คลังเผย ส่งร่างกฎหมาย "กอช." ให้ครม. พิจารณาได้เดือนกันยายนนี้ เพื่อใช้บังคับทัน 1 มกราคมปีหน้า พร้อมเดินหน้า "สำนักงานการออมเพื่อการชราภาพ" ทำหน้าที่บริหารผลตอบแทน เปิดทางแรงงานขึ้นทะเบียนและส่งเงิน ผ่านเซเว่น อีเลฟเว่น ออมสิน ธกส. รวมถึงองค์กรปกครองท้องถิ่น
นายสมชัย สัจจพงศ์ ผู้อำนวยการ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยถึงการจัดตั้งกองทุนการออมเพื่อชราภาพ (กอช.)ว่า คาดว่าร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การจัดตั้งกอช.จะสามารถเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้ในเดือนกันยายน เพื่อให้โดยบังคับใช้ได้ในวันที่ 1 มกราคม 2553 พร้อมกับการจัดตั้งสำนักงานการออมเพื่อการชราภาพ ซึ่งจะมีรูปแบบการจัดตั้งและบริหารเหมือนกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) เพื่อมาทำหน้าที่ในการบริหารเงินกองทุนให้เกิดดอกผล เนื่องจากรัฐบาลรับประกันผลตอบแทนขั้นต่ำไม่ต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 1 ปี
ทั้งนี้ จากผลการศึกษาของสศค.พบว่า เพื่อการออมที่เหมาะสมที่วัดจากเส้นความยากจนของประชาชนที่มีรายได้เดือนละ 1,400-1,500 บาท อัตราการรออมที่เหมาะสมคือ ประชาชนช่วงอายุ 20-31 ปี ควรออมเงิน 100 บาทต่อเดือน และรัฐสมทบให้อีก 50 บาท เมื่อเกษียณอายุจะมีรายได้ต่อเดือน 3,260 บาท ช่วงอายุ 31-50 ปีควรออมเงินเดือนละ 250 บาท และรัฐสมทบอีก 80 บาท จะทำให้มีรายได้ต่อเดือน 2,042 บาท และช่วงอายุ 51-60 ปี ควรออมเงินเดือนละ 500 บาทและรัฐสมทบอีก 100 บาท จะทำให้มีรายได้ต่อเดือน 576 บาท ทั้งนี้รายได้ต่อเดือนดังกล่าวยังไม่รวมเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุอีกเดือนละ 500 บาที่จะได้จากรัฐบาล
“กอช.ถือเป็นกองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ (กบช.) นอกระบบ เพราะการจัดตั้งกบช.อาจจะทำได้ยาก ขณะที่รัฐบาลต้องการให้แรงงานนอกระบบที่มีถึง 24 ล้านคน มีระบบการออมเพื่อรองรับเมื่อเกษียณอายุ จึงจัดตั้งในรูปแบบกอช.ก่อน และจะรับเป็นสมาชิกเฉพาะแรงงานนอกระบบเท่านั้น โดยที่รัฐบาลจะเริ่มจ่ายให้ตั้งแต่ช่วงอายุ 60-80 ปี หากเสียชีวิต เงินที่เหลือสามารถตกทอดสู่ลูกหลานได้”นายสมชัยกล่าว
สำหรับแรงงานที่จะเข้าเป็นสมาชิก กอช. สามารถขึ้นทะเบียนและส่งเงินได้ที่ร้านสะดวกซื้อ เซเว่น อีเลฟเว่น ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธกส.) รวมถึงองค์กรปกครองท้องถิ่น เพื่อเพิ่มความสะดวกให้กับแรงงาน และให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการเก็บเงินส่งเข้ารัฐให้ ซึ่งวสามาชิกสามารถสมทบเงินได้สูงสุดถึง 1,000 บาทต่อเดือน แต่รัฐยังสมทบในอัตราคงที่ที่กำหนดคือช่วง 50 บาท 80 บาทและ 100 บาท และในกรณีที่ต้องการไถ่ถอนเงินสามารถทำได้ แต่ต้องให้คณะกรรมการกองทุนเป็นผู้กำหนดรวมถึงสามาชิกที่ส่งเงินสมทบไม่สม่ำเสมอ ก็จะคิดตามยอดคงค้างที่นำส่งเข้ารัฐ มาจ่ายคืนเมื่อวัยเกษียณ ซึ่งเงินที่ได้รับต่อเดือนจะน้อยลงด้วย
นายสมชัย สัจจพงศ์ ผู้อำนวยการ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยถึงการจัดตั้งกองทุนการออมเพื่อชราภาพ (กอช.)ว่า คาดว่าร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การจัดตั้งกอช.จะสามารถเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้ในเดือนกันยายน เพื่อให้โดยบังคับใช้ได้ในวันที่ 1 มกราคม 2553 พร้อมกับการจัดตั้งสำนักงานการออมเพื่อการชราภาพ ซึ่งจะมีรูปแบบการจัดตั้งและบริหารเหมือนกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) เพื่อมาทำหน้าที่ในการบริหารเงินกองทุนให้เกิดดอกผล เนื่องจากรัฐบาลรับประกันผลตอบแทนขั้นต่ำไม่ต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 1 ปี
ทั้งนี้ จากผลการศึกษาของสศค.พบว่า เพื่อการออมที่เหมาะสมที่วัดจากเส้นความยากจนของประชาชนที่มีรายได้เดือนละ 1,400-1,500 บาท อัตราการรออมที่เหมาะสมคือ ประชาชนช่วงอายุ 20-31 ปี ควรออมเงิน 100 บาทต่อเดือน และรัฐสมทบให้อีก 50 บาท เมื่อเกษียณอายุจะมีรายได้ต่อเดือน 3,260 บาท ช่วงอายุ 31-50 ปีควรออมเงินเดือนละ 250 บาท และรัฐสมทบอีก 80 บาท จะทำให้มีรายได้ต่อเดือน 2,042 บาท และช่วงอายุ 51-60 ปี ควรออมเงินเดือนละ 500 บาทและรัฐสมทบอีก 100 บาท จะทำให้มีรายได้ต่อเดือน 576 บาท ทั้งนี้รายได้ต่อเดือนดังกล่าวยังไม่รวมเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุอีกเดือนละ 500 บาที่จะได้จากรัฐบาล
“กอช.ถือเป็นกองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ (กบช.) นอกระบบ เพราะการจัดตั้งกบช.อาจจะทำได้ยาก ขณะที่รัฐบาลต้องการให้แรงงานนอกระบบที่มีถึง 24 ล้านคน มีระบบการออมเพื่อรองรับเมื่อเกษียณอายุ จึงจัดตั้งในรูปแบบกอช.ก่อน และจะรับเป็นสมาชิกเฉพาะแรงงานนอกระบบเท่านั้น โดยที่รัฐบาลจะเริ่มจ่ายให้ตั้งแต่ช่วงอายุ 60-80 ปี หากเสียชีวิต เงินที่เหลือสามารถตกทอดสู่ลูกหลานได้”นายสมชัยกล่าว
สำหรับแรงงานที่จะเข้าเป็นสมาชิก กอช. สามารถขึ้นทะเบียนและส่งเงินได้ที่ร้านสะดวกซื้อ เซเว่น อีเลฟเว่น ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธกส.) รวมถึงองค์กรปกครองท้องถิ่น เพื่อเพิ่มความสะดวกให้กับแรงงาน และให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการเก็บเงินส่งเข้ารัฐให้ ซึ่งวสามาชิกสามารถสมทบเงินได้สูงสุดถึง 1,000 บาทต่อเดือน แต่รัฐยังสมทบในอัตราคงที่ที่กำหนดคือช่วง 50 บาท 80 บาทและ 100 บาท และในกรณีที่ต้องการไถ่ถอนเงินสามารถทำได้ แต่ต้องให้คณะกรรมการกองทุนเป็นผู้กำหนดรวมถึงสามาชิกที่ส่งเงินสมทบไม่สม่ำเสมอ ก็จะคิดตามยอดคงค้างที่นำส่งเข้ารัฐ มาจ่ายคืนเมื่อวัยเกษียณ ซึ่งเงินที่ได้รับต่อเดือนจะน้อยลงด้วย