร้อมกรรมการบอร์ด 5 คน และนายไชยา สะสมทรัพย์ นั้น นพ.วิชัย เปิดเผยว่า ศาลได้สั่งให้ทางตัวแทน นายไชยา นำเอกสาร คือ มติคณะรัฐมนตรีที่มีคำสั่งปลดบอร์ดอภ.ไปให้ภายในวันที่ 23 มิ.ย.หลังจากนี้ คาดว่า ไม่เกินภายในสัปดาห์นี้ ศาลจะส่งผลการไต่สวนตัดสินคุ้มครองชั่วคราวในกรณีที่นายไชยาเสนอครม.ปลดบอร์ดชุดเก่าและการแต่งตั้งบอร์ดชุดใหม่ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ และนายไชยา หมดสภาพการเป็น รมว.สธ.หรือไม่ โดยจะส่งส่งผลการตัดสินมาทางไปรษณีย์แบบเร่งด่วน (อีเอ็มเอส) ไปให้ผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด