ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ – ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยการผสมเทียมและเทคโนโลยีชีวภาพสงขลา เผยจังหวัดชายแดนภาคใต้ประสบปัญหาเนื้อวัว เนื้อแพะ ขาดแคลนเนื่องจากสัตว์ไม่ตกลูก เพราะจนท.ไม่กล้าลงพื้นที่ผสมเทียม
นายพีระ อรรถพินิต ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยการผสมเทียมและเทคโนโลยีชีวภาพสงขลา เปิดเผยว่า ตลาดในภาคใต้ตอนล่างมีความต้องการบริโภคเนื้อวัวปีหนึ่งไม่น้อยกว่า 150,000 ตัว แต่สามารถผลิตวัวเนื้อได้เพียง 125,000 ตัว ยังขาดอยู่ประมาณ 30,000 ตัวในส่วนการบริโภคเนื้อแพะปีละ 150,000 ตัว แต่ผลิตได้เพียง 100,000 ตัว ในการแก้ปัญหาระยะสั้น พ่อค้าต้องสั่งซื้อวัวเนื้อและแพะจากภาคกลาง เข้ามาป้อนตลาดแทนเพื่อให้มีเนื้อเพียงพอ จนบางช่วงราคาเนื้อแพะและวัวสูงกว่าปกติ
นายพีระเปิด เผยว่า ทั้งๆ ที่ภาคใต้มีศักยภาพต่อการเลี้ยงแพะและวัวเนื้อสูง ตลาดทั้งในพื้นที่และต่างประเทศยังกว้างทำให้เสียโอกาสไปพอสมควร จึงได้แก้ปัญหาระยะยาวเพื่อให้มีเนื้อวัวและเนื้อแพะบริโภคในภาคใต้ตอนล่างเพียงพอ ศูนย์ฯได้จัดการผสมเทียมในวัวและแพะขึ้น โดยมีเป้าหมายว่าจะผสมเทียมวัวเนื้อให้ได้ปีละ 30,000 ตัว สามารถตกลูกประมาณร้อยละ 55 ของการผสมเทียมทั้งหมด คาดว่าภายใน 5 ปี วัวเนื้อมีปริมาณเพียงพอต่อความต้องการในตลาดชายแดนภาคใต้ตอนล่าง
“แต่เมื่อเกิดปัญหาเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทำให้เป้าหมายการผสมเทียมลดลง เมื่อเจ้าหน้าที่ผสมเทียมไม่กล้าเข้าไปในพื้นที่มีความเสี่ยง ทำให้ผสมเทียมได้เพียงร้อยละ 50 ต่อปี จึงแก้ปัญหาด้วยการนำพ่อพันธุ์ให้คุมฝูงวัวพื้นเมืองแทนเพื่อให้มีการผสมพันธุ์กันเอง” นายพีระ กล่าว
นายพีระ อรรถพินิต ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยการผสมเทียมและเทคโนโลยีชีวภาพสงขลา เปิดเผยว่า ตลาดในภาคใต้ตอนล่างมีความต้องการบริโภคเนื้อวัวปีหนึ่งไม่น้อยกว่า 150,000 ตัว แต่สามารถผลิตวัวเนื้อได้เพียง 125,000 ตัว ยังขาดอยู่ประมาณ 30,000 ตัวในส่วนการบริโภคเนื้อแพะปีละ 150,000 ตัว แต่ผลิตได้เพียง 100,000 ตัว ในการแก้ปัญหาระยะสั้น พ่อค้าต้องสั่งซื้อวัวเนื้อและแพะจากภาคกลาง เข้ามาป้อนตลาดแทนเพื่อให้มีเนื้อเพียงพอ จนบางช่วงราคาเนื้อแพะและวัวสูงกว่าปกติ
นายพีระเปิด เผยว่า ทั้งๆ ที่ภาคใต้มีศักยภาพต่อการเลี้ยงแพะและวัวเนื้อสูง ตลาดทั้งในพื้นที่และต่างประเทศยังกว้างทำให้เสียโอกาสไปพอสมควร จึงได้แก้ปัญหาระยะยาวเพื่อให้มีเนื้อวัวและเนื้อแพะบริโภคในภาคใต้ตอนล่างเพียงพอ ศูนย์ฯได้จัดการผสมเทียมในวัวและแพะขึ้น โดยมีเป้าหมายว่าจะผสมเทียมวัวเนื้อให้ได้ปีละ 30,000 ตัว สามารถตกลูกประมาณร้อยละ 55 ของการผสมเทียมทั้งหมด คาดว่าภายใน 5 ปี วัวเนื้อมีปริมาณเพียงพอต่อความต้องการในตลาดชายแดนภาคใต้ตอนล่าง
“แต่เมื่อเกิดปัญหาเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทำให้เป้าหมายการผสมเทียมลดลง เมื่อเจ้าหน้าที่ผสมเทียมไม่กล้าเข้าไปในพื้นที่มีความเสี่ยง ทำให้ผสมเทียมได้เพียงร้อยละ 50 ต่อปี จึงแก้ปัญหาด้วยการนำพ่อพันธุ์ให้คุมฝูงวัวพื้นเมืองแทนเพื่อให้มีการผสมพันธุ์กันเอง” นายพีระ กล่าว