xs
xsm
sm
md
lg

ข้าวแต๋นขนมพื้นบ้านร้อยล้าน ขึ้นแท่นสแน็กไทยเบอร์หนึ่ง

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ข้าวแต๋นแม่บัวจันทร์
ข้าวแต๋น ขนมพื้นบ้านทางภาคเหนือที่นำเอาข้าวเหนียววัตถุดิบหลักในพื้นที่มาผลิตและแปรรูป ซึ่งเป็นการถนอมอาหารวิธีหนึ่ง แต่ปัจจุบันมิใช่เพียงขนมพื้นบ้านอีกต่อไป เมื่อผู้ผลิตข้าวแต๋นน้ำแตงโมภายใต้แบรนด์ “แม่บัวจันทร์” ได้ปรับโฉมหน้าผลิตภัณฑ์ข้าวแต๋นให้มีความหลากหลาย ทั้งรูปแบบและรสชาติกลายเป็น “ข้าวแต๋นวาไรตี้” อาทิ หน้า โดนัท , ธัญพืชรวม , สาหร่ายสไปซี่ , หมูหยอง ฯลฯ เพื่อขยายตลาดผู้บริโภคไปยังกลุ่มวัยรุ่น และกลุ่มตลาดบน รวมถึงตลาดส่งออก
นายสุธาณี  เยาวพัฒน์  เจ้าของข้าวแต๋นแม่บัวจันทร์ 2
ปัจจุบันข้าวแต๋นแม่บัวจันทร์ สามารถครองส่วนแบ่งตลาดในประเทศได้ถึงร้อยละ80 กระจายอยู่ทั่วประเทศ ผ่านตัวแทนจำหน่ายในแต่ละภาค นอกจากนี้ยังรับผลิตตามออร์เดอร์ ส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศอย่างต่อเนื่องกว่า 27 ประเทศ ทั้งในเอเชีย ยุโรป และสหรัฐฯ

นายสุธาณี เยาวพัฒน์ กรรมการผู้จัดการ ห้างหุ้นส่วนสามัญข้าวแต๋นแม่บัวจันทร์ 2 เปิดเผยว่า ข้าวแต๋นแม่บัวจันทร์ เป็นการรวมตัวของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านทุ่งม่านเหนือ ต.บ้านเป้า อ.เมือง จ.ลำปาง ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2538 จากโรงงานเล็กๆ ที่ต้องอาศัยกำลังการผลิตในชุมชน ได้มีการพัฒนาเรื่องคุณภาพสินค้า และช่องทางการจัดจำหน่าย จนวันนี้ มีโรงงานแห่งที่ 2 กำลังการผลิตออกสู่ตลาดถึงวันละ 4 ตัน ผลประกอบการโตขึ้นเฉลี่ยปีละ 30 % จากรายได้ 300,000 บาทเมื่อปี 2538 ปัจจุบันมีรายได้ไม่ต่ำกว่า 1,000,000 บาท

บรรจุภัณฑ์เพื่อส่งออกไปขายตปท.และเป็นของฝาก
จากความต้องการที่เพิ่มขึ้นทำให้กำลังการผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด โดยเฉพาะในขั้นตอนการตากแผ่นข้าวแต๋นดิบต้องอาศัยแสงแดดจากธรรมชาติจึงขึ้นอยู่กับสภาพดินฟ้าอากาศ หากฝนตกหรือวันใดที่ไม่มีแดดจะต้องใช้เวลาในการตากนานขึ้น ส่งผลต่อกระบวนการผลิตอื่นๆ โดยเฉพาะการส่งมอบสินค้าสำหรับออร์เดอร์ต่างประเทศ ขณะที่ยอดความต้องการในประเทศเองมีปริมาณเพิ่มขึ้นเช่นกัน จึงต้องการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้แก้ปัญหาดังกล่าว
ส่วนผสมของข้าวแต๋น
จึงได้มาขอความช่วยเหลือ จาก“ โครงการการปรับปรุงประสิทธิภาพการอบแห้งข้าวแต๋นด้วยโรงอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ ” ภายใต้ความช่วยเหลือและสนับสนุนจากโครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย (iTAP) ในสังกัดศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดย iTAP ได้เชิญ รศ. ดร. เสริม จันทร์ฉาย อาจารย์จากภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการอบแห้งด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ มาช่วยพัฒนาโรงอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบกรีนเฮาส์สำหรับการอบแห้งแผ่นข้าวแต๋นดิบจนประสบความสำเร็จ
ข้าวแต๋นตากในโรงอบพลังงานแสงอาทิตย์
จากการทดสอบสามารถลดเวลาการตากแผ่นข้าวแต๋นดิบจากเดิม 2-3 วัน เหลือเพียง 8 ชม.ต่อวัน จากความชื้นแผ่นข้าวแต๋นดิบประมาณ 55% เหลือความชื้นสุดท้ายประมาณ 9-10% โดยพลังงานแสงอาทิตย์จะถูกเปลี่ยนเป็นความร้อนโดยอาศัยปรากฏการณ์เรือนกระจกซึ่งจะทำให้อุณหภูมิภายในโรงอบแห้งสูงกว่าอุณหภูมิอากาศแวดล้อม ช่วยให้ความชื้นจากผลิตภัณฑ์ระเหยได้เร็วยิ่งขึ้น ความชื้นที่ระเหยออกมาจะถูกพัดลมดูดอากาศซึ่งใช้ไฟฟ้าที่ได้จากแผงโซลาร์เซลล์ดูดออกไปภายนอก ทำให้ผลิตภัณฑ์แห้งเร็วกว่าการตากแดดตามธรรมชาติ
ข้าวแต๋นธัญพืชขายดีสุดในปัจจุบัน
นอกจากนี้การอบแห้งแผ่นข้าวแต๋นดิบในโรงอบแห้งนี้ ยังช่วยแก้ปัญหาการรบกวนของแมลง และความเสียหายจากการเปียกฝน ในเบื้องต้นโรงอบแห้งนี้สามารถอบแห้งแผ่นข้าวแต๋นดิบครั้งละประมาณ 1,000 กิโลกรัม โดยต่อไปจะทำการเพิ่มชั้นวางผลิตภัณฑ์ให้สามารถตากแห้งผลิตภัณฑ์ได้ 2,000 - 4,000กิโลกรัมต่อวัน โดยลงทุนโรงอบดังกล่าวไปประมาณ 5 แสนบาท

นายสุธาณี กล่าวต่อว่า นอกจากการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีแล้ว ยังต่อยอดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้สามารถเก็บรักษาได้นานขึ้นเป็นแห่งแรกของไทยที่สามารถเก็บได้ถึง 8 เดือนหลังการทอด ส่วนแผ่นข้าวแต๋นดิบเก็บได้นาน 6 - 8 เดือน (โดยไม่ใส่ตัวดูดซับความชื้น) จากเดิมที่เก็บได้เพียง 3 เดือน อนาคตจะยังคงพัฒนาต่อให้เก็บนานขึ้นถึง 18 เดือน เพื่อส่งออกไปยังประเทศอังกฤษ
พนักงานขณะทำงานในโรงงาน
นายสุธาณี กล่าวต่อว่า นอกจากการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีแล้ว ยังต่อยอดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้สามารถเก็บรักษาได้นานขึ้นเป็นแห่งแรกของไทยที่สามารถเก็บได้ถึง 8 เดือนหลังการทอด ส่วนแผ่นข้าวแต๋นดิบเก็บได้นาน 6 - 8 เดือน (โดยไม่ใส่ตัวดูดซับความชื้น) จากเดิมที่เก็บได้เพียง 3 เดือน อนาคตจะยังคงพัฒนาต่อให้เก็บนานขึ้นถึง 18 เดือน เพื่อส่งออกไปยังประเทศอังกฤษ

นอกจากรสชาติที่หลากหลายแล้ว ยังมีการพัฒนารูปแบบของผลิตภัณฑ์แบบต่างๆ มากขึ้น เช่นรูปหัวใจและหมีแพนด้า การพัฒนาแพคเก็จจิ้งซึ่งที่ผ่านมามีการออกแบบถึง 5 แบบด้วยกัน โดยดีไซน์ตามความเหมาะสมของตลาดและมีบรรยายถึง 4 ภาษาทั้งไทย จีน อังกฤษ และญี่ปุ่น ล่าสุดได้เพิ่มภาษาเกาหลีอีก 1 ภาษา หลังสินค้าได้รับความนิยมอย่างมากในตลาดเกาหลี และต้องการขยายตลาดไปยังกลุ่มผู้บริโภควัยเด็ก และวัยรุ่น ให้หันมากินขนมพื้นบ้านไทย เพราะได้คุณค่าทางอาหาร
ข้าวแต๋นภายในโรงอบ
สำหรับการผลิตข้าวแต๋น ของชุมชนใน ‘หมู่บ้านทุ่งม่านเหนือ’ นั้น กว่า 45%ของชุมชนมีรายได้จากการทำข้าวแต๋น จึงเป็นที่รู้จักกันในนามของหมู่บ้านข้าวแต๋น นอกจากทำการเกษตรแล้วอาชีพรองคือ การทำข้าวแต๋นน้ำแตงโม สร้างรายได้เฉลี่ย 300 – 450 บาทต่อคนต่อวัน( ระยะเวลาในการทำข้าวแต๋นเพียงเดือนละ 20 วัน) นับเป็นกลุ่มอาชีพที่ทำรายได้ให้แก่หมู่บ้าน 72,000 - 80,000 บาทต่อคนต่อปี
ข้าวแต๋นดิบขึ้นรูปเหมือนโดนัทออกมาเอาใจคนรุ่นใหม่
ธุรกิจเล็กๆ อย่างข้าวแต๋นสามารถอยู่รอดและเติบโตสวนกระแสวิกฤตเศรษฐกิจได้ เพราะรู้จักปรับตัวและใช้วิกฤตเป็นโอกาสตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ควบคู่กับแนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์ แม้ไทยจะเป็นประเทศเกษตรกรรมกึ่งอุตสาหกรรม แต่วันนี้ !!! ต้องนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามาช่วยแก้ปัญหาการผลิต และการขาดแคลนอาหารโลก โดยเฉพาะ “ข้าว” ดังนั้น การแปรรูปจึงเป็นวิธีการถนอมอาหารและเพิ่มมูลค่าสินค้าอีกทางหนึ่ง ซึ่งถือเป็นยุทธศาสตร์ในการแก้ปัญหาข้าวและสินค้าทางการเกษตรของกลุ่มข้าวแต๋นฯ

โทร. 08-1558-4983

กำลังโหลดความคิดเห็น