สถาบันอาหารเปิด 5 ยุทธศาสตร์ พัฒนาอุตสาหกรรมอาหาร รองรับตลาดส่งออกโต 10% ต่อปี หวังปี 2557 เพิ่มมูลค่าส่งออกถึง 1.1 ล้านล้านบาท เน้นสร้างนวัตกรรมอุตสาหกรรมอาหารไทยพร้อมแข่งขัน บนรากฐานการผลิตอุตสาหกรรมฐานความรู้
นายอมร งามมงคลรัตน์ รักษาการผู้อำนวยการสถาบันอาหาร เปิดเผยถึงยุทธศาสตร์การผลักดันอุตสาหกรรมอาหารในระยะเวลา 5 ปี ว่า ขณะนี้ทางสถาบันอาหารได้ร่วมมือกับภาคเอกชนระดมสมองกำหนดยุทธศาสตร์องค์กรระหว่างปี 2553-2557 โดยมีกรอบแนวทางทั้งหมด 6 กรอบ ได้แก่ 1.ด้านการสร้างคุณค่าให้อุตสาหกรรมอาหารด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี รองรับการพัฒนาประเทศภายใต้กรอบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) 2.ด้านการพัฒนาและยกระดับคุณภาพมาตรฐาน ตลอดจนห่วงโซ่อาหาร โดยครอบคลุมการผลิตทุกภาคส่วนตั้งแต่วัตถุดิบ โรงงานแปรรูป ผู้ประกอบการ ไปจนถึงมือผู้บริโภค 3.ด้านการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับอุตสาหกรรมอาหาร เน้นการสร้างข้อมูลให้แก่ผู้ประกอบการ 4.ด้านการส่งเสริมอุตสาหกรรมอาหารให้รับผิดชอบต่อสังคม บริหารจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล ภายใต้แนวทางการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและสุขอนามัย 5.ด้านการสร้างความตระหนักและยกระดับภาพลักษณ์ให้กับผลิตภัณฑ์อาหารไทย และ6.ด้านการเสริมสร้างขีดความสามารถของสถาบันเพื่อรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหาร ชูการพัฒนาการบริหารให้เป็นองค์กรที่ทันสมัย
ทั้งนี้มูลค่าการส่งออกอุตสาหรรมอาหารในปี 2552 มีมูลค่า 751,000 ล้านบาท และคาดว่าในปี 2553 ตัวเลขส่งออกจะมีมูลค่าประมาณ 826,000 ล้านบาท จากอุตสาหกรรมอาหารไทยมีอัตราการเติบโตในทิศทางที่ดี ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นตัว ในขณะที่ปัจจัยที่ต้องเฝ้าระวัง คือ คุณภาพอาหารด้านความปลอดภัยที่ผู้ประกอบกอบการต้องรักษาไว้ เพื่อสร้างความได้เปรียบกับประเทศคู่แข่ง เช่น จีน และเวียดนาม ซึ่งปัจจุบันความได้เปรียบในเรื่องแรงงาน ต้นทุนวัตถุดิบ และกำลังการผลิต ประเทศไทยมีความใกล้เคียงกับประเทศคู่แข่ง ดังนั้นภาคอุตสาหกรรมอาหารไทย จึงจำเป็นต้องมีการวิจัยและพัฒนา เพื่อเพิ่มศักยภาพผลิตภัณฑ์อาหาร
นายอมร กล่าวต่อว่า สำหรับผลกระทบการเปิดเขตการค้าเสรีอาเซียน หรือ อาฟต้า (ASEAN Free Trade Area : AFTA) ที่ผ่านมาผู้ประกอบการด้านอุตสาหกรรมอาหารของไทย ไม่ได้รับผลกระทบมากนัก เพราะมีการค่อยๆ ลดภาษีมาระยะหนึ่งแล้ว โดยผู้ประกอบการมีการปรับตัว และเตรียมมาตรการรองรับการเปิดเขตการค้าเสรีอาเซียนแล้ว แต่สิ่งที่ผู้ประกอบการควรดำเนินการคือ ต้องพยายามหาช่องว่างทางการตลาดกับประเทศในอาเซียน โดยหาตลาดใหม่ และศึกษาในเรื่องราคาให้พร้อมแข่งขันได้
นายอมร งามมงคลรัตน์ รักษาการผู้อำนวยการสถาบันอาหาร เปิดเผยถึงยุทธศาสตร์การผลักดันอุตสาหกรรมอาหารในระยะเวลา 5 ปี ว่า ขณะนี้ทางสถาบันอาหารได้ร่วมมือกับภาคเอกชนระดมสมองกำหนดยุทธศาสตร์องค์กรระหว่างปี 2553-2557 โดยมีกรอบแนวทางทั้งหมด 6 กรอบ ได้แก่ 1.ด้านการสร้างคุณค่าให้อุตสาหกรรมอาหารด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี รองรับการพัฒนาประเทศภายใต้กรอบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) 2.ด้านการพัฒนาและยกระดับคุณภาพมาตรฐาน ตลอดจนห่วงโซ่อาหาร โดยครอบคลุมการผลิตทุกภาคส่วนตั้งแต่วัตถุดิบ โรงงานแปรรูป ผู้ประกอบการ ไปจนถึงมือผู้บริโภค 3.ด้านการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับอุตสาหกรรมอาหาร เน้นการสร้างข้อมูลให้แก่ผู้ประกอบการ 4.ด้านการส่งเสริมอุตสาหกรรมอาหารให้รับผิดชอบต่อสังคม บริหารจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล ภายใต้แนวทางการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและสุขอนามัย 5.ด้านการสร้างความตระหนักและยกระดับภาพลักษณ์ให้กับผลิตภัณฑ์อาหารไทย และ6.ด้านการเสริมสร้างขีดความสามารถของสถาบันเพื่อรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหาร ชูการพัฒนาการบริหารให้เป็นองค์กรที่ทันสมัย
ทั้งนี้มูลค่าการส่งออกอุตสาหรรมอาหารในปี 2552 มีมูลค่า 751,000 ล้านบาท และคาดว่าในปี 2553 ตัวเลขส่งออกจะมีมูลค่าประมาณ 826,000 ล้านบาท จากอุตสาหกรรมอาหารไทยมีอัตราการเติบโตในทิศทางที่ดี ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นตัว ในขณะที่ปัจจัยที่ต้องเฝ้าระวัง คือ คุณภาพอาหารด้านความปลอดภัยที่ผู้ประกอบกอบการต้องรักษาไว้ เพื่อสร้างความได้เปรียบกับประเทศคู่แข่ง เช่น จีน และเวียดนาม ซึ่งปัจจุบันความได้เปรียบในเรื่องแรงงาน ต้นทุนวัตถุดิบ และกำลังการผลิต ประเทศไทยมีความใกล้เคียงกับประเทศคู่แข่ง ดังนั้นภาคอุตสาหกรรมอาหารไทย จึงจำเป็นต้องมีการวิจัยและพัฒนา เพื่อเพิ่มศักยภาพผลิตภัณฑ์อาหาร
นายอมร กล่าวต่อว่า สำหรับผลกระทบการเปิดเขตการค้าเสรีอาเซียน หรือ อาฟต้า (ASEAN Free Trade Area : AFTA) ที่ผ่านมาผู้ประกอบการด้านอุตสาหกรรมอาหารของไทย ไม่ได้รับผลกระทบมากนัก เพราะมีการค่อยๆ ลดภาษีมาระยะหนึ่งแล้ว โดยผู้ประกอบการมีการปรับตัว และเตรียมมาตรการรองรับการเปิดเขตการค้าเสรีอาเซียนแล้ว แต่สิ่งที่ผู้ประกอบการควรดำเนินการคือ ต้องพยายามหาช่องว่างทางการตลาดกับประเทศในอาเซียน โดยหาตลาดใหม่ และศึกษาในเรื่องราคาให้พร้อมแข่งขันได้