นราธิวาส - ศอ.บต.พบ สื่อมวลชน ขอความร่วมมือเป็นกระบอกเสียงประชาสัมพันธ์ข่าว ในลักษณะเชิงบวก และสร้างสรรค์ เพื่อช่วยชาติ ไม่ขยายผลให้เหตุการณ์บานปลาย จนทำให้เป็นเครื่องมือฝ่ายตรงข้าม แสวงหาผลประโยชน์ ทำลายความ
วันนี้ (20 ก.พ.) ที่ห้องประชุม ร้านอาหารริมน้ำ อ.เมือง จ.นราธิวาส ศอ.บต.ได้จัดสัมมนาพบ สื่อมวลชนท้องถิ่นและภูมิภาค ทุกแขนง อาทิ สื่อวิทยุ โทรทัศน์ และสื่อตีพิมพ์ ในพื้นที่ จ.นราธิวาส จำนวน 60 คน เพื่อเป็นการชี้แจ้ง และสร้างความเข้าใจ กับการบริหารงาน ภายใต้ศูนย์บริหาร จ.ชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.)
นายบุญชวน บัวสว่าง ผช.ศอ.บต.(ฝ่ายศาสนาและวัฒนธรรม) กล่าวว่า ปัญหาความไม่มั่นคงในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เรื้อรังราวลึก ความรุนแรงที่เกิดขึ้น ส่งผลให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อนในชีวิตและทรัพย์สิน ซึ่งเกิดขึ้นจากความไม่เข้าใจ ทำให้เกิดช่องว่าง ระหว่างภาครัฐและประชาชนในพื้นที่ จำเป็นที่จะต้องได้รับการเยียวยาทั้งกายและจิตใจและต้องให้ยารักษาที่ถูกกับโรค
โดยเฉพาะการสร้างความเข้าใจ ให้เกิดขึ้นระหว่างภาครัฐกับประชาชน จะต้องแยกคนดีกับชั่วออกจากกันให้ชัดเจน ซึ่งในพื้นที่ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ฝ่ายตรงข้าม หรือกลุ่มคนร้าย จะทำสงคราม ด้วยการแย่งมวลชนเป็นฝ่ายตน คือการทำสงครามแย่งชิงประชาชน จึงมีการจัดเครือข่ายให้แนวร่วมในพื้นที่ ทำการสื่อสารประชาสัมพันธ์ ด้วยการนำข้อมูล ของภาครัฐหรือเจ้าหน้าที่ มาขยายผลโจมตีการทำงานที่ผิดพลาด เพื่อให้เกิดความเกลียดชังเจ้าหน้าที่ ซึ่งฝ่ายตรงข้ามทำได้ผลและมักจะตอบโต้ ผู้ที่ไม่ให้ความร่วมมืออย่างรุนแรง ร่วมถึงการเบี่ยงเบนศาสนา เพื่อให้เยาวชนและประชาชนยอมรับในกลุ่มผู้ก่อเหตุความไม่สงบ
และสื่อมวลชนในพื้นที่ถือเป็นกระบอกเสียง ที่สำคัญมาก ที่จะช่วยรัฐในการแก้ปัญหาความรุนแรงที่เกิดขึ้น และ จำเป็นที่จะต้องขอความร่วมมือกับสื่อมวลชน ในการประชาสัมพันธ์ข่าว ในลักษณะเชิงบวก และสร้างสรรค์ เพื่อช่วยชาติ ซึ่งจะต้องไม่ขยายผลให้เหตุการณ์บันปลาย จนทำให้ฝ่ายตรงข้าม แอบนำใช้เป็นเครื่องมือแสวงหาผลประโยชน์ ทำลายความมั่นคง ซึ่งทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็น กอ.รมน. ศอ.บต. และ พ.ต.ท. ต่างมีนโยบาย ปฏิบัติเพื่อให้พื้นที่เกิดความสงบสุข แต่ทั้งนี้ต้องได้รับความร่วมมือกับสื่อมวลชลในพื้นที่ด้วย
นายรพี มามะ ผู้สื่อข่าวภูมิภาค จ.นราธิวาส ได้แสดงความเห็นว่า สื่อมวลชนได้ทำหน้าที่ ได้ดีแล้วระดับหนึ่ง และเข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้น อย่างการใช้คำ การก่อการร้าย เลี่ยงเขียนเป็น ผู้ก่อความไม่สงบ, ผู้ก่อการร้ายก็เขียนเป็น กลุ่มคนร้าย หรือผู้ไม่หวังดี เท่านั้น ทั้งนี้ไม่ต้องการให้ปัญหาในพื้นที่ ถูกต่างชาติ นำไปขยายเปรียบเทียบเป็นการก่อการร้ายสากล ในส่วนข่าวเชิงบวก และ สร้างสรรค์ ยังได้รับความมือกับทางส่วนราชการในพื้นที่น้อยมาก จึงควรแก้ไข ซึ่งเชื่อมั่นว่า สื่อพร้อมใจให้ความร่วมมือ ทั้งนี้ทางราชการต้องเดินหน้าในเชิงรุกด้วย
วันนี้ (20 ก.พ.) ที่ห้องประชุม ร้านอาหารริมน้ำ อ.เมือง จ.นราธิวาส ศอ.บต.ได้จัดสัมมนาพบ สื่อมวลชนท้องถิ่นและภูมิภาค ทุกแขนง อาทิ สื่อวิทยุ โทรทัศน์ และสื่อตีพิมพ์ ในพื้นที่ จ.นราธิวาส จำนวน 60 คน เพื่อเป็นการชี้แจ้ง และสร้างความเข้าใจ กับการบริหารงาน ภายใต้ศูนย์บริหาร จ.ชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.)
นายบุญชวน บัวสว่าง ผช.ศอ.บต.(ฝ่ายศาสนาและวัฒนธรรม) กล่าวว่า ปัญหาความไม่มั่นคงในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เรื้อรังราวลึก ความรุนแรงที่เกิดขึ้น ส่งผลให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อนในชีวิตและทรัพย์สิน ซึ่งเกิดขึ้นจากความไม่เข้าใจ ทำให้เกิดช่องว่าง ระหว่างภาครัฐและประชาชนในพื้นที่ จำเป็นที่จะต้องได้รับการเยียวยาทั้งกายและจิตใจและต้องให้ยารักษาที่ถูกกับโรค
โดยเฉพาะการสร้างความเข้าใจ ให้เกิดขึ้นระหว่างภาครัฐกับประชาชน จะต้องแยกคนดีกับชั่วออกจากกันให้ชัดเจน ซึ่งในพื้นที่ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ฝ่ายตรงข้าม หรือกลุ่มคนร้าย จะทำสงคราม ด้วยการแย่งมวลชนเป็นฝ่ายตน คือการทำสงครามแย่งชิงประชาชน จึงมีการจัดเครือข่ายให้แนวร่วมในพื้นที่ ทำการสื่อสารประชาสัมพันธ์ ด้วยการนำข้อมูล ของภาครัฐหรือเจ้าหน้าที่ มาขยายผลโจมตีการทำงานที่ผิดพลาด เพื่อให้เกิดความเกลียดชังเจ้าหน้าที่ ซึ่งฝ่ายตรงข้ามทำได้ผลและมักจะตอบโต้ ผู้ที่ไม่ให้ความร่วมมืออย่างรุนแรง ร่วมถึงการเบี่ยงเบนศาสนา เพื่อให้เยาวชนและประชาชนยอมรับในกลุ่มผู้ก่อเหตุความไม่สงบ
และสื่อมวลชนในพื้นที่ถือเป็นกระบอกเสียง ที่สำคัญมาก ที่จะช่วยรัฐในการแก้ปัญหาความรุนแรงที่เกิดขึ้น และ จำเป็นที่จะต้องขอความร่วมมือกับสื่อมวลชน ในการประชาสัมพันธ์ข่าว ในลักษณะเชิงบวก และสร้างสรรค์ เพื่อช่วยชาติ ซึ่งจะต้องไม่ขยายผลให้เหตุการณ์บันปลาย จนทำให้ฝ่ายตรงข้าม แอบนำใช้เป็นเครื่องมือแสวงหาผลประโยชน์ ทำลายความมั่นคง ซึ่งทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็น กอ.รมน. ศอ.บต. และ พ.ต.ท. ต่างมีนโยบาย ปฏิบัติเพื่อให้พื้นที่เกิดความสงบสุข แต่ทั้งนี้ต้องได้รับความร่วมมือกับสื่อมวลชลในพื้นที่ด้วย
นายรพี มามะ ผู้สื่อข่าวภูมิภาค จ.นราธิวาส ได้แสดงความเห็นว่า สื่อมวลชนได้ทำหน้าที่ ได้ดีแล้วระดับหนึ่ง และเข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้น อย่างการใช้คำ การก่อการร้าย เลี่ยงเขียนเป็น ผู้ก่อความไม่สงบ, ผู้ก่อการร้ายก็เขียนเป็น กลุ่มคนร้าย หรือผู้ไม่หวังดี เท่านั้น ทั้งนี้ไม่ต้องการให้ปัญหาในพื้นที่ ถูกต่างชาติ นำไปขยายเปรียบเทียบเป็นการก่อการร้ายสากล ในส่วนข่าวเชิงบวก และ สร้างสรรค์ ยังได้รับความมือกับทางส่วนราชการในพื้นที่น้อยมาก จึงควรแก้ไข ซึ่งเชื่อมั่นว่า สื่อพร้อมใจให้ความร่วมมือ ทั้งนี้ทางราชการต้องเดินหน้าในเชิงรุกด้วย