บสย. จับมือแบงก์รัฐ และเอกชน รวม 16 แห่ง ในโครงการค้ำประกันสินเชื่อวงเงิน 30,000 ลบ. “กรณ์” ระบุภาครัฐเข้าช่วยอุ้มเพิ่มความมั่นใจแก่สถาบันการเงิน ช่วยให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้มากขึ้น เชื่อเงินหมุนเพิ่มกว่า 3 แสนล้าน ชะลอเลิกจ้างได้กว่า 3 แสนคน
นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานการลงนามความร่วมมือ “โครงการค้ำประกันสินเชื่อวงเงิน 30,000 ล้านบาท” ระหว่างผู้บริหารบรรษัทค้ำประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) กับผู้บริหารธนาคารของรัฐและเอกชน รวม 16 แห่ง
ทั้งนี้ ธนาคารต่างๆ จะส่งลูกค้ามาให้ บสย.ค้ำประกันเป็นรายกลุ่มประมาณ 1,000-5,000 ล้านบาท อายุค้ำประกัน 5 ปี อัตราค่าธรรมเนียมร้อยละ 1.75 ต่อปีของวงเงินค้ำประกัน ซึ่งหากธนาคารปล่อยสินเชื่อได้มากขึ้นจากวงเงินค้ำประกันดังกล่าวจะทำให้มีเงินหมุนเวียนในระบบเพิ่มขึ้น 9-10 เท่า หรือประมาณ 300,000 ล้านบาทช่วยเหลือผู้ประกอบการได้ 15,000 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างงานในเอสเอ็มอี โดยไม่ต้องถูกเลิกจ้างประมาณ 300,000 คน
นายกรณ์ กล่าวยืนยันว่า แนวทางดังกล่าวจะช่วยให้ลดปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ในระบบไม่ให้เพิ่มขึ้น และการรับความเสี่ยงจากรัฐบาลจะลดลงกว่าการช่วยเหลือในช่วงที่ผ่านมา เพราะแนวทางปัจจุบันสถาบันการเงินมีความเข้มแข็งมากเมื่อเศรษฐกิจมีปัญหาและมีความเสี่ยงเพิ่ม เพื่อให้ประชาชนและผู้ประกอบการเข้าถึงสินเชื่อ รัฐบาลจึงเข้าไปช่วยรับภาระความเสี่ยงจากธนาคารพาณิชย์ประมาณร้อยละ 15.5 ของความเสียหายที่เกิดขึ้น ทำให้รัฐบาลช่วยรับภาระไม่เหมือนกับช่วงที่มีปัญหาเศรษฐกิจที่ต้องใช้เงินช่วยเหลือจำนวนมาก และหาก บสย.ค้ำประกันสินเชื่อสูงกว่าวงเงินที่ตกลงกันไว้รัฐบาลก็พร้อมช่วยเพิ่มทุนให้อีก เพื่อให้ค้ำประกันสินเชื่อได้มากขึ้น
ด้านนายทวีศักดิ์ ฟุ้งเกียรติเจริญ กรรมการและผู้จัดการ บสย. กล่าวว่า จะค้ำประกันให้เอสเอ็มอีไม่เกิน 20 ล้านบาทต่อราย และหากเป็นเอสเอ็มอีที่เป็นเอ็นพีแอล แต่ยังมีศักยภาพในการประกอบธุรกิจ บสย.จะค้ำประกันให้สูงสุดต่อรายไม่เกิน 10 ล้านบาท คาดว่าจะใช้เวลาค้ำประกันสินเชื่อในช่วง 6 เดือนจากนี้ไป แต่สำหรับการช่วยเหลือผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยว ทางกระทรวงการท่องเที่ยวได้หารือร่วมกับตัวแทนสมาคมผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยว สถาบันการเงิน และ บสย. เพื่อให้ธนาคารปล่อยสินเชื่อ 5,000 ล้านบาท โดยเป็นเอสเอ็มอีแบงก์ปล่อยกู้ 2,000 ล้านบาท สถาบันการเงินอื่นอีก 3,000 ล้านบาท ด้วยการให้ บสย.ค้ำประกันสินเชื่อประมาณ 750 ล้านบาท ด้วยการคิดค่าธรรมเนียมจากเดิมร้อยละ 1.75 ลดเหลือร้อยละ 0.25 ของเงินค้ำประกัน แนวทางดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของโครงการที่ลงนามในวันนี้ เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวให้ฟื้นตัว
นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานการลงนามความร่วมมือ “โครงการค้ำประกันสินเชื่อวงเงิน 30,000 ล้านบาท” ระหว่างผู้บริหารบรรษัทค้ำประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) กับผู้บริหารธนาคารของรัฐและเอกชน รวม 16 แห่ง
ทั้งนี้ ธนาคารต่างๆ จะส่งลูกค้ามาให้ บสย.ค้ำประกันเป็นรายกลุ่มประมาณ 1,000-5,000 ล้านบาท อายุค้ำประกัน 5 ปี อัตราค่าธรรมเนียมร้อยละ 1.75 ต่อปีของวงเงินค้ำประกัน ซึ่งหากธนาคารปล่อยสินเชื่อได้มากขึ้นจากวงเงินค้ำประกันดังกล่าวจะทำให้มีเงินหมุนเวียนในระบบเพิ่มขึ้น 9-10 เท่า หรือประมาณ 300,000 ล้านบาทช่วยเหลือผู้ประกอบการได้ 15,000 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างงานในเอสเอ็มอี โดยไม่ต้องถูกเลิกจ้างประมาณ 300,000 คน
นายกรณ์ กล่าวยืนยันว่า แนวทางดังกล่าวจะช่วยให้ลดปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ในระบบไม่ให้เพิ่มขึ้น และการรับความเสี่ยงจากรัฐบาลจะลดลงกว่าการช่วยเหลือในช่วงที่ผ่านมา เพราะแนวทางปัจจุบันสถาบันการเงินมีความเข้มแข็งมากเมื่อเศรษฐกิจมีปัญหาและมีความเสี่ยงเพิ่ม เพื่อให้ประชาชนและผู้ประกอบการเข้าถึงสินเชื่อ รัฐบาลจึงเข้าไปช่วยรับภาระความเสี่ยงจากธนาคารพาณิชย์ประมาณร้อยละ 15.5 ของความเสียหายที่เกิดขึ้น ทำให้รัฐบาลช่วยรับภาระไม่เหมือนกับช่วงที่มีปัญหาเศรษฐกิจที่ต้องใช้เงินช่วยเหลือจำนวนมาก และหาก บสย.ค้ำประกันสินเชื่อสูงกว่าวงเงินที่ตกลงกันไว้รัฐบาลก็พร้อมช่วยเพิ่มทุนให้อีก เพื่อให้ค้ำประกันสินเชื่อได้มากขึ้น
ด้านนายทวีศักดิ์ ฟุ้งเกียรติเจริญ กรรมการและผู้จัดการ บสย. กล่าวว่า จะค้ำประกันให้เอสเอ็มอีไม่เกิน 20 ล้านบาทต่อราย และหากเป็นเอสเอ็มอีที่เป็นเอ็นพีแอล แต่ยังมีศักยภาพในการประกอบธุรกิจ บสย.จะค้ำประกันให้สูงสุดต่อรายไม่เกิน 10 ล้านบาท คาดว่าจะใช้เวลาค้ำประกันสินเชื่อในช่วง 6 เดือนจากนี้ไป แต่สำหรับการช่วยเหลือผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยว ทางกระทรวงการท่องเที่ยวได้หารือร่วมกับตัวแทนสมาคมผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยว สถาบันการเงิน และ บสย. เพื่อให้ธนาคารปล่อยสินเชื่อ 5,000 ล้านบาท โดยเป็นเอสเอ็มอีแบงก์ปล่อยกู้ 2,000 ล้านบาท สถาบันการเงินอื่นอีก 3,000 ล้านบาท ด้วยการให้ บสย.ค้ำประกันสินเชื่อประมาณ 750 ล้านบาท ด้วยการคิดค่าธรรมเนียมจากเดิมร้อยละ 1.75 ลดเหลือร้อยละ 0.25 ของเงินค้ำประกัน แนวทางดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของโครงการที่ลงนามในวันนี้ เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวให้ฟื้นตัว