xs
xsm
sm
md
lg

“Entry Thailand” ระบบเว็บท่า ช่วยลดขั้นตอนเดินทางเข้าประเทศนักท่องเที่ยวต่างชาติ รับมือเปิดประเทศปลายปี

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และศูนย์ปฏิบัติการ ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (คปก.ศบค.) ร่วมกับหน่วยงานวิจัย สกสว.แก้ปัญหาการเชื่อมโยงระบบของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาวิธีการเดินทางเข้าประเทศไทยของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ รับการเปิดประเทศในช่วงไฮซีซันปลายปี โดยการพัฒนาระบบเว็บท่า (Web Portal) ในชื่อ “Entry Thailand” ที่เป็นมากกว่าการแสดงรายละเอียดการเดินทางเข้าประเทศไทยในแบบเดิม

นายมงคล วิมลรัตน์ ผู้ช่วยปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ได้ให้การสนับสนุนผ่านข้อมูลฐานในการจัดทำแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) สำหรับ “Entry Thailand” เป็นส่วนหนึ่งโครงการรับมือของภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจากการแพร่ระบาดไวรัส Covid-19 พร้อมกับการพัฒนานวัตกรรมด้านการท่องเที่ยวในกิจกรรมการพัฒนาข้อมูลดิจิทัลและบริการของประเทศ

ทั้งนี้ สืบเนื่องมาจากผู้ที่ต้องการเดินทางเข้าประเทศเจอปัญหาต่างๆ เช่น 1. นักท่องเที่ยว จะพบหลายขั้นตอน หากใช้บริการผ่านเว็บไซต์ของกระทรวงและหน่วยงานต่างๆ เช่น การขอรับหนังสือรับรองการเดินทางเข้าประเทศไทย หรือ Certificate of Entry : COE (ปัจจุบันมีการยกเลิก) การซื้อประกันสุขภาพ การจองตั๋วเครื่องบิน การจองที่พักสถานกักกันโรคทางเลือก ฯลฯ 2. ผู้ประกอบการที่พักสถานกักกันโรคทางเลือก การเกิดความสับสนและสูญเสียโอกาสจากการที่ผู้จองถูกยกเลิกหนังสือรับรองการเดินทางเข้าประเทศไทย (COE) หรือยกเลิกการเดินทาง โดยไม่แจ้งให้ผู้ประกอบการทราบล่วงหน้า และ 3. การรายงานข้อมูลต่างๆ อาจเกิดความล่าช้า หรือสับสน เนื่องจากข้อมูลที่ได้รับมาจากหลากหลายแหล่งและไม่เป็นปัจจุบัน รวมทั้งอาจทำให้เกิดความผิดพลาดในการเก็บรวบรวมข้อมูลและการเผยแพร่ที่ทำให้เกิดความสับสน

จากปัญหาดังกล่าว “Entry Thailand” (www.entrythailand.go.th) จะสรุปขั้นตอนการขออนุญาตเดินทางเข้าประเทศ พร้อมกับรวบรวมลิงก์เว็บไซต์และข้อมูลสำคัญเชื่อมโยงระบบต่างๆ เข้าไว้ด้วยกัน เช่น ระบบการขอหนังสือรับรองการเดินทางเข้าประเทศ ระบบขายประกัน และระบบจองสถานที่กักตัวทางเลือก ASQ (Alternative State Quarantine) และ ALQ (Alternative Local Quarantine) รวมทั้งโรงแรมที่ได้มาตรฐาน SHA+ (Safety and Health Administration Plus)


นอกจากนี้ ระบบยังมีความยืดหยุ่นในการปรับเปลี่ยนตามมาตรการของรัฐบาล ป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น หากผู้ต้องการเดินทางเข้าประเทศยกเลิกหรือถูกปฏิเสธการขอรับหนังสือรับรองการเดินทางเข้าประเทศไทย อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มช่องทางการเสนอขายที่พักให้แก่นักท่องเที่ยว ที่สำคัญ ข้อมูลทั้งหมดหากนำมาจัดเก็บอย่างเป็นระบบ ใช้เป็นฐานข้อมูล และพัฒนาเป็น Big Data ที่ภาครัฐเองสามารถนำข้อมูลในระบบไปใช้ในการวิเคราะห์และจัดทำรายงานต่างๆ ได้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการบริหารจัดการในภาพรวมกับการเปิดประเทศระยะต่อไป

อย่างไรก็ดี ระบบทางเลือกที่นำไปสู่ทางรอด คือการใช้ประโยชน์ที่ได้จากข้อสรุป ข้อติดขัด และจุดบกพร่องจากจังหวัดภูเก็ต ซึ่งเป็นจังหวัดนำร่อง Phuket Sandbox โดยเริ่มเปิดให้ผู้เดินทางจากต่างประเทศเข้ามาที่จังหวัดภูเก็ตตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2564 เป็นต้นไป ผ่านการลงทะเบียนในระบบ Entry Thailand ตั้งแต่วันที่ 7 เมษายน 2564 จนถึงวันที่ 7 ตุลาคม 2564 มีผู้ให้ความสนใจเข้ามาใช้งานระบบกว่า 100,000 คนจากทั่วโลก และมีการจองสถานที่กักตัวทางเลือกกว่า 304 รายการจอง คิดเป็นจำนวนเงินกว่า 11 ล้านบาท

ทั้งนี้ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาคาดการณ์ว่า ในไฮซีซันปลายปีจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาภูเก็ตจำนวนกว่า 200,000 คน ซึ่งส่งต่อระบบไปยังพื้นที่อื่น ไม่ว่าจะเป็นพัทยา เชียงใหม่ กรุงเทพฯ หัวหิน ฯลฯ ที่ประชาชนในพื้นที่ฉีดวัคซีนได้ครบ 70% ตามเงื่อนไขการเปิดเมือง ซึ่งการพัฒนาระบบการรับมือของภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจากการแพร่ระบาดไวรัส Covid-19 ศ.(พิเศษ) ได้รับมอบหมายจาก ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (รมว.อว.) ให้ สกสว.ในฐานะหน่วยงานที่มีบทบาทหน้าที่จัดทำแผนด้าน ววน. ให้จัดทำแผนและกรอบงบประมาณที่จะสนับสนุนให้เกิดยุทธศาสตร์การท่องเที่ยว Sustainable Tourism Master Plan


กำลังโหลดความคิดเห็น