การก้าวข้ามจากกับดักประเทศรายได้ปานกลาง (Middle income trap) เพื่อไปสู่ความเป็นประเทศรายได้สูง นับเป็นความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ของประเทศไทย ทั้งนี้ ไทยได้คงสถานะความเป็นประเทศรายได้ปานกลางมากว่า 37 ปี และอาจจะต้องอยู่ในสถานะแบบนี้ไปอย่างต่อเนื่อง ตราบเท่าที่ไทยยังไม่สามารถแก้ไขโจทย์ใหญ่ของประเทศ 6 ประการ ซึ่งได้แก่
1. การลงทุนที่ยังอยู่ในระดับที่ต่ำ
2. ค่าจ้างที่แท้จริงไม่เพิ่มขึ้น
3. ปัญหาในการยกระดับมูลค่าสินค้ายังมีอยู่มาก
4. การสร้างหัวเมืองใหม่ และคลัสเตอร์อุตสาหกรรมยังไม่สัมฤทธิผล
5. การผลิตแรงงานที่มีทักษะและความรู้ซึ่งยังไม่ตรงต่อความต้องการของตลาด
6. การใช้พลังงานที่สิ้นเปลือง
โจทย์ SME .... โจทย์ประเทศ SME ถือเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของ
ประเทศ เนื่องจาก SME ช่วยสร้างให้เกิดการจ้างงานมากถึง 84% ของการจ้างงานรวมทั้ง
ประเทศ หาก SME เติบโต เศรษฐกิจของประเทศก็จะดีตามไปด้วย และหาก SME
ประสบปัญหาเศรษฐกิจของประเทศย่อมได้รับผลกระทบในเชิงลบด้วยเช่นกัน ทั้งนี้
โจทย์ใหญ่ๆ ของ SME ที่ส่งผลสะท้อนเกี่ยวเนื่องกับโจทย์ประเทศ ได้แก่
1. ประเทศไทยยังขาด SME ขนาดกลางอยู่มาก
2. ผลิตภาพแรงงานของ SME อยู่ในระดับต่ำ
3. SME ยังขาดความสนใจในการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อยกระดับมูลค่าสินค้า
4. SME ยังกระจุกตัวอยู่ในเขตกรุงเทพฯ ไม่ได้ขยายตัวไปยังหัวเมืองอื่นๆ มากนัก
หากแก้โจทย์ SME ได้ก็เหมือนช่วยแก้โจทย์ของประเทศ แต่ก่อนอื่นเราต้องขจัด
อุปสรรคของ SME ให้ได้เสียก่อน หากนำโจทย์ของประเทศมาเทียบเคียงกับโจทย์ SME
จะเห็นว่าหากเราสามารถแก้ไขโจทย์ SME ได้ โจทย์ของประเทศก็จะได้รับการแก้ไขไปด้วย
อย่างไรก็ดี เราต้องยอมรับว่าโจทย์ SME เป็นเรื่องที่แก้ไขได้ไม่ง่ายนัก เนื่องจาก SME เองก็
ยังคงมีอุปสรรคหลายประการที่เผชิญอยู่
โจทย์ SME ... โจทย์ประเทศ Thailand Future Foundation: SME Agenda
จากการใช้กรอบการวิเคราะห์ (Diagnostic framework) ทำให้เราทราบถึงอุปสรรคต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนา SME ตามลำดับความสำคัญที่ควรต้องเร่งแก้ไขดังต่อไปนี้
1. ข้อจำกัดในการเข้าถึงข้อมูล หรือองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจหรือ
ดำเนินการของ SME
2. ข้อจำกัดในการเข้าถึงนวัตกรรมและเทคโนโลยี
3. ข้อจำกัดในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน
4. การส่งผ่านธุรกิจครอบครัว (Family business) ที่เริ่มมีอัตราการอยู่รอดน้อยลง
อย่างไรก็ดี แต่ละภาคส่วนสามารถร่วมแก้ไขอุปสรรคได้ ไม่ว่าจะเป็นภาคเอกชน / SME
หรือภาครัฐ หรือภาควิชาการก็ตาม โดยต้องเลือกให้ความสำคัญต่อเรื่องที่แต่ละภาคส่วน
สามารถทำหรือดำเนินการเพื่อแก้ไขได้ เช่น ภาคเอกชน / SME ควรให้ความสำคัญต่อ “วิธีหรือ
กระบวนการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ” ในขณะที่ภาครัฐควรเน้นการทำงานร่วมกันระหว่าง
หน่วยงานที่สนับสนุน SME อย่าง “บูรณาการระหว่างกัน” ส่วนภาควิชาการต้องให้ความสำคัญต่อการพัฒนาระบบการศึกษาหรือหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับการบริหารธุรกิจครอบครัวอย่างยั่งยืน และสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ที่มีประสิทธิภาพ เป็นต้น
ที่มา : สถาบันอนาคตไทยศึกษา 2013
* * * คลิก Like เพื่อมาเป็นแฟนเพจของหน้า “SME ผู้จัดการออนไลน์” รับข่าวสารในแวดวงธุรกิจเอสเอ็มอีที่สมบูรณ์แบบที่สุด และร่วมสนุกกับกิจกรรมลุ้นรับของรางวัลมากมาย คลิกที่นี่เลย!! * * *