ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - สสต.เสนอ “13 ตัวยา” สุดยอดแก้ปัญหาไฟใต้ แยกคนไม่ดีออกจากคนดี ระดมผู้นำชุมชน ศาสนา ปราชญ์ชาวบ้าน กำหนดโนยายและเข้าไปดำเนินการแก้ไขปัญหาความรุนแรง เฟ้นหาแกนนำกลุ่มก่อความไม่สงบมาเป็นที่ปรึกษา ศอ.บต.เพื่อรู้เขารู้เรา กำหนดนโยบายล้ำหน้าสถานการณ์
รายงานข่าวเปิดเผยว่า คณะกรรมการศึกษาและวิเคราะห์แนวทางแก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ สภาที่ปรึกษาเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ (สสต.) ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ที่มีนายประสิทธิ์ เมฆสุวรรณ เป็นประธานคณะกรรมการ ได้นำเสนอประเด็นที่ควรเร่งดำเนินการด่วน 13 ประเด็น เพื่อพิจารณานำเข้าเป็นนโยบายเพื่อแก้ปัญหาความไม่สงบจังหวัดชายแดนภาคใต้
1.สร้างความเอกภาพด้านอุดมการณ์ ยุทธศาสตร์ นโยบาย ยุทธวิธี การแก้ปัญหาความไม่สงบในหน่วยงานที่เกี่ยวทุกหน่วยในพื้นที่
2.เร่งทำคดีที่ประชาชนรู้สึกว่าเจ้าหน้าที่รัฐมีอคติเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม และให้ปรากฏผลโดยเร็ว
3.คดีความมั่นคงที่ศาลพิพากษาถึงที่สุดแล้ว รัฐควรประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับรู้อย่างกว้างขวาง
4.ศอ.บต.ควรจัดงบประมาณสนับสนุน เอ็นจีโอ หรือองค์กรภาคประชาชน ได้เข้าไปมีบทบาทการแก้ไขปัญหา
5.เพิ่มเงินพิเศษแก่ข้าราชการ พนักงานของรัฐที่เข้าอบรมภาษามาลายู จนสื่อสารกับประชาชนได้ เพื่อดลช่องว่างระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐกับประชาชน
6.รีบหาช่องทาง ให้ผู้นำชุมชน ผู้นำศสานา ปราชญ์ชาวบ้าน และประชาชนทั่วไป ได้มีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย และดำเนินการแก้ไขปัญหาความรุนแรง
7.ชี้แจงให้สังคมเชื่อ และมั่นใจว่าผู้ที่ถูกควบคุมตัวไปปรับแนวคิด และฝึกอาชีพแล้ว เมื่อปล่อยตัวจะไม่ถูกทำร้ายจากเจ้าหน้าที่รัฐในภายหลัง
8.เมื่อพบว่าเจ้าหน้าที่รัฐคนใด สังกัดใด ข่มเหงรังแกประชาชน หรือทำให้ประชาชนไม่ได้รับความเป็นธรรม จะต้องได้รับโทษตามกฎหมายอย่างเด็ดขาด และต้องออกจากพื้นที่ทันที
9.เฟ้นหาผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย ระดับแกนนำ มาเป็นคณะที่ปรึกษาด้านความมั่นคง ให้กับ ศอ.บต. เพื่อได้ปรับแนวคิด ฐานข้อมูล ยุทธศาสตร์ ยุทธวิธี ให้เกิดลักษณะรู้เขา รู้เรา อันจะทำให้การดำเนินการทุกอย่างทันกาล หรือล้ำหน้าสถานการณ์ ได้อยู่อย่างต่อเนื่อง
10. เร่งจัดสรรงบประมาณ เพื่อบริหารจัดงานมวลชนสัมพันธ์ แก่นายอำเภอทุกอำเภอ เพราะเป็นการขับเคลื่อนงานอย่างบูรณาการระดับอำเภอ จะเป็นการสร้างแนวรบด้านการเมือง ระดับพื้นที่ของรัฐได้ดีที่สุด มีลักษณะคล่องตัว และทันการณ์
11.เร่งดำเนินการประสานความไว้วางใจในทางปฏิบัติกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่
12.จัดโครงการสานเสวนากับผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา และผู้นำธรรม ในทุกพื้นที่ ให้เป็นพื้นฐาน ในการเพิ่มระดับความไว้วางใจซึ่งกันและกัน และคัดแยกคนไม่ดีออกจากสังคมคนดี
และ 13.ดำเนินการลดปัญหาความไม่เข้าใจ ความหวาดระแวงและความเกลียดชัง ระหว่างคนต่างวัฒนธรรมให้ได้โดยเร็ว
รายงานข่าวเปิดเผยว่า คณะกรรมการศึกษาและวิเคราะห์แนวทางแก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ สภาที่ปรึกษาเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ (สสต.) ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ที่มีนายประสิทธิ์ เมฆสุวรรณ เป็นประธานคณะกรรมการ ได้นำเสนอประเด็นที่ควรเร่งดำเนินการด่วน 13 ประเด็น เพื่อพิจารณานำเข้าเป็นนโยบายเพื่อแก้ปัญหาความไม่สงบจังหวัดชายแดนภาคใต้
1.สร้างความเอกภาพด้านอุดมการณ์ ยุทธศาสตร์ นโยบาย ยุทธวิธี การแก้ปัญหาความไม่สงบในหน่วยงานที่เกี่ยวทุกหน่วยในพื้นที่
2.เร่งทำคดีที่ประชาชนรู้สึกว่าเจ้าหน้าที่รัฐมีอคติเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม และให้ปรากฏผลโดยเร็ว
3.คดีความมั่นคงที่ศาลพิพากษาถึงที่สุดแล้ว รัฐควรประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับรู้อย่างกว้างขวาง
4.ศอ.บต.ควรจัดงบประมาณสนับสนุน เอ็นจีโอ หรือองค์กรภาคประชาชน ได้เข้าไปมีบทบาทการแก้ไขปัญหา
5.เพิ่มเงินพิเศษแก่ข้าราชการ พนักงานของรัฐที่เข้าอบรมภาษามาลายู จนสื่อสารกับประชาชนได้ เพื่อดลช่องว่างระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐกับประชาชน
6.รีบหาช่องทาง ให้ผู้นำชุมชน ผู้นำศสานา ปราชญ์ชาวบ้าน และประชาชนทั่วไป ได้มีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย และดำเนินการแก้ไขปัญหาความรุนแรง
7.ชี้แจงให้สังคมเชื่อ และมั่นใจว่าผู้ที่ถูกควบคุมตัวไปปรับแนวคิด และฝึกอาชีพแล้ว เมื่อปล่อยตัวจะไม่ถูกทำร้ายจากเจ้าหน้าที่รัฐในภายหลัง
8.เมื่อพบว่าเจ้าหน้าที่รัฐคนใด สังกัดใด ข่มเหงรังแกประชาชน หรือทำให้ประชาชนไม่ได้รับความเป็นธรรม จะต้องได้รับโทษตามกฎหมายอย่างเด็ดขาด และต้องออกจากพื้นที่ทันที
9.เฟ้นหาผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย ระดับแกนนำ มาเป็นคณะที่ปรึกษาด้านความมั่นคง ให้กับ ศอ.บต. เพื่อได้ปรับแนวคิด ฐานข้อมูล ยุทธศาสตร์ ยุทธวิธี ให้เกิดลักษณะรู้เขา รู้เรา อันจะทำให้การดำเนินการทุกอย่างทันกาล หรือล้ำหน้าสถานการณ์ ได้อยู่อย่างต่อเนื่อง
10. เร่งจัดสรรงบประมาณ เพื่อบริหารจัดงานมวลชนสัมพันธ์ แก่นายอำเภอทุกอำเภอ เพราะเป็นการขับเคลื่อนงานอย่างบูรณาการระดับอำเภอ จะเป็นการสร้างแนวรบด้านการเมือง ระดับพื้นที่ของรัฐได้ดีที่สุด มีลักษณะคล่องตัว และทันการณ์
11.เร่งดำเนินการประสานความไว้วางใจในทางปฏิบัติกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่
12.จัดโครงการสานเสวนากับผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา และผู้นำธรรม ในทุกพื้นที่ ให้เป็นพื้นฐาน ในการเพิ่มระดับความไว้วางใจซึ่งกันและกัน และคัดแยกคนไม่ดีออกจากสังคมคนดี
และ 13.ดำเนินการลดปัญหาความไม่เข้าใจ ความหวาดระแวงและความเกลียดชัง ระหว่างคนต่างวัฒนธรรมให้ได้โดยเร็ว