เผยตลาดสินค้าฮาลาลแนวโน้มเติบโตมหาศาล คาดมูลค่ากว่า 550,000 ล้านเหรียญในปี 2553 ระบุตลาดน่าจับตา คือ จีน ในมลฑลหนิงเซี่ยะ และกานซู่ แนะผู้ประกอบการไทย เร่งศึกษาวิเคราะห์และส่งเสริมการทำตลาดอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
นางศรีรัตน์ รัษฐปานะ อธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า ในปี 2552 ที่ผ่านมา ตลาดสินค้าอาหารฮาลาลมีมูลค่ารวมสูงถึง 547,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 12 ของมูลค่าการค้าสินค้าเกษตรกรรมของโลก และมีแนวโน้มขยายตัวในอัตราที่สูงอย่างต่อเนื่อง โดยประเมินว่า ตลาดสินค้าอาหารฮาลาลจะมีมูลค่ากว่า 550,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2553
ทั้งนี้ ปัจจุบันมีชาวมุสลิมทั่วโลกอยู่กว่า 2,000 ล้านคนในกว่า 110 ประเทศ และประเมินว่าผลจากการขยายตัวของจำนวนประชากรโลกที่นับถือศาสนาอิสลาม คาดว่าจะมีชาวมุสลิมคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 30 ของจำนวนประชากรโลกในปี 2568 ซึ่งนั่นหมายถึงตลาดสินค้าอาหารฮาลาลมีแนวโน้มจะเติบโตอีกมหาศาสล
สำหรับประเทศที่มีน่าจับตาในการส่งออกสินค้าฮาลาล ได้แก่ ประเทศจีน ซึ่งมีชาวมุสลิมกว่า 30 ล้านคน คิดเป็น 2.3 ของจำนวนประชากรจีน โดยส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ในมลฑลหนิงเซี่ยะ กานซู่ เขตปกครองอิสระมองโกเลียใน ซินเจียง ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีร้านอาหารอิสลามอยู่จำนวนมาก เป็นโอกาสในการเจาะตลาดสินค้าฮาลาลอย่างยิ่ง
อย่างไรก็ตาม จากการที่ความต้องการสินค้าอาหารฮาลาลในจีนกำลังขยายตัว ในอีกด้านหนึ่ง ก็พบว่า การเข้าไปจับตลาดนี้ จากทั้งผู้ประกอบการภายในและต่างประเทศกำลังเข้าจีนมากขึ้นเช่นกัน ดังนั้น ผู้ผลิตและผู้ประกอบการสินค้าอาหารฮาลาลของไทยจึงควรเร่งศึกษาวิเคราะห์และส่งเสริมการทำตลาดสินค้านี้อย่างจริงจังและต่อเนื่อง เพราะตลาดอาหารฮาลาลในจีนนี้นับว่า “สร้างยาก” แต่เมื่อสร้างขึ้นมาได้แล้ว จะง่ายต่อการขยายตลาด ในทางกลับกัน หากสูญเสียตลาดนี้ให้คู่แข่งขัน ก็จะเป็นการยากที่จะเรียกคืนกลับมา
สำหรับยุทธศาสตร์พัฒนาตลาดสินค้าฮาลาลนั้น กรมส่งเสริมการส่งออกได้มีการกำหนดกลยุทธ์และกิจกรรมใหม่ๆ เพื่อสู้กับผู้ค้าในรายประเทศต่างๆ อาทิ การนำสินค้าที่มิได้มีองค์ประกอบของสัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ เช่น ข้าวและผลไม้สด รุกเจาะตลาดฮาลาลเพิ่มขึ้น รวมถึงสร้างโอกาสทางธุรกิจสำหรับสินค้าอาหารฮาลาลเชิงคุณภาพ เช่น อาหารฮาลาลสุขภาพ (Healthy Halal Food) และอาหารฮาลาลอินทรีย์ (Organic Halal Food) ตลอดจนสนับสนุนการเปิดธุรกิจร้านอาหารฮาลาล และธุรกิจสินค้าฮาลาลอื่นที่มิใช่อาหาร เช่น โรงแรมฮาลาล โรงพยาบาล ฮาลาล และบริการด้านโลจิสติกส์สินค้าฮาลาล นอกจากนี้ จะยังใช้ตลาดฮาลาลของประเทศจีนเป็นตัวเชื่อมต่อไปยังตลาดประเทศเพื่อนบ้านของจีนที่เข้าถึงลำบากแต่แฝงไว้ด้วยศักยภาพทางการตลาด อาทิ ปากีสถาน คาซักสถาน คีร์กิซสถาน มองโกเลีย และรัสเซีย
นางศรีรัตน์ ยังได้กล่าวในท้ายสุดว่า ในการดำเนินการตลาดดังกล่าวในตลาดจีน สิ่งแรกที่จะต้องเร่งสร้างคือ “ภาพลักษณ์และความเชื่อมั่น” ของสินค้าฮาลาลของไทยในตลาดประเทศมุสลิม และนำกลับมาขยายผลในจีน โดยพัฒนาต่อยอดจากวิสัยทัศน์ “Kitchen to the World” ที่มี อยู่เดิม
นางศรีรัตน์ รัษฐปานะ อธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า ในปี 2552 ที่ผ่านมา ตลาดสินค้าอาหารฮาลาลมีมูลค่ารวมสูงถึง 547,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 12 ของมูลค่าการค้าสินค้าเกษตรกรรมของโลก และมีแนวโน้มขยายตัวในอัตราที่สูงอย่างต่อเนื่อง โดยประเมินว่า ตลาดสินค้าอาหารฮาลาลจะมีมูลค่ากว่า 550,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2553
ทั้งนี้ ปัจจุบันมีชาวมุสลิมทั่วโลกอยู่กว่า 2,000 ล้านคนในกว่า 110 ประเทศ และประเมินว่าผลจากการขยายตัวของจำนวนประชากรโลกที่นับถือศาสนาอิสลาม คาดว่าจะมีชาวมุสลิมคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 30 ของจำนวนประชากรโลกในปี 2568 ซึ่งนั่นหมายถึงตลาดสินค้าอาหารฮาลาลมีแนวโน้มจะเติบโตอีกมหาศาสล
สำหรับประเทศที่มีน่าจับตาในการส่งออกสินค้าฮาลาล ได้แก่ ประเทศจีน ซึ่งมีชาวมุสลิมกว่า 30 ล้านคน คิดเป็น 2.3 ของจำนวนประชากรจีน โดยส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ในมลฑลหนิงเซี่ยะ กานซู่ เขตปกครองอิสระมองโกเลียใน ซินเจียง ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีร้านอาหารอิสลามอยู่จำนวนมาก เป็นโอกาสในการเจาะตลาดสินค้าฮาลาลอย่างยิ่ง
อย่างไรก็ตาม จากการที่ความต้องการสินค้าอาหารฮาลาลในจีนกำลังขยายตัว ในอีกด้านหนึ่ง ก็พบว่า การเข้าไปจับตลาดนี้ จากทั้งผู้ประกอบการภายในและต่างประเทศกำลังเข้าจีนมากขึ้นเช่นกัน ดังนั้น ผู้ผลิตและผู้ประกอบการสินค้าอาหารฮาลาลของไทยจึงควรเร่งศึกษาวิเคราะห์และส่งเสริมการทำตลาดสินค้านี้อย่างจริงจังและต่อเนื่อง เพราะตลาดอาหารฮาลาลในจีนนี้นับว่า “สร้างยาก” แต่เมื่อสร้างขึ้นมาได้แล้ว จะง่ายต่อการขยายตลาด ในทางกลับกัน หากสูญเสียตลาดนี้ให้คู่แข่งขัน ก็จะเป็นการยากที่จะเรียกคืนกลับมา
สำหรับยุทธศาสตร์พัฒนาตลาดสินค้าฮาลาลนั้น กรมส่งเสริมการส่งออกได้มีการกำหนดกลยุทธ์และกิจกรรมใหม่ๆ เพื่อสู้กับผู้ค้าในรายประเทศต่างๆ อาทิ การนำสินค้าที่มิได้มีองค์ประกอบของสัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ เช่น ข้าวและผลไม้สด รุกเจาะตลาดฮาลาลเพิ่มขึ้น รวมถึงสร้างโอกาสทางธุรกิจสำหรับสินค้าอาหารฮาลาลเชิงคุณภาพ เช่น อาหารฮาลาลสุขภาพ (Healthy Halal Food) และอาหารฮาลาลอินทรีย์ (Organic Halal Food) ตลอดจนสนับสนุนการเปิดธุรกิจร้านอาหารฮาลาล และธุรกิจสินค้าฮาลาลอื่นที่มิใช่อาหาร เช่น โรงแรมฮาลาล โรงพยาบาล ฮาลาล และบริการด้านโลจิสติกส์สินค้าฮาลาล นอกจากนี้ จะยังใช้ตลาดฮาลาลของประเทศจีนเป็นตัวเชื่อมต่อไปยังตลาดประเทศเพื่อนบ้านของจีนที่เข้าถึงลำบากแต่แฝงไว้ด้วยศักยภาพทางการตลาด อาทิ ปากีสถาน คาซักสถาน คีร์กิซสถาน มองโกเลีย และรัสเซีย
นางศรีรัตน์ ยังได้กล่าวในท้ายสุดว่า ในการดำเนินการตลาดดังกล่าวในตลาดจีน สิ่งแรกที่จะต้องเร่งสร้างคือ “ภาพลักษณ์และความเชื่อมั่น” ของสินค้าฮาลาลของไทยในตลาดประเทศมุสลิม และนำกลับมาขยายผลในจีน โดยพัฒนาต่อยอดจากวิสัยทัศน์ “Kitchen to the World” ที่มี อยู่เดิม