พาณิชย์ เผยงานสร้างเครือข่ายการค้าพัฒนาธุรกิจสัมพันธ์ 2009 หวังผลักดันผู้ประกอบการไทยเข้มแข็ง พร้อมแข็งขันต่างชาติ ปั้นฝันสินค้าเอสเอ็มอีไทยแจ้งเกิดเวทีอาเซียน เตรียมความพร้อมเสริมแกร่งองค์ความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม แก่ผู้ประกอบการ
นายอลงกรณ์ พลบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์เปิดเผยว่า แนวทางการสร้างเครือข่ายการค้าพัฒนาธุรกิจสัมพันธ์ 2009 เป็นงานสำคัญที่แสดงถึงความสำเร็จในการส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการ ซึ่งผู้ประกอบการถือเป็นกลไกสำคัญประการหนึ่งที่จะผลักดันให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างเข้มแข็ง และสามารถอยู่รอดได้ในภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน เนื่องจากวิกฤติเศรษฐกิจโลกที่เกิดขึ้นได้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงกับหลายประเทศโดยเฉพาะประเทศที่เป็นคู่ค้าหลักของไทย ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป จีน และญี่ปุ่น ซึ่งส่งผลกระทบอย่างมากมายต่อการประกอบธุรกิจทั้งภายในและภายนอกประเทศ และที่ผ่านมากระทรวงพาณิชย์ได้แก้ไขผลกระทบดังกล่าว โดยการแสวงหาโอกาสจากตลาดการค้าแห่งใหม่ เช่น ตะวันออกกลาง และแอฟริกา เป็นต้น เพื่อสร้างความเชื่อมั่น และสนับสนุนผู้ส่งออกอย่างเต็มที่
ทั้งนี้ ในปี 2552 ประเทศไทยได้เป็นประธานการประชุมสมาชิกอาเซียน และมีการลงนามความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนในการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community) เพื่อให้อาเซียนเป็นตลาด และฐานการผลิตเดียวกัน มีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน และเงินทุน รวมถึงแรงงานฝีมืออย่างเสรีในปี 2558 โดยถือเป็นภารกิจสำคัญของกระทรวงพาณิชย์ในการเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ทั้งนี้ มูลค่าการส่งออกของผู้ประกอบการ เอสเอ็มอี มีจำนวน 1.58 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกไปยังประเทศในภูมิภาคอาเซียนถึงร้อยละ 24หรือมูลค่ากว่า 4 แสนล้านบาท ดังนั้นตลาดในภูมิภาคอาเซียนจึงเป็นตลาดสำคัญสำหรับผู้ประกอบการ เอสเอ็มอี ไทย และควรใช้ประโยชน์จากการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เพื่อขยายตลาดให้มากขึ้น
นอกจากนี้ ยังมีกระแสการเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจรูปแบบใหม่ เพื่อเข้าสู่ยุคสังคมแห่งฐานความรู้ มาตลอดระยะเวลามากกว่า 5 ปี ที่ผ่านมา ซึ่งยังคงมีอิทธิพลต่อการทำการค้าอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดแนวคิดใหม่ที่มุ่งเน้นความร่วมมือ และความสร้างสรรค์ต่าง ๆ โดยก้าวข้ามการแข่งขัน และผลผลิตในเชิงพาณิชย์ และเริ่มให้ความสำคัญต่อแนวคิด ความรู้ และข้อมูล ที่เป็นพื้นฐานที่จะนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ของประเทศ หรือที่เรียกว่า Creative Economy ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล ตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 ที่ตั้งเป้าเพิ่มรายได้ต่อ GDP ของอุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์จากร้อยละ 12 เป็นร้อยละ 20 โดยกระทรวงพาณิชย์ มุ่งเน้นการพัฒนาด้านทรัพย์สินทางปัญญา และพัฒนาแนวคิดผู้ประกอบการในการประกอบธุรกิจ ให้มีจุดเด่นเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจต่าง ๆ อีกด้วย
นายอลงกรณ์ พลบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์เปิดเผยว่า แนวทางการสร้างเครือข่ายการค้าพัฒนาธุรกิจสัมพันธ์ 2009 เป็นงานสำคัญที่แสดงถึงความสำเร็จในการส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการ ซึ่งผู้ประกอบการถือเป็นกลไกสำคัญประการหนึ่งที่จะผลักดันให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างเข้มแข็ง และสามารถอยู่รอดได้ในภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน เนื่องจากวิกฤติเศรษฐกิจโลกที่เกิดขึ้นได้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงกับหลายประเทศโดยเฉพาะประเทศที่เป็นคู่ค้าหลักของไทย ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป จีน และญี่ปุ่น ซึ่งส่งผลกระทบอย่างมากมายต่อการประกอบธุรกิจทั้งภายในและภายนอกประเทศ และที่ผ่านมากระทรวงพาณิชย์ได้แก้ไขผลกระทบดังกล่าว โดยการแสวงหาโอกาสจากตลาดการค้าแห่งใหม่ เช่น ตะวันออกกลาง และแอฟริกา เป็นต้น เพื่อสร้างความเชื่อมั่น และสนับสนุนผู้ส่งออกอย่างเต็มที่
ทั้งนี้ ในปี 2552 ประเทศไทยได้เป็นประธานการประชุมสมาชิกอาเซียน และมีการลงนามความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนในการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community) เพื่อให้อาเซียนเป็นตลาด และฐานการผลิตเดียวกัน มีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน และเงินทุน รวมถึงแรงงานฝีมืออย่างเสรีในปี 2558 โดยถือเป็นภารกิจสำคัญของกระทรวงพาณิชย์ในการเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ทั้งนี้ มูลค่าการส่งออกของผู้ประกอบการ เอสเอ็มอี มีจำนวน 1.58 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกไปยังประเทศในภูมิภาคอาเซียนถึงร้อยละ 24หรือมูลค่ากว่า 4 แสนล้านบาท ดังนั้นตลาดในภูมิภาคอาเซียนจึงเป็นตลาดสำคัญสำหรับผู้ประกอบการ เอสเอ็มอี ไทย และควรใช้ประโยชน์จากการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เพื่อขยายตลาดให้มากขึ้น
นอกจากนี้ ยังมีกระแสการเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจรูปแบบใหม่ เพื่อเข้าสู่ยุคสังคมแห่งฐานความรู้ มาตลอดระยะเวลามากกว่า 5 ปี ที่ผ่านมา ซึ่งยังคงมีอิทธิพลต่อการทำการค้าอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดแนวคิดใหม่ที่มุ่งเน้นความร่วมมือ และความสร้างสรรค์ต่าง ๆ โดยก้าวข้ามการแข่งขัน และผลผลิตในเชิงพาณิชย์ และเริ่มให้ความสำคัญต่อแนวคิด ความรู้ และข้อมูล ที่เป็นพื้นฐานที่จะนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ของประเทศ หรือที่เรียกว่า Creative Economy ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล ตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 ที่ตั้งเป้าเพิ่มรายได้ต่อ GDP ของอุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์จากร้อยละ 12 เป็นร้อยละ 20 โดยกระทรวงพาณิชย์ มุ่งเน้นการพัฒนาด้านทรัพย์สินทางปัญญา และพัฒนาแนวคิดผู้ประกอบการในการประกอบธุรกิจ ให้มีจุดเด่นเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจต่าง ๆ อีกด้วย