ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ร่วมกับนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลก 40 ประเทศ จัดการประชุมนานาชาติด้านไข้หวัดนกปี 2551 ระหว่างวันที่ 23-25 มกราคม 2551 ที่โรงแรมดุสิตธานี เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ด้านการพัฒนาการป้องกันการแพร่ระบาดเชื้อไข้หวัดนก
ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ ทองเจริญ ประธานมูลนิธิไข้หวัดใหญ่ประเทศไทย กล่าวว่า ขณะนี้ทั่วโลกเฝ้าระวังการกลายพันธ์ของเชื้อไข้หวัดใหญ่จากชนิดธรรมดา ซึ่งมีการระบาดอย่างรุนแรงและทำให้เกิดการบาดเจ็บร้อยละ 30 โดยการประชุมครั้งนี้ได้เน้นการควบคุมสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อและการพัฒนาเทคโนโลยีองค์ความรู้ในการผลิตวัคซีนไข้หวัดนกและการพัฒนายาให้ทันต่อการระบาดของเชื้อดังกล่าวด้วย และที่สำคัญยังร่วมกันหาทิศทางป้องกันปัญหาเรื่องการจัดเตรียมวัคซีนไข้หวัดนกที่ได้พัฒนามาจากเชื้อเอช 5 เอ็น 1 (H5N1) ซึ่งหากเกิดการระบาดจริงก็ยังไม่มีข้อมูลยืนยันชัดเจนว่าจะเป็นเชื้อชนิดดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยจะเสนอเรื่องความก้าวหน้าทางการตรวจวินิจฉัยเป็นประเด็นหลัก โดยได้พัฒนาการตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการ และการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันของมนุษย์ขณะติดเชื้อไวรัส รวมทั้งเรื่องที่ศึกษาการระบาดของเชื้อไข้หวัดนกในไทยโอกาสการกลายพันธุ์ การใช้เทคนิคทางอณูชีววิทยาในการพัฒนาการตรวจวินิจฉัย และการหาความสัมพันธ์เชิงวิวัฒนาการของไวรัสไข้หวัดนกในสัตว์
รศ.นพ.ประสิทธิ์ ผลิตผลการพิมพ์ รองผู้อำนวยการ สวทช. กล่าวว่า ภายหลังการประชุมครั้งนี้จะแนวทางการแพร่ระบาดของเชื้อไข้หวัดนกนำเสนอสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ไปรวมกับแผนยุทธศาสตร์การควบคุมสถานการณ์ไข้หวัดนกในประเทศไทย ซึ่งผ่านคณะรัฐมนตรีแล้ว
ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ ทองเจริญ ประธานมูลนิธิไข้หวัดใหญ่ประเทศไทย กล่าวว่า ขณะนี้ทั่วโลกเฝ้าระวังการกลายพันธ์ของเชื้อไข้หวัดใหญ่จากชนิดธรรมดา ซึ่งมีการระบาดอย่างรุนแรงและทำให้เกิดการบาดเจ็บร้อยละ 30 โดยการประชุมครั้งนี้ได้เน้นการควบคุมสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อและการพัฒนาเทคโนโลยีองค์ความรู้ในการผลิตวัคซีนไข้หวัดนกและการพัฒนายาให้ทันต่อการระบาดของเชื้อดังกล่าวด้วย และที่สำคัญยังร่วมกันหาทิศทางป้องกันปัญหาเรื่องการจัดเตรียมวัคซีนไข้หวัดนกที่ได้พัฒนามาจากเชื้อเอช 5 เอ็น 1 (H5N1) ซึ่งหากเกิดการระบาดจริงก็ยังไม่มีข้อมูลยืนยันชัดเจนว่าจะเป็นเชื้อชนิดดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยจะเสนอเรื่องความก้าวหน้าทางการตรวจวินิจฉัยเป็นประเด็นหลัก โดยได้พัฒนาการตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการ และการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันของมนุษย์ขณะติดเชื้อไวรัส รวมทั้งเรื่องที่ศึกษาการระบาดของเชื้อไข้หวัดนกในไทยโอกาสการกลายพันธุ์ การใช้เทคนิคทางอณูชีววิทยาในการพัฒนาการตรวจวินิจฉัย และการหาความสัมพันธ์เชิงวิวัฒนาการของไวรัสไข้หวัดนกในสัตว์
รศ.นพ.ประสิทธิ์ ผลิตผลการพิมพ์ รองผู้อำนวยการ สวทช. กล่าวว่า ภายหลังการประชุมครั้งนี้จะแนวทางการแพร่ระบาดของเชื้อไข้หวัดนกนำเสนอสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ไปรวมกับแผนยุทธศาสตร์การควบคุมสถานการณ์ไข้หวัดนกในประเทศไทย ซึ่งผ่านคณะรัฐมนตรีแล้ว