ศูนย์ข่าวภูเก็ต - ดร.สมิทธ ระบุ ได้งบติดตั้งทุ่นตรวจจับสึนามิอีก 2 จุด 165 ล้าน เริ่มได้กลางปีนี้ พร้อมระบุศูนย์เตือนภัย ยังขาดแคลนบุคลากร ขณะที่ปัญหาเสียงสัญญาณเตือนอยู่ระหว่างการแก้ไข
วันนี้ (21 ม.ค.) ที่โรงแรมรอยัลภูเก็ต ซิตี้ อ.เมือง จ.ภูเก็ต ดร.สมิทธ ธรรมสโรช ประธานกรรมการอำนวยการเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ (กอช.) เป็นประธานเปิดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อเตรียมพร้อมในการเป็นวิทยากร โครงการสร้างองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการภัยพิบัติ โดยมี นายตรี อัครเดชา รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ผู้อำนวยการโรงเรียน 24 แห่ง ใน 6 จังหวัดชายฝั่งทะเลอันดามันที่ประสบภัยสึนามิ (ภูเก็ต พังงา กระบี่ ระนอง ตรัง และสตูล)
หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประมงจังหวัด ที่ปรึกษาโครงการ ผู้แทนกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สำนักงานคณะกรรมการการศึกาขั้นพื้นฐาน กรมประมงและคณะเจ้าหน้าที่จากศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติและกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เข้าร่วม รวม 77 คน
ดร.สมิทธ ธรรมสโรช ประธานกรรมการอำนวยการเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ (กอช.) กล่าวภายหลัง เป็นประธานเปิดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อเตรียมพร้อมในการเป็นวิทยากร โครงการสร้างองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการภัยพิบัติ เพื่อสร้างจิตสำนึกป้องกันและลดความเสี่ยงภัย และการมีส่วนร่วมของชุมชน ว่า การติดตั้งระบบสัญญาณเตือนภัย จะพร้อมสมบูรณ์ภายในปีนี้ เนื่องจากได้รับการจัดสรรงบประมาณสำหรับการติดตั้งทุ่นตรวจวัดสึนามิเพิ่มอีก 2 จุด จำนวน 165 ล้านบาท โดยจะเริ่มติดตั้งตั้งแต่กลางปีเป็นต้นไป บริเวณระหว่างชายฝั่งทะเล 6 จังหวัดอันดามัน หมู่เกาะอันดามัน หมู่เกาะนิโคบา ห่างชายฝั่งประมาณ 250-300 กิโลเมตร ซึ่งจะให้ข้อมูลเร็วกว่าทุ่นตัวแรก ที่ติดตั้งไปก่อนหน้านี้ที่อยู่ห่างฝั่งประมาณ 1,000 กิโลเมตร
ทั้งนี้ เมื่อมีการติดตั้งระบบเตือนภัยแล้ว จะเตือนภัยครอบคลุมถึงบุคคลที่มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการอพยพ และเตือนภัยให้ส่วนราชการและภาคเอกชนให้ทราบ มีการถ่ายทอดข้อมูลเตือนภัยถึงเอกชน โรงแรม พื้นที่ท่องเที่ยวต่างๆ ให้ครบวงจร คาดว่าประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยใน 6 จังหวัดภาคใต้จะได้รับข้อมูลการเตือนภัยที่รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากขึ้น
“ปัญหาปัจจุบันของศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ คือ บุคลากรมีไม่เพียงพอ และยังไม่ได้เป็นองค์กรอิสระที่ถูกต้องตามกกฎหมาย ต้องมีการยืมตัวผู้บริหารบางส่วนมาจากส่วนราชการอื่น ทำให้การบริหารงานไม่มีประสิทธิภาพประสิทธิผล ซึ่งจะได้นำเสนอปัญหาดังกล่าวเสนอต่อรัฐบาลเพื่อแก้ไขต่อไป เพราะขณะนี้ต่างประเทศยอมรับว่า การดำเนินงานของศูนย์เตือนภัยแห่งชาติมีประสิทธิภาพในระดับนานาชาติ” ดร.สมิทธ กล่าวและว่า
กรณีของเสียงสัญญาณเตือนภัยที่มีปัญหาอยู่ในบางจุด ดร.สมิทธ กล่าวว่า กำลังอยู่ระหว่างการแก้ไข แต่เนื่องงบประมาณจำกัด จึงทำให้การดำเนินการยังไม่ทั่วถึง และในบางพื้นที่ที่เป็นเกาะก็ยังไม่มีระบบเตือนภัย ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าห่วง โดยมีการร้องขอเพื่อให้มีการติดตั้งทั้งในพื้นที่ จ.กระบี่ พังงา แต่ก็ไม่สามารถที่จะจัดสรรให้ได้ เพราะการจัดตั้งงบประมาณต้องนำเสนอโดยรัฐบาล
ดร.สมิทธ ยังกล่าวต่อไปว่า ขณะนี้ห่วงเรื่องของชายหาดที่อยู่ไกลพื้นที่สูง เช่น เขาหลัก หมู่บ้านน้ำเค็ม จ.พังงา เป็นต้น ซึ่งจะต้องมีอาคารหลบภัย เนื่องจากหากมีคลื่นซัดเข้ามาจะวิ่งหนีไม่ทัน โดยในการก่อสร้างแต่ละจุดต้องใช้งบประมาณสูง ในปีนี้รัฐบาลอนุมัติงบเพียง 4 จุดเท่านั้น และขณะนี้ก็ยังไม่ได้ลงมือก่อสร้าง อยากให้มีการก่อสร้างโดยเร็ว เช่น เกาะพีพี ได้เพียงจุดเดียวซึ่งก็ไม่เพียงพอ เพราะนักท่องเที่ยวมีเป็นจำนวนมาก ควรที่จะมีหลายจุด แม้บางคนอาจจะบอกว่าสิ้นเปลืองแต่หากผลที่จะได้รับจากการท่องเที่ยวนั้นมีมากกว่า ซึ่งจุดเสี่ยงที่ควรจะติดตั้งในฝั่งอันดามันนั้นคิดว่ามีไม่ต่ำกว่า 20 จุด โดยเฉพาะเกาะแก่งต่าง
ส่วนของสัญญาณเตือนภัยปัจจุบันรวมทั้ง 6 จังหวัด ปัจจุบันมีจำนวน 69 แห่ง ซึ่งก็จะต้องมีการติดตั้งเพิ่มเช่นกัน เพราะที่มีอยู่นั้นก็ค่อนข้างที่จะมีระยะห่างกันมาก บางหมู่บ้านก็แทบจะไม่ได้ยิน เช่น ป่าตองมีเพียง 3 จุด ต้องเพิ่มอีก 5-10 จุด ส่วนใหญ่ที่ติดตั้งแล้วจะเป็นบริเวณที่มีความเสี่ยงภัยสูง ซึ่งก็ต้องดำเนินการเพื่อติดตั้งเพิ่ม ส่วนของเสียงสัญญาที่ส่งออกมาเป็นภาษาต่างๆ อยู่ระหว่างการปรับปรุงเพื่อให้มีความชัดเจนมากขึ้น
ทั้งนี้ ดร.สมิทธ ยังกล่าวถึงการดำเนินการที่ผ่านมา ว่า ยังไม่พอใจ เพราะยังไม่ได้ระดับสากล โดยเฉพาะเรื่องของการฝึกซ้อมซึ่งจะต้องทำให้ได้มาตรฐานสากลกว่านี้ อย่างน้อยต้องทำปีละ 2 ครั้ง เพราะแม้แต่คนนำปะชาชนอพยพไปยังที่หลบภัย ก็ยังไม่คุ้นเคยกับการฝึกซ้อม
เมื่อเกิดเหตุขึ้นจริงค่อนข้างอันตราย ต้องฝึกซ้อมบ่อยๆ แม้ว่าเราจะมีความมั่นใจระดับหนึ่งในเรื่องของการเตือนประชาชนล่วงหน้า ซึ่งดีกว่าในอดีตซึ่งไม่สามารถทำได้ แต่การเตือนล่วงหน้าผลกระทบเกิดขึ้นกับหน่วยงานอื่นๆ ด้วย เพราะในการอพยพ เคลื่อนย้ายประชาชน บุคลากรไปยังที่ปลอดภัยนั้นไม่ใช่หน้าที่ของศูนย์ แต่เป็นหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทยกับผู้บริหารท้องถิ่น ซึ่งต้องเข้าใจในระบบเตือนภัยและแก้ไข ทั้งนี้ต้องจัดสรรงบประมาณ และบุคลากรให้ 2 หน่วยงานนี้ให้มากขึ้น
วันนี้ (21 ม.ค.) ที่โรงแรมรอยัลภูเก็ต ซิตี้ อ.เมือง จ.ภูเก็ต ดร.สมิทธ ธรรมสโรช ประธานกรรมการอำนวยการเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ (กอช.) เป็นประธานเปิดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อเตรียมพร้อมในการเป็นวิทยากร โครงการสร้างองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการภัยพิบัติ โดยมี นายตรี อัครเดชา รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ผู้อำนวยการโรงเรียน 24 แห่ง ใน 6 จังหวัดชายฝั่งทะเลอันดามันที่ประสบภัยสึนามิ (ภูเก็ต พังงา กระบี่ ระนอง ตรัง และสตูล)
หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประมงจังหวัด ที่ปรึกษาโครงการ ผู้แทนกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สำนักงานคณะกรรมการการศึกาขั้นพื้นฐาน กรมประมงและคณะเจ้าหน้าที่จากศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติและกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เข้าร่วม รวม 77 คน
ดร.สมิทธ ธรรมสโรช ประธานกรรมการอำนวยการเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ (กอช.) กล่าวภายหลัง เป็นประธานเปิดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อเตรียมพร้อมในการเป็นวิทยากร โครงการสร้างองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการภัยพิบัติ เพื่อสร้างจิตสำนึกป้องกันและลดความเสี่ยงภัย และการมีส่วนร่วมของชุมชน ว่า การติดตั้งระบบสัญญาณเตือนภัย จะพร้อมสมบูรณ์ภายในปีนี้ เนื่องจากได้รับการจัดสรรงบประมาณสำหรับการติดตั้งทุ่นตรวจวัดสึนามิเพิ่มอีก 2 จุด จำนวน 165 ล้านบาท โดยจะเริ่มติดตั้งตั้งแต่กลางปีเป็นต้นไป บริเวณระหว่างชายฝั่งทะเล 6 จังหวัดอันดามัน หมู่เกาะอันดามัน หมู่เกาะนิโคบา ห่างชายฝั่งประมาณ 250-300 กิโลเมตร ซึ่งจะให้ข้อมูลเร็วกว่าทุ่นตัวแรก ที่ติดตั้งไปก่อนหน้านี้ที่อยู่ห่างฝั่งประมาณ 1,000 กิโลเมตร
ทั้งนี้ เมื่อมีการติดตั้งระบบเตือนภัยแล้ว จะเตือนภัยครอบคลุมถึงบุคคลที่มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการอพยพ และเตือนภัยให้ส่วนราชการและภาคเอกชนให้ทราบ มีการถ่ายทอดข้อมูลเตือนภัยถึงเอกชน โรงแรม พื้นที่ท่องเที่ยวต่างๆ ให้ครบวงจร คาดว่าประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยใน 6 จังหวัดภาคใต้จะได้รับข้อมูลการเตือนภัยที่รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากขึ้น
“ปัญหาปัจจุบันของศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ คือ บุคลากรมีไม่เพียงพอ และยังไม่ได้เป็นองค์กรอิสระที่ถูกต้องตามกกฎหมาย ต้องมีการยืมตัวผู้บริหารบางส่วนมาจากส่วนราชการอื่น ทำให้การบริหารงานไม่มีประสิทธิภาพประสิทธิผล ซึ่งจะได้นำเสนอปัญหาดังกล่าวเสนอต่อรัฐบาลเพื่อแก้ไขต่อไป เพราะขณะนี้ต่างประเทศยอมรับว่า การดำเนินงานของศูนย์เตือนภัยแห่งชาติมีประสิทธิภาพในระดับนานาชาติ” ดร.สมิทธ กล่าวและว่า
กรณีของเสียงสัญญาณเตือนภัยที่มีปัญหาอยู่ในบางจุด ดร.สมิทธ กล่าวว่า กำลังอยู่ระหว่างการแก้ไข แต่เนื่องงบประมาณจำกัด จึงทำให้การดำเนินการยังไม่ทั่วถึง และในบางพื้นที่ที่เป็นเกาะก็ยังไม่มีระบบเตือนภัย ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าห่วง โดยมีการร้องขอเพื่อให้มีการติดตั้งทั้งในพื้นที่ จ.กระบี่ พังงา แต่ก็ไม่สามารถที่จะจัดสรรให้ได้ เพราะการจัดตั้งงบประมาณต้องนำเสนอโดยรัฐบาล
ดร.สมิทธ ยังกล่าวต่อไปว่า ขณะนี้ห่วงเรื่องของชายหาดที่อยู่ไกลพื้นที่สูง เช่น เขาหลัก หมู่บ้านน้ำเค็ม จ.พังงา เป็นต้น ซึ่งจะต้องมีอาคารหลบภัย เนื่องจากหากมีคลื่นซัดเข้ามาจะวิ่งหนีไม่ทัน โดยในการก่อสร้างแต่ละจุดต้องใช้งบประมาณสูง ในปีนี้รัฐบาลอนุมัติงบเพียง 4 จุดเท่านั้น และขณะนี้ก็ยังไม่ได้ลงมือก่อสร้าง อยากให้มีการก่อสร้างโดยเร็ว เช่น เกาะพีพี ได้เพียงจุดเดียวซึ่งก็ไม่เพียงพอ เพราะนักท่องเที่ยวมีเป็นจำนวนมาก ควรที่จะมีหลายจุด แม้บางคนอาจจะบอกว่าสิ้นเปลืองแต่หากผลที่จะได้รับจากการท่องเที่ยวนั้นมีมากกว่า ซึ่งจุดเสี่ยงที่ควรจะติดตั้งในฝั่งอันดามันนั้นคิดว่ามีไม่ต่ำกว่า 20 จุด โดยเฉพาะเกาะแก่งต่าง
ส่วนของสัญญาณเตือนภัยปัจจุบันรวมทั้ง 6 จังหวัด ปัจจุบันมีจำนวน 69 แห่ง ซึ่งก็จะต้องมีการติดตั้งเพิ่มเช่นกัน เพราะที่มีอยู่นั้นก็ค่อนข้างที่จะมีระยะห่างกันมาก บางหมู่บ้านก็แทบจะไม่ได้ยิน เช่น ป่าตองมีเพียง 3 จุด ต้องเพิ่มอีก 5-10 จุด ส่วนใหญ่ที่ติดตั้งแล้วจะเป็นบริเวณที่มีความเสี่ยงภัยสูง ซึ่งก็ต้องดำเนินการเพื่อติดตั้งเพิ่ม ส่วนของเสียงสัญญาที่ส่งออกมาเป็นภาษาต่างๆ อยู่ระหว่างการปรับปรุงเพื่อให้มีความชัดเจนมากขึ้น
ทั้งนี้ ดร.สมิทธ ยังกล่าวถึงการดำเนินการที่ผ่านมา ว่า ยังไม่พอใจ เพราะยังไม่ได้ระดับสากล โดยเฉพาะเรื่องของการฝึกซ้อมซึ่งจะต้องทำให้ได้มาตรฐานสากลกว่านี้ อย่างน้อยต้องทำปีละ 2 ครั้ง เพราะแม้แต่คนนำปะชาชนอพยพไปยังที่หลบภัย ก็ยังไม่คุ้นเคยกับการฝึกซ้อม
เมื่อเกิดเหตุขึ้นจริงค่อนข้างอันตราย ต้องฝึกซ้อมบ่อยๆ แม้ว่าเราจะมีความมั่นใจระดับหนึ่งในเรื่องของการเตือนประชาชนล่วงหน้า ซึ่งดีกว่าในอดีตซึ่งไม่สามารถทำได้ แต่การเตือนล่วงหน้าผลกระทบเกิดขึ้นกับหน่วยงานอื่นๆ ด้วย เพราะในการอพยพ เคลื่อนย้ายประชาชน บุคลากรไปยังที่ปลอดภัยนั้นไม่ใช่หน้าที่ของศูนย์ แต่เป็นหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทยกับผู้บริหารท้องถิ่น ซึ่งต้องเข้าใจในระบบเตือนภัยและแก้ไข ทั้งนี้ต้องจัดสรรงบประมาณ และบุคลากรให้ 2 หน่วยงานนี้ให้มากขึ้น