ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - ศาลอุทธรณ์ภาค 9 นัดเลื่อนฟังคำพิพากษา กรณีกลุ่มคัดค้านท่อก๊าซ ไทย-มาเลเซีย ยื่นฟ้องให้มีการเอาผิดกับ พล.ต.อ.สันต์ ศรุตานนท์ กับพวก รวม 38 คน ฐานความผิดเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติงาน และละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบฯ กรณีสลายการชุมนุม
วันนี้ (4 มี.ค.) เวลา 09.00 น.ศาลอุทธรณ์ภาค 9 นัด นายสักกริยา หมะหวังเอียด กับพวกรวม 25 คน ฟังคำพิพากษาคดีดำที่ 1818/2546 คดีแดงหมายเลขที่ 1804/2547 ณ บัลลังก์ห้อง 204 ศาลจังหวัดสงขลา คดีที่ นายสักกริยา หมะหวังเอียด กับพวกรวม 25 คน เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง พล.ต.อสันต์ ศรุตานนท์ กับพวกรวม 38 คน ฐานความผิดเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติงานและละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ, มั่วสุมกันตั้งแต่สิบคนขึ้นไปใช้กำลังประทุษร้าย กระทำการให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง โดยมีอาวุธโดยมีผู้กระทำความผิดเป็นหัวหน้าหรือเป็นผู้มีหน้าที่สั่งการในการกระทำความผิดนั้น หรือเป็นผู้ร่วมกระทำการ, ร่วมกันทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กาย
ร่วมกันก่อให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในที่ประชุมศาสนิกชนเวลาประชุมกัน นมัสการ หรือกระทำพิธีกรรมตามศาสนาโดยชอบด้วยกฎหมาย กรณีเจ้าหน้าที่ตำรวจใช้กำลังสลายการชุมนุมของกลุ่มคัดค้านโครงการท่อส่งก๊าซโรงแยกก๊าซธรรมชาติและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2545 คราวรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จัดประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจรที่โรงแรมเจบี อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
โจทก์ที่ 1 ที่ 13 เป็นชาวบ้านซึ่งอาศัยยู่ในท้องที่ตำบลตลิ่งชัน และตำบลสะกอม อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา เป็นผู้จะได้รับความเดือดร้อนเสียหายจากการดำเนินโครงการก่อสร้างท่อส่งและโรงแยกก๊าซธรรมชาติไทย-มาเลเซีย ของบริษัท ทรานส์ไทย-มาเลเซีย (ประเทศไทย) จำกัด และโจทก์ที่ 14 ถึงที่ 25 เป็นเจ้าหน้าที่องค์กรพัฒนาเอกชน เพื่อสาธารณประโยชน์ หลายองค์กร ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการทำงานที่คล้ายคลึงกัน
กล่าวคือ ดำเนินงานเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม งานพัฒนาชุมชน การสร้างชุมชนท้องถิ่นให้เข้มแข็ง และสามารถพึ่งตนเองในการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นของตนได้ โดยมีพื้นที่ทำงานตามโครงการดังกล่าวในเขตจังหวัดชายฝั่งทะเล รวมทั้งอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา
โจกท์ทั้ง 25 คน ยื่นฟ้องและแก้คำฟ้องว่าเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2545 โจทก์ทั้งยี่สิบห้ากับประชาชนซึ่งร่วมกันคัดค้านโครงการท่อส่งก๊าซ และโรงแยกกาซธรรมชาติไทย-มาเลเซีย ที่บริษัททรานส์ไทย-มาเลเซีย (ประเทศไทย) จำกัด ได้รับอนุมัติจากรัฐบาลไทยให้ดำเนินการก่อสร้างตามโครงการโครงการในท้องที่ตำบลตลิ่งชัน และตำบลสะกอม อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา เนื่องจากมีหลักฐานเชื่อได้ว่า ผลการดำเนินการจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม ทรัพยากรท้องถิ่น วิถีชีวิตของประชาชน และสังคมอย่างรุนแรง
อันเป็นการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของธรรมชาติที่เสียหายโดยส่วนรวม เดินทางถึง อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา มาตามถนนเพชรเกษมจะไปที่สวนหย่อมใกล้อาคารจอดรถโรงแรมเจบี (หาดใหญ่) เพื่อหยุดพักรอยื่นหนังสือเสนอข้อเรียกร้องให้ทบทวนการอนุมัติโครงการท่อส่งก๊าซและโรงแยกก๊าซธรรมชาติไทย-มาเลเซีย ต่อนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี เมื่อถึงบริเวณวงเวียนน้ำพุโจทก์ทั้ง 25 และประชาชนไม่อาจเดินทางต่อไปจนถึงสวนหย่อม เนื่องจากพนักงานตำรวจจัดตั้งแถวและตั้งแผงเหล็กกั้นบนคอสะพานจุติบุญสูงอุทิศ โจทก์ทั้ง 25 และประชาชนจึงหยุดพักบนถนนเพื่อรอตัวแทนของรัฐบาลมาเจรจาต่อรอง
โดยจำเลยที่ 3 ผู้บัญชาการเหตุการณ์ขณะนั้นรายงานเท็จและใส่ร้ายโจทก์ทั้งยี่สิบห้าต่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 ผู้บังคับบัญชาระบุว่ากลุ่มผู้ชุมนุมได้ร่วมกันทะลวงแผงเหล็กกั้นเข้ามาประมาณ 30 ถึง 40 เมตร และเริ่มเอากระถางต้นไม้ขว้างเข้าใส่เจ้าพนักงานตำรวจกับใช้รถยนต์บรรทุก 6 ล้อม เตรียมขับทะลวงเข้าไป ทั้งนี้จำเลยที่ 3 มุ่งประสงค์ให้จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 เชื่อและออกคำสั่งให้ใช้กำลังสลายการชุมนุม จำเลยที่ 1 แบะที่ 2 ซึ่งมิได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงให้ชัดแจ้งว่า สภาพสถานการณ์ที่จำเลยที่ 3 รายงานให้ทราบเป็นความจริงหรือไม่ ทั้งที่สามารถกระทำได้ร่วมกันออกคำสั่งให้ใช้กำลังสลายการชุมนุม จำเลยที่ 3 จึงออกค่ำสั่งให้จำเลยที่ 4 ถึงที่ 38 กับพวกอีกจำนวนหลายคนที่ยังไม่ได้ตัวมาฟ้องร่วมกันดำเนินการสลายการชุมนุมด้วยการใช้ไม้กระบองและโล่เป็นอาวุธทุบตีทำร้ายและผลักดันโจทก์ทั้งยี่สิบห้าและประชาชน อันเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและมั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปโดยมีอาวุธและใช้กำลังประทุษร้าย
โดยจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 เป็นหัวหน้ามีหน้าที่สั่งการทำให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมืองและในที่ประชุมกันกระทำพิธีละหมาดของโจทก์ที่ 13 และประชาชนเป็นเหตุให้โจทก์ทั้งยี่สิบห้าและประชาชนต้องเลิกการชุมนุม โจทก์ที่ 8 ถึงที่ 13 ที่ 14 ถึงที่ 17 และที่ 22 ได้รับอันตรายแก่กายและจิตใจประชาชนตื่นตระหนกตกใจทรัพย์สินของประชาชนถูกทำลายเสียหาย และโจทก์ที่ 13 และประชาชนไม่สามารถกระทำพีละหมาดให้สำเร็จลุล่วงไปได้ เหตุเกิดที่ตำบลหาดใหญ่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลาขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 83, 84, 90, 157, 207, 215 และ 295
ศาลมีคำสั่งรับฟ้องโจทก์ทั้งยี่สิบห้าเฉพาะข้อหาฐานความผิดตามประมวลกฎหมายมาตรา 83, 84, 90, 157, 207 และ 295
ศาลจังหวัดสงขลาได้พิพากษาเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2547 ประทับฟ้องเฉพาะจำเลยที่ 3 คือพล.ต.ต.สัณฐาน ชยนนท์ ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสงขลา ดังนั้น นายสักกริยา หมะหวังเอียด กับพวกรวม 25 คน จึงได้ยื่นอุทธรณ์เพื่อให้ศาลอุทธรณ์พิพากษารับฟ้อง พล.ต.อ.สันต์ ศรุตานนท์ ในฐานะผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พล.ต.อ.ธวัชชัย ภัยลี้ ในฐานรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พ.ต.อ.สุรชัย สืบสุข รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสงขลา กับพวกอีก 37 คน เพราะเป็นตำรวจที่อยู่ในเหตุการณ์สลายการชุมนุมในวันนั้นด้วย
จนกระทั่งเวลา 10.30 น.นายรชต อ่องวิบูล นางเพียงพร วิเศษสินธุ์ ผู้พิพากษาผู้นั่งบัลลังก์ได้เลื่อนนัดฟังคำพิพากษา เนื่องจากทางศาลตรวจสำนวนแล้วปรากฏว่ายังไม่สามารถส่งหมายนัดให้กับโจทก์ไม่ได้จำนวน 2 ราย อีกทั้งทางศาลไม่ได้ส่งหมายนัดให้ทนายฝ่ายโจทก์ทราบจึงไม่อาจอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 9 ได้ ให้เลื่อนนัดไปฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 9 ในวันที่ 6 พฤษภาคม นี้เวลา 10.00 น.
นายสักกริยา หมะหวังเอียด กล่าวว่าเหตุที่พวกตนต้องอุทธรณ์คดีนี้ ทั้งที่ศาลจังหวัดพิพากษาฟ้องพล.ต.ต.สัณฐาน ชยนนท์ ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสงขลาในขณะนั้นแล้ว เนื่องพวกตนเห็นว่า พล.ต.อ.สันต์ ศรุตานนท์ ในฐานะผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พล.ต.อ.ธวัชชัย ภัยลี้ ในฐานรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พ.ต.อ.สุรชัย สืบสุข รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสงขลา กับพวกซึ่งอยู่และปฏิบัติหน้าที่ในวันนั้นต้องรับผิดชอบต่อความผิดที่ได้กระทำและเกิดขึ้นจากเหตุการณ์การสลายการชุมนุมโดยใช้ความรุนแรงและกระทำเกินกว่าเหตุ
เพราะที่ผ่านมาศาลจังหวัดสงขลาและศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษายกฟ้องคดีที่พนักงานอัยการฟ้องกลุ่มคัดค้านและที่สำคัญศาลปกครองสงขลาได้พิพากษาว่าตำรวจกระทำผิดเกินกว่าเหตุและให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติชดใช้ค่าเสียหายกับชาวบ้าน ยิ่งเป็นการตอกย้ำความผิดของเจ้าหน้าที่ตำรวจในวันนั้น ในความเป็นจริงเมื่อศาลสงขลารับฟ้อง พล.ต.ต.สัณฐาน ชยนนท์ ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสงขลาแล้วตั้งแต่ปี 2547 พล.ต.ต.สัณฐาน ชยนนท์ ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสงขลา ซึ่งในความเป็นจริงสำนักงานตำรวจแห่งชาติและรัฐบาลคือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในฐานผู้บังคับบัญชาต้องรับผิดชอบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ในความจริงควรมีคำสั่งพักราชการ พล.ต.ต.สัณฐาน ชยนนท์ และตั้งคณะกรรมการตรวจสอบความผิดที่เกิดขึ้น เพราะเป็นเจ้าหน้าที่รัฐแต่กลับรายงานเท็จจริงใส่ร้ายผู้ชุมนุมจนนำไปสู่การสลายการชุมนุม แต่รัฐบาลทักษิณกลับละเลยไม่ดำเนินการใด
วันนี้ (4 มี.ค.) เวลา 09.00 น.ศาลอุทธรณ์ภาค 9 นัด นายสักกริยา หมะหวังเอียด กับพวกรวม 25 คน ฟังคำพิพากษาคดีดำที่ 1818/2546 คดีแดงหมายเลขที่ 1804/2547 ณ บัลลังก์ห้อง 204 ศาลจังหวัดสงขลา คดีที่ นายสักกริยา หมะหวังเอียด กับพวกรวม 25 คน เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง พล.ต.อสันต์ ศรุตานนท์ กับพวกรวม 38 คน ฐานความผิดเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติงานและละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ, มั่วสุมกันตั้งแต่สิบคนขึ้นไปใช้กำลังประทุษร้าย กระทำการให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง โดยมีอาวุธโดยมีผู้กระทำความผิดเป็นหัวหน้าหรือเป็นผู้มีหน้าที่สั่งการในการกระทำความผิดนั้น หรือเป็นผู้ร่วมกระทำการ, ร่วมกันทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กาย
ร่วมกันก่อให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในที่ประชุมศาสนิกชนเวลาประชุมกัน นมัสการ หรือกระทำพิธีกรรมตามศาสนาโดยชอบด้วยกฎหมาย กรณีเจ้าหน้าที่ตำรวจใช้กำลังสลายการชุมนุมของกลุ่มคัดค้านโครงการท่อส่งก๊าซโรงแยกก๊าซธรรมชาติและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2545 คราวรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จัดประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจรที่โรงแรมเจบี อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
โจทก์ที่ 1 ที่ 13 เป็นชาวบ้านซึ่งอาศัยยู่ในท้องที่ตำบลตลิ่งชัน และตำบลสะกอม อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา เป็นผู้จะได้รับความเดือดร้อนเสียหายจากการดำเนินโครงการก่อสร้างท่อส่งและโรงแยกก๊าซธรรมชาติไทย-มาเลเซีย ของบริษัท ทรานส์ไทย-มาเลเซีย (ประเทศไทย) จำกัด และโจทก์ที่ 14 ถึงที่ 25 เป็นเจ้าหน้าที่องค์กรพัฒนาเอกชน เพื่อสาธารณประโยชน์ หลายองค์กร ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการทำงานที่คล้ายคลึงกัน
กล่าวคือ ดำเนินงานเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม งานพัฒนาชุมชน การสร้างชุมชนท้องถิ่นให้เข้มแข็ง และสามารถพึ่งตนเองในการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นของตนได้ โดยมีพื้นที่ทำงานตามโครงการดังกล่าวในเขตจังหวัดชายฝั่งทะเล รวมทั้งอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา
โจกท์ทั้ง 25 คน ยื่นฟ้องและแก้คำฟ้องว่าเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2545 โจทก์ทั้งยี่สิบห้ากับประชาชนซึ่งร่วมกันคัดค้านโครงการท่อส่งก๊าซ และโรงแยกกาซธรรมชาติไทย-มาเลเซีย ที่บริษัททรานส์ไทย-มาเลเซีย (ประเทศไทย) จำกัด ได้รับอนุมัติจากรัฐบาลไทยให้ดำเนินการก่อสร้างตามโครงการโครงการในท้องที่ตำบลตลิ่งชัน และตำบลสะกอม อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา เนื่องจากมีหลักฐานเชื่อได้ว่า ผลการดำเนินการจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม ทรัพยากรท้องถิ่น วิถีชีวิตของประชาชน และสังคมอย่างรุนแรง
อันเป็นการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของธรรมชาติที่เสียหายโดยส่วนรวม เดินทางถึง อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา มาตามถนนเพชรเกษมจะไปที่สวนหย่อมใกล้อาคารจอดรถโรงแรมเจบี (หาดใหญ่) เพื่อหยุดพักรอยื่นหนังสือเสนอข้อเรียกร้องให้ทบทวนการอนุมัติโครงการท่อส่งก๊าซและโรงแยกก๊าซธรรมชาติไทย-มาเลเซีย ต่อนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี เมื่อถึงบริเวณวงเวียนน้ำพุโจทก์ทั้ง 25 และประชาชนไม่อาจเดินทางต่อไปจนถึงสวนหย่อม เนื่องจากพนักงานตำรวจจัดตั้งแถวและตั้งแผงเหล็กกั้นบนคอสะพานจุติบุญสูงอุทิศ โจทก์ทั้ง 25 และประชาชนจึงหยุดพักบนถนนเพื่อรอตัวแทนของรัฐบาลมาเจรจาต่อรอง
โดยจำเลยที่ 3 ผู้บัญชาการเหตุการณ์ขณะนั้นรายงานเท็จและใส่ร้ายโจทก์ทั้งยี่สิบห้าต่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 ผู้บังคับบัญชาระบุว่ากลุ่มผู้ชุมนุมได้ร่วมกันทะลวงแผงเหล็กกั้นเข้ามาประมาณ 30 ถึง 40 เมตร และเริ่มเอากระถางต้นไม้ขว้างเข้าใส่เจ้าพนักงานตำรวจกับใช้รถยนต์บรรทุก 6 ล้อม เตรียมขับทะลวงเข้าไป ทั้งนี้จำเลยที่ 3 มุ่งประสงค์ให้จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 เชื่อและออกคำสั่งให้ใช้กำลังสลายการชุมนุม จำเลยที่ 1 แบะที่ 2 ซึ่งมิได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงให้ชัดแจ้งว่า สภาพสถานการณ์ที่จำเลยที่ 3 รายงานให้ทราบเป็นความจริงหรือไม่ ทั้งที่สามารถกระทำได้ร่วมกันออกคำสั่งให้ใช้กำลังสลายการชุมนุม จำเลยที่ 3 จึงออกค่ำสั่งให้จำเลยที่ 4 ถึงที่ 38 กับพวกอีกจำนวนหลายคนที่ยังไม่ได้ตัวมาฟ้องร่วมกันดำเนินการสลายการชุมนุมด้วยการใช้ไม้กระบองและโล่เป็นอาวุธทุบตีทำร้ายและผลักดันโจทก์ทั้งยี่สิบห้าและประชาชน อันเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและมั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปโดยมีอาวุธและใช้กำลังประทุษร้าย
โดยจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 เป็นหัวหน้ามีหน้าที่สั่งการทำให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมืองและในที่ประชุมกันกระทำพิธีละหมาดของโจทก์ที่ 13 และประชาชนเป็นเหตุให้โจทก์ทั้งยี่สิบห้าและประชาชนต้องเลิกการชุมนุม โจทก์ที่ 8 ถึงที่ 13 ที่ 14 ถึงที่ 17 และที่ 22 ได้รับอันตรายแก่กายและจิตใจประชาชนตื่นตระหนกตกใจทรัพย์สินของประชาชนถูกทำลายเสียหาย และโจทก์ที่ 13 และประชาชนไม่สามารถกระทำพีละหมาดให้สำเร็จลุล่วงไปได้ เหตุเกิดที่ตำบลหาดใหญ่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลาขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 83, 84, 90, 157, 207, 215 และ 295
ศาลมีคำสั่งรับฟ้องโจทก์ทั้งยี่สิบห้าเฉพาะข้อหาฐานความผิดตามประมวลกฎหมายมาตรา 83, 84, 90, 157, 207 และ 295
ศาลจังหวัดสงขลาได้พิพากษาเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2547 ประทับฟ้องเฉพาะจำเลยที่ 3 คือพล.ต.ต.สัณฐาน ชยนนท์ ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสงขลา ดังนั้น นายสักกริยา หมะหวังเอียด กับพวกรวม 25 คน จึงได้ยื่นอุทธรณ์เพื่อให้ศาลอุทธรณ์พิพากษารับฟ้อง พล.ต.อ.สันต์ ศรุตานนท์ ในฐานะผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พล.ต.อ.ธวัชชัย ภัยลี้ ในฐานรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พ.ต.อ.สุรชัย สืบสุข รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสงขลา กับพวกอีก 37 คน เพราะเป็นตำรวจที่อยู่ในเหตุการณ์สลายการชุมนุมในวันนั้นด้วย
จนกระทั่งเวลา 10.30 น.นายรชต อ่องวิบูล นางเพียงพร วิเศษสินธุ์ ผู้พิพากษาผู้นั่งบัลลังก์ได้เลื่อนนัดฟังคำพิพากษา เนื่องจากทางศาลตรวจสำนวนแล้วปรากฏว่ายังไม่สามารถส่งหมายนัดให้กับโจทก์ไม่ได้จำนวน 2 ราย อีกทั้งทางศาลไม่ได้ส่งหมายนัดให้ทนายฝ่ายโจทก์ทราบจึงไม่อาจอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 9 ได้ ให้เลื่อนนัดไปฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 9 ในวันที่ 6 พฤษภาคม นี้เวลา 10.00 น.
นายสักกริยา หมะหวังเอียด กล่าวว่าเหตุที่พวกตนต้องอุทธรณ์คดีนี้ ทั้งที่ศาลจังหวัดพิพากษาฟ้องพล.ต.ต.สัณฐาน ชยนนท์ ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสงขลาในขณะนั้นแล้ว เนื่องพวกตนเห็นว่า พล.ต.อ.สันต์ ศรุตานนท์ ในฐานะผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พล.ต.อ.ธวัชชัย ภัยลี้ ในฐานรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พ.ต.อ.สุรชัย สืบสุข รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสงขลา กับพวกซึ่งอยู่และปฏิบัติหน้าที่ในวันนั้นต้องรับผิดชอบต่อความผิดที่ได้กระทำและเกิดขึ้นจากเหตุการณ์การสลายการชุมนุมโดยใช้ความรุนแรงและกระทำเกินกว่าเหตุ
เพราะที่ผ่านมาศาลจังหวัดสงขลาและศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษายกฟ้องคดีที่พนักงานอัยการฟ้องกลุ่มคัดค้านและที่สำคัญศาลปกครองสงขลาได้พิพากษาว่าตำรวจกระทำผิดเกินกว่าเหตุและให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติชดใช้ค่าเสียหายกับชาวบ้าน ยิ่งเป็นการตอกย้ำความผิดของเจ้าหน้าที่ตำรวจในวันนั้น ในความเป็นจริงเมื่อศาลสงขลารับฟ้อง พล.ต.ต.สัณฐาน ชยนนท์ ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสงขลาแล้วตั้งแต่ปี 2547 พล.ต.ต.สัณฐาน ชยนนท์ ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสงขลา ซึ่งในความเป็นจริงสำนักงานตำรวจแห่งชาติและรัฐบาลคือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในฐานผู้บังคับบัญชาต้องรับผิดชอบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ในความจริงควรมีคำสั่งพักราชการ พล.ต.ต.สัณฐาน ชยนนท์ และตั้งคณะกรรมการตรวจสอบความผิดที่เกิดขึ้น เพราะเป็นเจ้าหน้าที่รัฐแต่กลับรายงานเท็จจริงใส่ร้ายผู้ชุมนุมจนนำไปสู่การสลายการชุมนุม แต่รัฐบาลทักษิณกลับละเลยไม่ดำเนินการใด