สระแก้ว - สหกรณ์โคนมวังน้ำเย็นวุ่น สมาชิกลาออกกว่า 70% พร้อมทั้งเรียกร้องให้ชำระหุ้นคืน
วันนี้ (11 มี.ค.) นายอำนวย ทงก๊ก ประธานกรรมการบริหารสหกรณ์โคนมวังน้ำเย็น จำกัด นำคณะกรรมการสหกรณ์ฯ กว่า 30 คนได้เข้าหารือนายสุรพล พงษ์ทัดศิริกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้ว โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้ง ธ.ก.ส.สหกรณ์จังหวัด สำนักงานตรวจบัญชีและสหกรณ์จังหวัดเข้าร่วม จากกรณีที่มีสมาชิก 28 คนร้องเรียนมายังจังหวัดให้สหกรณ์โคนมวังน้ำเย็นจ่ายค่าหุ้นสหกรณ์คืน หลังจากที่ได้ลาออกจากการเป็นสมาชิกสหกรณ์แล้ว แต่ทางสหกรณ์ไม่ยอมชำระค่าหุ้นดังกล่าวให้เนื่องจากเกษตรกรดังกล่าวยังเป็นหนี้ ธ.ก.ส.อยู่
นายสาธิต สอนทองคำ ผู้จัดการสหกรณ์โคนมวังน้ำเย็น กล่าวว่า สหกรณ์ตั้งมาตั้งแต่ปี 2530 ปัจจุบันมีสมาชิกอยู่ 1,400 ครอบครัว เงินทุนเรือนหุ้น 62 ล้านบาท มีทุนหมุนเวียน 250 ล้านบาท ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2550 เป็นต้นมามีสมาชิกทยอยลาออกประมาณเดือนละ 20-40 ราย จนถึงปัจจุบันลาออกไปทั้งสิ้น 117 ราย หรือ ประมาณ 70% ส่วนใหญ่ ให้เหตุผลว่าต้องการนำนมไปส่งให้กับศูนย์รับซื้อน้ำนมดิบที่เปิดใหม่ในพื้นที่
ที่ผ่านมาทางสหกรณ์ฯ ได้จ่ายเงินค่าหุ้นคืนสมาชิกที่ไม่ได้เป็นหนี้ ธ.ก.ส.ไปแล้วตั้งแต่ปี 2548 ถึงปัจจุบัน เป็นเงิน 12,205,014 บาท และรอจ่ายอีก 43 ราย ซึ่งปัญหาเกิดจากสมาชิกส่วนหนึ่งที่ยังเป็นหนี้ ธ.ก.ส. 28 ราย เป็นเงิน 1,452,568 บาท ต้องการถอนค่าหุ้นคืน แต่ทางสหกรณ์ยังไม่สามารถดำเนินการให้ได้ เนื่องจากยังเป็นหนี้อยู่จึงมีการร้องเรียนกันว่าสหกรณ์ละเมิดสิทธิส่วนตัว ทั้งที่ได้ดำเนินไปตามกฎระเบียบที่วางเอาไว้
ด้าน นายสาธิต กล่าวว่า เมื่อสมาชิกลาออกจากกลุ่ม กรรมการกลุ่มต้องพิจารณาแล้วส่งใบลาออกให้สหกรณ์ ก่อนที่จะให้ ธ.ก.ส.ตรวจสอบว่ามีหนี้สินหรือไม่ เพื่อนำเสนอคณะกรรมการสหกรณ์ชุดใหญ่พิจารณาถ้าไม่มีหนี้สินก็สามารถจ่ายเงินค่าหุ้นคืนได้ภายใน 15-30 วัน แต่ถ้ามีหนี้สินก็ต้องชำระหนี้ ธ.ก.ส.ก่อน
นายอำนวย ทงก๊ก ประธานกรรมการบริหารสหกรณ์โคนมวังน้ำเย็น จำกัด กล่าวว่า ที่ผ่านมาตนมีส่วนบุกเบิกกิจการโคนมวังน้ำเย็นมาตลอด รู้สึกไม่สบายใจที่สมาชิกลาออกไปนำนมดิบไปส่งให้บริษัทเอกชนที่เปิดขึ้นในพื้นที่ อาจเนื่องจากให้ราคานมดิบดีกว่าและบริการที่ดี โดยในระยะแรกไม่เสียค่าขนส่ง ต่อมาต้องเสียถังละ 1,200 บาทหรือลิตรละ 1 บาท รวมถึงค่าใช้จ่ายต่างๆ ทั้งค่าผสมเทียม ค่ารักษาโรค ค่าอาหารสัตว์ที่มีราคาแพง
ในขณะที่สหกรณ์ไม่มีค่าใช้จ่าย และบางอย่างก็ขายแก่สมาชิกในราคาถูก ส่วนราคาน้ำนมดิบศูนย์ใหม่ที่ได้รับจริงเมื่อหักค่าใช้จ่ายต่างๆ เกษตรกรจะได้รับไม่เท่าไร ศูนย์ใหม่ที่เกิดขึ้นมาเหมือนกับ “ตกปลาในอ่าง” ไม่ได้มีการลงทุนอะไรแล้วมาสร้างความวุ่นวายกับสมาชิกสหกรณ์อีก แต่ในส่วนของเงินค่าหุ้นที่มีปัญหาสหกรณ์ฯพร้อมจ่ายให้อยู่แล้ว แต่ต้องเป็นไปตามระเบียบของสหกรณ์
นายรัฐพงศ์ สังฆะ ผู้จัดการ ธ.ก.ส.สาขาวังน้ำเย็น เปิดเผยว่า ภารกิจของ ธกส.คือเข้าไปส่งเสริมการรวมกลุ่มต่างๆ ให้เข้มแข็ง กรณีที่เอกชนรายใหม่เปิดรับซื้อนมก็มีสิทธิ์ทำได้แต่ ธกส.จะไม่เข้าไปสนับสนุนเพราะเท่ากับทำลายกลุ่มเกษตรกรกันเอง และเมื่อสมาชิกลาออกธนาคารก็จำเป็นต้องของเงินกู้คืนเพราะสมาชิกได้หมดพันธะสัญญาที่ให้ไว้แล้ว ถ้าไม่ดำเนินการก็มีความจำเป็นต้องเรียกคืนเงินกู้ ผ่านกระบวนการทางกฎหมาย ซึ่งไม่อยากให้ถึงขั้นนั้น
“หากเป็นมันสำปะหลัง อ้อย ข้าว เกิดรายใหม่รับซื้อไม่เป็นไร แต่ตลาดนมไม่เหมือนกิจการอื่น ผลิตวันนี้ต้องขายวันนี้ไม่อย่างนั้นความเสียหายจะเกิดขึ้นกับเกษตรกร จึงต้องมองความมั่นคงของเกษตรกรเป็นหลักและมีสหกรณ์อยู่ข้างหลัง และอยากให้มองว่าศูนย์ใหม่ที่เกิดขึ้นจะสามารถรับซื้อน้ำนมได้ต่อเนื่องไหม แล้วยังทำให้ระบบสหกรณ์เสีย ในขณะที่ระบบหนี้สินถ้าเกษตรกรส่งไม่ได้ก็ต้องขายทรัพย์สินมาชำระหนี้”
นายสุรพล พงษ์ทัดศิริกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้ว เปิดเผยว่า ตามหลักการถ้าสมาชิกจะได้ค่าหุ้นคืน ก็ต้องตรวจสอบก่อนว่ามีหนี้ค้างอยู่หรือไม่ ซึ่งคณะกรรมการจะได้ลงไปชี้แจงให้กับสมาชิกทั้งหมดทราบในวันที่ 12 มีนาคมนี้ ว่าจะชำระอย่างไร เท่าไร จะมีการประณีประนอมกันอย่างไร ถึงจะส่งนมให้ศูนย์ใหม่สามารถจัดการชำระหนี้ได้ไหม ซึ่งสหกรณ์มีระเบียบในการจ่ายค่าหุ้นคืน
ในส่วนของศูนย์ใหม่ที่เกิดขึ้นก็ถือว่าเป็นสิทธิเสรีภาพในการประกอบอาชีพ แต่ทางจังหวัดจะได้ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงไปตรวจสอบว่าจดทะเบียนถูกต้องหรือเปล่า สิ่งที่เป็นห่วงคืออยากให้สมาชิกคิดไตร่ตรองให้ดีก่อนลาออกออกจากสหกรณ์ และตัวสหกรณ์โคนมวังน้ำเย็นเองก็ต้องดูว่าทำไมสมาชิกถึงลาออก อะไรที่ทำไม่ถูกต้องก็ทำให้ถูกต้อง
วันนี้ (11 มี.ค.) นายอำนวย ทงก๊ก ประธานกรรมการบริหารสหกรณ์โคนมวังน้ำเย็น จำกัด นำคณะกรรมการสหกรณ์ฯ กว่า 30 คนได้เข้าหารือนายสุรพล พงษ์ทัดศิริกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้ว โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้ง ธ.ก.ส.สหกรณ์จังหวัด สำนักงานตรวจบัญชีและสหกรณ์จังหวัดเข้าร่วม จากกรณีที่มีสมาชิก 28 คนร้องเรียนมายังจังหวัดให้สหกรณ์โคนมวังน้ำเย็นจ่ายค่าหุ้นสหกรณ์คืน หลังจากที่ได้ลาออกจากการเป็นสมาชิกสหกรณ์แล้ว แต่ทางสหกรณ์ไม่ยอมชำระค่าหุ้นดังกล่าวให้เนื่องจากเกษตรกรดังกล่าวยังเป็นหนี้ ธ.ก.ส.อยู่
นายสาธิต สอนทองคำ ผู้จัดการสหกรณ์โคนมวังน้ำเย็น กล่าวว่า สหกรณ์ตั้งมาตั้งแต่ปี 2530 ปัจจุบันมีสมาชิกอยู่ 1,400 ครอบครัว เงินทุนเรือนหุ้น 62 ล้านบาท มีทุนหมุนเวียน 250 ล้านบาท ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2550 เป็นต้นมามีสมาชิกทยอยลาออกประมาณเดือนละ 20-40 ราย จนถึงปัจจุบันลาออกไปทั้งสิ้น 117 ราย หรือ ประมาณ 70% ส่วนใหญ่ ให้เหตุผลว่าต้องการนำนมไปส่งให้กับศูนย์รับซื้อน้ำนมดิบที่เปิดใหม่ในพื้นที่
ที่ผ่านมาทางสหกรณ์ฯ ได้จ่ายเงินค่าหุ้นคืนสมาชิกที่ไม่ได้เป็นหนี้ ธ.ก.ส.ไปแล้วตั้งแต่ปี 2548 ถึงปัจจุบัน เป็นเงิน 12,205,014 บาท และรอจ่ายอีก 43 ราย ซึ่งปัญหาเกิดจากสมาชิกส่วนหนึ่งที่ยังเป็นหนี้ ธ.ก.ส. 28 ราย เป็นเงิน 1,452,568 บาท ต้องการถอนค่าหุ้นคืน แต่ทางสหกรณ์ยังไม่สามารถดำเนินการให้ได้ เนื่องจากยังเป็นหนี้อยู่จึงมีการร้องเรียนกันว่าสหกรณ์ละเมิดสิทธิส่วนตัว ทั้งที่ได้ดำเนินไปตามกฎระเบียบที่วางเอาไว้
ด้าน นายสาธิต กล่าวว่า เมื่อสมาชิกลาออกจากกลุ่ม กรรมการกลุ่มต้องพิจารณาแล้วส่งใบลาออกให้สหกรณ์ ก่อนที่จะให้ ธ.ก.ส.ตรวจสอบว่ามีหนี้สินหรือไม่ เพื่อนำเสนอคณะกรรมการสหกรณ์ชุดใหญ่พิจารณาถ้าไม่มีหนี้สินก็สามารถจ่ายเงินค่าหุ้นคืนได้ภายใน 15-30 วัน แต่ถ้ามีหนี้สินก็ต้องชำระหนี้ ธ.ก.ส.ก่อน
นายอำนวย ทงก๊ก ประธานกรรมการบริหารสหกรณ์โคนมวังน้ำเย็น จำกัด กล่าวว่า ที่ผ่านมาตนมีส่วนบุกเบิกกิจการโคนมวังน้ำเย็นมาตลอด รู้สึกไม่สบายใจที่สมาชิกลาออกไปนำนมดิบไปส่งให้บริษัทเอกชนที่เปิดขึ้นในพื้นที่ อาจเนื่องจากให้ราคานมดิบดีกว่าและบริการที่ดี โดยในระยะแรกไม่เสียค่าขนส่ง ต่อมาต้องเสียถังละ 1,200 บาทหรือลิตรละ 1 บาท รวมถึงค่าใช้จ่ายต่างๆ ทั้งค่าผสมเทียม ค่ารักษาโรค ค่าอาหารสัตว์ที่มีราคาแพง
ในขณะที่สหกรณ์ไม่มีค่าใช้จ่าย และบางอย่างก็ขายแก่สมาชิกในราคาถูก ส่วนราคาน้ำนมดิบศูนย์ใหม่ที่ได้รับจริงเมื่อหักค่าใช้จ่ายต่างๆ เกษตรกรจะได้รับไม่เท่าไร ศูนย์ใหม่ที่เกิดขึ้นมาเหมือนกับ “ตกปลาในอ่าง” ไม่ได้มีการลงทุนอะไรแล้วมาสร้างความวุ่นวายกับสมาชิกสหกรณ์อีก แต่ในส่วนของเงินค่าหุ้นที่มีปัญหาสหกรณ์ฯพร้อมจ่ายให้อยู่แล้ว แต่ต้องเป็นไปตามระเบียบของสหกรณ์
นายรัฐพงศ์ สังฆะ ผู้จัดการ ธ.ก.ส.สาขาวังน้ำเย็น เปิดเผยว่า ภารกิจของ ธกส.คือเข้าไปส่งเสริมการรวมกลุ่มต่างๆ ให้เข้มแข็ง กรณีที่เอกชนรายใหม่เปิดรับซื้อนมก็มีสิทธิ์ทำได้แต่ ธกส.จะไม่เข้าไปสนับสนุนเพราะเท่ากับทำลายกลุ่มเกษตรกรกันเอง และเมื่อสมาชิกลาออกธนาคารก็จำเป็นต้องของเงินกู้คืนเพราะสมาชิกได้หมดพันธะสัญญาที่ให้ไว้แล้ว ถ้าไม่ดำเนินการก็มีความจำเป็นต้องเรียกคืนเงินกู้ ผ่านกระบวนการทางกฎหมาย ซึ่งไม่อยากให้ถึงขั้นนั้น
“หากเป็นมันสำปะหลัง อ้อย ข้าว เกิดรายใหม่รับซื้อไม่เป็นไร แต่ตลาดนมไม่เหมือนกิจการอื่น ผลิตวันนี้ต้องขายวันนี้ไม่อย่างนั้นความเสียหายจะเกิดขึ้นกับเกษตรกร จึงต้องมองความมั่นคงของเกษตรกรเป็นหลักและมีสหกรณ์อยู่ข้างหลัง และอยากให้มองว่าศูนย์ใหม่ที่เกิดขึ้นจะสามารถรับซื้อน้ำนมได้ต่อเนื่องไหม แล้วยังทำให้ระบบสหกรณ์เสีย ในขณะที่ระบบหนี้สินถ้าเกษตรกรส่งไม่ได้ก็ต้องขายทรัพย์สินมาชำระหนี้”
นายสุรพล พงษ์ทัดศิริกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้ว เปิดเผยว่า ตามหลักการถ้าสมาชิกจะได้ค่าหุ้นคืน ก็ต้องตรวจสอบก่อนว่ามีหนี้ค้างอยู่หรือไม่ ซึ่งคณะกรรมการจะได้ลงไปชี้แจงให้กับสมาชิกทั้งหมดทราบในวันที่ 12 มีนาคมนี้ ว่าจะชำระอย่างไร เท่าไร จะมีการประณีประนอมกันอย่างไร ถึงจะส่งนมให้ศูนย์ใหม่สามารถจัดการชำระหนี้ได้ไหม ซึ่งสหกรณ์มีระเบียบในการจ่ายค่าหุ้นคืน
ในส่วนของศูนย์ใหม่ที่เกิดขึ้นก็ถือว่าเป็นสิทธิเสรีภาพในการประกอบอาชีพ แต่ทางจังหวัดจะได้ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงไปตรวจสอบว่าจดทะเบียนถูกต้องหรือเปล่า สิ่งที่เป็นห่วงคืออยากให้สมาชิกคิดไตร่ตรองให้ดีก่อนลาออกออกจากสหกรณ์ และตัวสหกรณ์โคนมวังน้ำเย็นเองก็ต้องดูว่าทำไมสมาชิกถึงลาออก อะไรที่ทำไม่ถูกต้องก็ทำให้ถูกต้อง