xs
xsm
sm
md
lg

เปิดมุมมองคนรุ่นใหม่ สืบทอดกิจการฟาร์มโคนม ภายใต้บ่มเพาะ อสค.

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ทางอสค.เข้าไปจัดกิจกรรมภายในโรงเรียนๆละ 1 วัน
เกษตรกรรม เป็นอาชีพที่น้องๆ เยาวชนคนรุ่นใหม่ มองว่า เป็นอาชีพที่ลำบาก และต่ำต้อย แต่ปัจจุบัน อาชีพเกษตรกรรม เป็นอาชีพที่คนมีเงินเท่านั้น ถึงทำได้ เพราะพื้นที่ดินราคาแพง ทำให้ที่ดินตกเป็นของคนมีเงินเท่านั้น และจะได้เห็นเถ้าแก่หน้าใหม่ หันไปพึ่งพา และได้ดิบได้ดี เป็นเศรษฐีกับอาชีพเกษตรกรรมกันเป็นจำนวนมาก

หลายครั้งที่ได้ดูละคร หลายคนคงจะฝันอยากจะเป็นเจ้าของฟาร์มโคนม แต่สำหรับเยาชน น้องที่อำเภอหมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี แหล่งผลิตโคนมสำคัญของประเทศ น้องๆ กลับมองการเป็นเจ้าของฟาร์มโคนม เป็นอาชีพของเด็กบ้านนอก ไม่มีเกียรติ เหมือนการเข้ารับราชการ ด้วยเหตุนี้ ทางองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อสค.) จึงได้จัดกิจกรรม บ่มเพาะเยาวชนคนรุ่นใหม่ เพื่อให้น้องๆ ได้เห็นความสำคัญของอาชีพการเลี้ยงโคนม
นายสัตวแพทย์ไพโรจน์ อัมพวันวงศ์ หัวหน้ากองพัฒนาการเลี้ยงโคนม
ปรับแนวคิดคนรุ่นใหม่เป็นเถ้าแก่สืบทอดอาชีพการเกษตร
 
นายสัตวแพทย์ไพโรจน์ อัมพวันวงศ์ หัวหน้ากองพัฒนาการเลี้ยงโคนม ฝ่ายวิจัยและพัฒนาการเลี้ยงโคนมของอสค. กล่าวว่า สำหรับกิจกรรมบ่มเพาะเยาวชนคนรุ่นใหม่ ดำเนินการมาปีนี้เป็นปีที่ 3 จุดประสงค์ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้เยาวชน ทำพันธกิจร่วมโรงเรียน ในการสืบทอดอาชีพการเลี้ยงโคนม อาชีพพระราชทาน และเนื่องจากเป็นอาชีพที่ค่อนข้างลำบาก ทำให้หลายๆ คนไม่ต้องการจะสืบทอดทำต่อ ที่ผ่านมา พบว่า พอตกทอดมาถึงรุ่นลูก และเลิกกิจการไปจำนวนมาก จึงได้มีโครงการนี้ ขึ้นมา โดยตั้งเป้าปีละ 15 โรงเรียน ภายในระยะเวลา 5 ปี ในพื้นที่ ที่อสค. เข้าไปตั้งโรงงาน ตั้งเป้าว่า จะมีเยาชน เห็นถึงความสำคัญและสืบทอดกิจการ หรือ ทำฟาร์มโคนม โรงเรียนละ 1-2 รายเท่านั้น
คุณหมอสอนการรีดนมแก่นักเรียน
ส่วนแนวทางการทำฟาร์มโคนม บ่มเพาะเยาวชนคนรุ่นใหม่ มุ่งเป้าการทำฟาร์มที่พึ่งพาอาหารตามธรรมชาติ อย่าง หญ้าสายพันธุ์เนเปีย ข้าวโพดอ่อน มันสำปะหลัง ปัญหาในระยะหลังที่เกษตรกรไม่ให้ความสำคัญกับอาหารตามธรรมชาติ เพราะสินค้าเกษตรที่มีราคาสูงขึ้น และไม่มีพื้นที่การปลูกหญ้า ทำให้หันไปเลี้ยงอาหารสำเร็จรูป ส่งผลต่อคุณภาพน้ำนมดิบที่ได้ไม่เข้มข้น ถ้าเป็นไปได้อยากเห็นเกษตรกรหันมาเลี้ยงในรูปแบบของฟาร์ออร์แกนิค เพราะกำลังเป็นที่ต้องการของตลาดคนรักษ์สุขภาพทั้งในประเทศ และต่างประเทศ
นางสาว มณีนุช แสงพันธ์ ทายาทธุรกิจ
เมื่อน้องเยาวชน ตัดสินใจสืบทอดกิจการฟาร์มโคนม

นางสาว มณีนุช แสงพันธ์ และนางสาวอรพิน อกอุ่น น้องนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนหมวกเหล็กวิทยาคม จังหวัดสระบุรี ทายาทเจ้าของกิจการฟาร์มโคนม ขนาดเล็กในอำเภอหมวกเหล็ก ได้มาถ่ายประสบการณ์การทำงานในอาชีพฟาร์โคนม และความสำเร็จของอาชีพนี้ ให้ฟังว่า

มณีนุช เล่าว่า สำหรับฟาร์มโคนม ของที่บ้าน มีวัว ที่สามารถรีดนมได้ประมาณ 20 ปี เลี้ยงอยู่บนพื้นที่ประมาณ 1 ไร่ เป็นอาชีพของพ่อ แม่ มานานกว่า 10 ปี ซึ่งเป็นอาชีพที่ถือว่า ค่อนข้างจะลำบากมาก เพราะต้องตื่นตั้งแต่ตี 5 เพื่อมาช่วยพ่อ แม่ ในการเตรียมอาหาร จ่ายอาหารให้วัว และ เตรียมเครื่องรีดนม ก่อนที่จะมาโรงเรียน ซึ่งทำการช่วยเหลือ พ่อ แม่ตรงนี้ ทำมาตั้งแต่เรียนชั้นประถม พอมาถึงเวลานี้ โตมากขึ้น ความรับผิดชอบในฟาร์ม ก็มากขึ้นตามไปด้วย แต่เมื่อมองย้อนกลับไป เป็นอาชีพที่เราเป็นนายตัวเอง ไม่ต้องไปเป็นลูกจ้าง

“อย่างไรก็ตาม ครอบครัวต้องการให้เราได้ทำงานที่สบายกว่านี้ จึงอยากให้เรียนหนังสือสูง ๆ เพื่อจะได้มีโอกาสเข้ารับราชการ และตนเองก็ตั้งใจเช่นนั้น ต้องการจะเข้ารับราชการ แต่ก็คงยังให้ความสำคัญกับอาชีพตรงนี้อยู่ โดยจะต้องสืบทอดกิจการ ซึ่งถ้าได้ทำงานเป็นข้าราชการจริง ก็คงต้องจ้างคนมาช่วยงานในฟาร์ม แต่ถ้าไม่ได้ทำงานราชการ ก็คงจะได้มาสืบทอดกิจการตรงนี้อย่างเต็มตัว ส่วนรายได้ต่อเดือนประมาณ 8 หมื่นบาท หักค่าใช้จ่าย เหลือประมาณ 3 หมื่น ถึง 4 หมื่นบาท
นางสาวอรพิน อกอุ่น ทายาทเจ้าของฟาร์มนักเรียนโรงเรียนหมวกเหล็ก
อย่ามองข้ามอาชีพเกษตรกรรม ยุคค่าครองชีพสูง

 
น้องอรพิน เพื่อนร่วมชั้นเรียน เข้าร่วมกิจกรรมบ่มเพาะเยาวชน คนรุ่นใหม่ เล่าว่า ทางบ้านทำกิจการฟาร์มโคนมกันทุกคน เริ่มจากพ่อ กับแม่ ทำมาก่อน และ ตนเองและพี่ชาย มาช่วยที่บ้าน ทำฟาร์ม ปัจจุบันพี่ชายได้ไปเปิดฟาร์มเลี้ยงอีกหนึ่งแห่ง มีวัวอยู่ประมาณ 30 ตัว แต่ในส่วนของพ่อ แม่ ที่ตนเองดูแล จะมีวัว เพียงแค่ 10 ตัว โดยเลี้ยงอยู่บนพื้นที่ประมาณ 20 ไร่ ส่วนรายได้ต่อเดือนของพี่ชายและของตนเอง ประมาณแสนบาทต่อเดือน
น้องอรพิน สาธิตการรีดนมให้เพื่อนๆดู
สำหรับหน้าที่ในฟาร์ม ช่วยพ่อ แม่ ทำทุกอย่าง ตั้งแต่เตรียมอาหาร เตรียมเครื่องรีด ถ้าวันไหนไม่ได้ไปเรียนช่วยรีดนมด้วย ทำทุกอย่างที่พ่อ แม่ทำ สามารถทำได้หมด ซึ่งตนเองตั้งใจจะเข้ามารับช่วงดูแลกิจการต่อจากพ่อ แม่ โดยหลังจากเรียนจบ ม.6 ตั้งใจจะไปสอบเข้าคณะเกษตรศาสตร์ หรือ สัตวแพทย์ เพื่อที่จะได้ออกมาช่วยเหลือดูแลวัวในฟาร์ม ให้ได้ผลผลิตนม และขยายกิจการฟาร์มให้ใหญ่ รวมถึงจะได้เข้าไปช่วยพี่ชายดูแลวัวภายในฟาร์ม ด้วย เพราะปัญหาตอนนี้ คือ ต้องใช้จ่ายกับการจ้างสัตวแพทย์ มาดูแลวัวในฟาร์มทั้งสองแห่ง ราคาค่อนข้างสูง ถ้าเรียนจบมา น่าจะช่วยแบ่งเบาตรงนี้ ทำให้ได้กำไรมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน เพื่อน พี่ น้อง ที่พ่อ แม่มีกิจการฟาร์มโคนม ส่วนใหญ่ ไม่ต้องการที่จะทำต่อ เพราะเป็นอาชีพที่เหนื่อย และต้องทำทั้งวัน และทำทุกวัน ไม่มีเวลาไปสนุกสนาน เหมือนกับเพื่อนคนอื่นๆ ในวัยเดียวกัน เหตุนี้ หลายคน จึงไม่อยากทำอาชีพนี้ต่อ อยากจะไปทำงานข้าราชการ หรือ ไปทำงานบริษัทมากกว่า แม้ว่าตรงนี้จะมีรายได้ดีกว่าก็ตาม

โทร. 08-7065-5267 ,082-230-2219

* * * คลิก Like เพื่อมาเป็นแฟนเพจของหน้า "SME ผู้จัดการออนไลน์" รับข่าวสารในแวดวงธุรกิจเอสเอ็มอีที่สมบูรณ์แบบที่สุด และร่วมสนุกกับกิจกรรมลุ้นรับของรางวัลมากมายคลิกที่นี่เลย!! * * *
กำลังโหลดความคิดเห็น