xs
xsm
sm
md
lg

นายกฯ ปลุกภาครัฐ เอกชน ผปก. ผนึกพลังพา SMEs ฝ่าวิกฤต ศก.

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี      กล่าวในการปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ  “ขับเคลื่อน SMEs ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย”
นายกฯ ปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ “ขับเคลื่อน SMEs ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย” ระบุรัฐบาลให้ความสำคัญต่อเอสเอ็มอีอย่างสูงสุด วอนทุกฝ่าย ทั้งภาครัฐ เอกชน และผู้ประกอบการร่วมเดินหน้าฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจไปด้วยกัน แนะเข้าระบบเพื่อช่วยเหลือ ไม่มีการตรวจภาษีย้อนหลัง

พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวในการปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ “ขับเคลื่อน SMEs ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย” ว่า รัฐบาลพยายามจะทำทุกอย่างเพื่อช่วยเหลือเอสเอ็มอี และประชาชนมีความเข้มแข็ง ที่ผ่านมา ประเทศไทยเสียเวลามามากพอแล้ว ในการจัดการปัญหาต่างๆ เวลานี้ ตนพยายามลดบทบาทของตัวเองลง หันมาสร้างแรงบันดาลใจให้แก่ทุกท่าน ให้เอกชนเป็นผู้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลจะสร้างความพร้อมในทุกด้าน วันนี้ ขอให้คำมั่นสัญญาว่าจะทั้งภาครัฐและเอกชนจตะช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

นายกฯ กล่าวต่อว่า เอสเอ็มอีมีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของทุกประเทศ แต่ที่ผ่านมาการขับเคลื่อนค่อนข้างช้า ดังนั้น ต้องฝากความหวังไว้ที่ภาคเอกชนที่เป็นรายใหญ่ ช่วยพารายเล็กๆ ให้เติบโตขึ้นไป ซึ่งวันนี้ เอสเอ็มอีไทยมีแต่กลุ่มย่อยและเล็ก ไม่สามารถเติบโตเสียที เพราะแก้ปัญหาไม่จบ ดังนั้น เราต้องช่วยกันทุกฝ่าย ไม่แบ่งพรรคแบ่งพวก

“เอสเอ็มอีมีจำนวนกว่า 2.9 ล้านราย หรือมากกว่า 90% ของผู้ประกอบการทั่วประเทศ ดังนั้น ทุกวันนี้ เราต้องมาทบทวนว่าการขับเคลื่อนร่วมกำลังเพื่อผ่านพ้นช่วยเวลาลำบากนี้ไปด้วยกันอย่างไร ผมอย่างเปรียบเอสเอ็มอี เหมือนการปลูกต้นไม้เล็กๆ ช่วงแรกเราต้องอยู่ภายใต้ร่มไม้ใหญ่ และประคับประคองไปด้วยกัน เชื่อมโยงเล็กและใหญ่ เพื่อแข็งแรงแล้ว จึงจะเติบโตได้เอง”

พลเอกประยุทธ์ กล่าวต่อว่า โลกได้เปลี่ยนไปแล้ว ดิจิทัลอีโคโนมีจะมาช่วยเอสเอ็มอี ทั้งเพิ่มความรู้ ขยายการค้า อย่างไรก็ตาม ทุกด้านต้องทำพร้อมๆ กันทั้งระบบ เพราะปัจจุบัน ยอดขายทั่วโลกตกเหมือนกันหมด แต่เมืองไทยนับว่ายอดตกน้อยที่สุด ถ้าเอสเอ็มอีสามารถสร้างความเข้มแข็งด้วยตัวเอง ให้คู่ค้ามีการความเชื่อมั่น ไม่ต้องรอแต่ละพึ่งไม้ใหญ่ตลอดไป แบบนี้จะทำให้เราไปได้ไม่ถึงไหน” นายกฯ ระบุ

นอกจากนั้น แนะว่า เอสเอ็มอีต้องเสริมการสร้างมาตรฐาน รวมถึง พัฒนาระบบบัญชี บางคนไม่เข้าใจทำไปทำไม แต่ประโยชน์ของการทำบัญชี เพื่อให้ท่านรู้ว่า เงินท่านหายไปไหน และควรใช้จ่ายเงินเท่าที่จำเป็น

นายกฯ กล่าวต่อว่า เราต้องเปลี่ยนความคิดในการทำธุรกิจ เน้นการสร้างนวัตกรรม ควบคู่สร้างมาตรฐาน ให้ความต้องการซื้อและขายสอดคล้องกัน นอกจากนั้น เราต้องคิดถึงการนำเอสเอ็มอีเข้าสู่ระบบ อย่าไปกลัวว่า จะเก็บภาษีย้อนหลัง เพราะไม่เคยพูดว่าตรวจย้อนหลังเลย แต่การเข้าสู่ระบบจะทำให้ท่านมีประวัติทางการเงิน เพื่อให้เข้าถึงแหล่งสถาบันการเงินได้

อีกทั้ง ต้องส่งเสริมให้เกิดการตลาดในทุกระดับ รวมถึง ส่งเสริมด้านการพัฒนาบุคลากรให้ตรงกับตลาดแรงงาน เพราะประเทศไทยขาดบุคลากรที่ตลาดต้องการ โดยเฉพาะด้านอาชีวะ ซึ่งควรจะมีจำนวนมากกว่านี้ ส่วนการสร้างนวัตกรรม ต้องพัฒนาเช่นกัน เพราะที่ผ่านมายังไม่ดีมากนัก ขายเหมือนพ่อแม่ไม่ได้เปลี่ยนแปลง อย่างไรก็ตาม บางคนกลับทำได้ดี มีการตลาดชัดเจน ผลิตสินค้าภายใต้ตรา นอกจากนั้น ตนกำลังคิดถึงการสร้างแบรนด์ของรัฐบาล ซึ่งไม่กระทบแข่งกับภาคเอกชน เช่น ยาสีฟันยี่ห้อ “สมคิด” เป็นต้น



“การผลิตก็ทำแต่ตามเขา ไม่ได้มีดีไซน์ หรือการพัฒนามากเท่าที่ควร ดังนั้น ต้องหันมาเน้นนำวัตถุดิบที่มีอยู่ในประเทศให้เพิ่มมูลค่า เกิดการเชื่อมโยงทั้งระบบ ไม่ใช่เคยทำอย่างไรก็ทำอยู่อย่างนั้น รวมถึง นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วย อย่างอีคอมเมิร์ซ ซึ่งที่ผ่านมายังน้อยเกินไป”

นายกฯ เผยด้วยว่า ทุกวันนี้ อยากให้ผู้ประกอบการคิดถึงการภูมิคุ้มกันที่ดี อย่าไปคิดว่ารวยง่ายๆ แต่คิดว่าทำอย่างไรจะเข้มแข็งและยั่งยืนมากกว่า ซึ่งรัฐบาลพยายามคิดว่าท่านขาดอะไรบ้าง เพื่อจะดูแลได้ทั่วถึงทั้งหมด แม้งบประมาณจะจำกัด แต่เราจะทำให้ดีที่สุด ขอให้ไว้วางใจระหว่างกัน และขอให้เชื่อว่า รัฐบาลให้ความสำคัญ ต่อเอสเอ็มอี ซึ่งเป็นกระดูกสันหลังของเศรษฐกิจชาติ

ทั้งนี้ ได้เร่งรัดหน่วยงานต่างๆ ให้ศูนย์รวมการช่วยเหลือเอสเอ็มอีให้อยู่ได้จุดเดียว ให้เอสเอ็มอีเข้าถึงทรัพยากรที่จำกัด ได้อย่างทั่วถึง เพราะที่ผ่านมา หน่วยงานของไทยขาดการเชื่อมโยง ข้าราชการและเอสเอ็มอี ต้องปรับตัวเข้าหากัน

“เราต้องเปิดตา เปิดหู ถึงผมจะเป็นคนใจร้อนอย่างนี้ ผมก็ฟังคน ถ้าคิดแบบคนรวยไม่มีทางทำอะไรได้ แต่ผมคิดอย่างคนจน เพราะผมเคยอยู่กับคนจนมาตลอด ตั้งแต่ตอนเป็นทหารเล็กๆ เงิน 10 บาทตามชายแดนยังหาไม่ได้ ดังนั้น เราหากิจกรรมที่สร้างรายได้ทุกพื้นที่ ประเทศต้องหาทางการสร้างได้จากชุมชน ซึ่งเอสเอ็มอีจะมีส่วนมาเชื่อมโยง”

นายกฯ ระบุด้วยว่า สำหรับมาตรการช่วยเหลือเอสเอ็มอีที่ออกมา เช่น โครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ วงเงิน 1 แสนล้านบาท ให้ บสย.ค้ำประกัน ลดอัตราภาษีนิติบุคคล เหลือร้อยละ 10 ต่อปี และภาษีส่งเสริมผู้ประกอบการรายใหม่ เป็นต้น เพื่อให้เอสเอ็มอีก้าวเดินต่อไปจะ และเพื่อให้เกิดการลงทุนในปี 2558-59 ต้องการให้เกิดกิจกรรมการลงทุนใหม่ เพื่อเชื่อมโยงกับเอสเอ็มอี

พลเอกประยุทธ์ กล่าวด้วยว่า การทำงานตรงนี้ ทำด้วยความตั้งใจ ใครจะชอบใคร เกลียดใคร ตนก็ไม่ว่า แต่ต้องคิดถึงประเทศมาก่อน ซึ่งต้องขอโทษที่นำพวกท่านมาเสี่ยงในสถานการณ์เช่นนี้ แต่ถ้าไม่ทำ ก็ไม่ได้ ดังนั้น ทุกวันนี้ อยากให้ทุกคนเข้าใจ และร่วมกันพาประเทศไทยไปข้างหน้าด้วยกัน เพราะผมทำคนเดียวไม่ได้

ทั้งนี้ ภายในงาน พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในโครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs ระหว่างธนาคารออมสินกับธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ รวมทั้ง การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือภายใต้โครงการค้ำประกันสินเชื่อในลักษณะ Portfolio Guarantee Scheme ระยะที่ 5 (ปรับปรุงใหม่) ระหว่างบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) และ ธนาคารพาณิชย์ ซึ่งเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี ในเรื่องมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ในด้านสินเชื่อเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของ SMEs จากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวด้วย

* * * คลิก Like เพื่อมาเป็นแฟนเพจของหน้า “SME ผู้จัดการออนไลน์” รับข่าวสารในแวดวงธุรกิจเอสเอ็มอีที่สมบูรณ์แบบที่สุด และร่วมสนุกกับกิจกรรมลุ้นรับของรางวัลมากมาย คลิกที่นี่เลย!! * * *


ม.เกษตรกวักมือเรียก “เอสเอ็มอี” ธุรกิจมีปัญหาเข้ามาปรึกษาฟรี!
ม.เกษตรกวักมือเรียก “เอสเอ็มอี” ธุรกิจมีปัญหาเข้ามาปรึกษาฟรี!
ผู้อำนวยการหลักสูตรวิชาชีพที่ปรึกษาธุรกิจ (วปธ.) ม.เกษตรฯ เปิดใจ ปัญหา SMEs ไทยไปไม่ถึงดวงดาว เพราะขาดโค้ชมาช่วยแนะเรื่องลดต้นทุน สร้างธุรกิจให้มีกำไร รัฐบาลเน้นปั้นที่ปรึกษาเชิงลึกเข้าช่วย SMEs สร้างขีดความสามารถในการแข่งขันตอบสนองเอสเอ็มอีวาระแห่งชาติ โดย ม.เกษตรฯ รับภารกิจสร้างหลักสูตร-ผลิตวิชาชีพที่ปรึกษาธุรกิจป้อนเข้าสู่ตลาด ขณะเดียวกันอาชีพ “รับหลักประกันธุรกิจ” ตาม พ.ร.บ.หลักประกันทางธุรกิจ จะเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่สำคัญ ชี้ 2 วิชาชีพจับมือช่วยธุรกิจเอสเอ็มอีได้แน่ แนะเอสเอ็มอีมีปัญหาไปใช้บริการที่ปรึกษาได้ฟรี!
กำลังโหลดความคิดเห็น