กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ จัดเวทีเสวนาแลกเปลี่ยนความคิด “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน: จุดเปลี่ยน SME ไทย? ช่วยกระตุ้นผู้ประกอบการSMEs รับมือการเปิดเสรีการค้าการลงทุนในกรอบอาเซียน โดยเฉพาะในส่วนของการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนภายในปี 2558 ซึ่งจะส่งผลกระทบทั้งเชิงบวกและลบต่อธุรกิจต่างๆอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ดร. ณรงค์ชัย อัครเศรณี ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ สถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยในระหว่างการสัมมนาภายใต้หัวข้อ “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน: จุดเปลี่ยน SME ไทย? ว่า จากการลงนามในปฏิญญาเซบู จัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจที่เป็นทั้งสหภาพศุลกากร (Custom Union) และตลาดร่วม (Common Market) นั้น ขณะนี้ไทยมีเวลา 7 ปีในการเตรียมความพร้อมเข้าร่วมประชาคมเศรษฐกิจดังกล่าว ซึ่งผู้ประกอบการ SMEs ที่ยังไม่สามารถเข้าถึงข้อมูล จะสูญเสียโอกาสทางการค้าหรือได้รับผลกระทบมากที่สุด ดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้องปรับตัวอย่างรวดเร็วเพื่อรองรับกับกระแสการแข่งขันที่ทวีความรุนแรงขึ้น
จากนั้น คุณณัฐสิทธิ เธียรประสิทธิ์ นักวิจัยสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง กล่าวว่า การปรับตัวของผู้ประกอบการ SME นำเข้าและส่งออกจากอาเซียนค่อนข้างน้อย ตรงนี้แสดงให้เห็นว่า ธุรกิจ SMEs น่าจะใช้ประโยชน์จากการเปิดเสรีการค้าการลงทุนในกรอบภูมิภาคมากกว่านี้ เพราะภาษีลดเหลือเป็นศูนย์เกือบหมดแล้ว อย่างในกรณีของไทยในปี 2558 จะมีสินค้าเกษตรแค่ 7 รายการที่ยังเรียกเก็บภาษีอยู่
“อย่างไรก็ตาม กลุ่ม SMEs มีศักยภาพการแข่งขันไม่สูงนัก โดยส่งออกสินค้าขั้นปฐมภูมิหรือที่ใช้แรงงานเป็นหลัก จึงน่าเป็นห่วงว่า ในเมื่อไทยกำลังสูญเสียขีดความสามารถการแข่งขันให้กับจีนและเวียดนาม ตำแหน่งของไทยในอนาคตจะเป็นอย่างไร เราจะสามารถก้าวขึ้นเป็นเศรษฐกิจฐานความรู้อย่างไต้หวันหรือเกาหลีใต้ได้หรือไม่ ดังนั้น ภาครัฐและภาคเอกชนจึงจำเป็นต้องร่วมมือกันเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขัน โดยส่งเสริมให้ SMEs รู้จักขยายตลาดการค้าไปพร้อมๆกับการลดต้นทุนด้วยการกระจายฐานการผลิต โดยจะต้องมีการสร้างมาตรฐานสินค้าและสร้างพันธมิตรเชิงธุรกิจตามห่วงโซ่มูลค่าและเครือข่ายการผลิต เพื่อแบ่งปันความรู้ ใช้ทรัพยากรร่วม และเพิ่มอำนาจในการต่อรอง”
นอกจากนี้ กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศได้จัดให้มีเวทีเสวนา “โอกาสและความท้าทายของ SMEs ในบริบทการค้าใหม่” โดยมีผู้เข้าร่วมเสวนา 5 ท่าน คือ 1) คุณภักดิ์ ทองส้ม รักษาการผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม 2) คุณพงษ์ศักดิ์ ชิวชรัตน์ กรรมการผู้จัดการธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย 3) ดร. นิลสุวรรณ ลีลารัศมี รองเลขาธิการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย 4) ดร. เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ ผู้อำนวยการด้านการบริหารจัดการระบบเศรษฐกิจ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาแห่งประเทศไทย และ 5) คุณภูษิต เพ็ญศิริ ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาด บริษัทนาโนเซิร์ช จำกัด
ทั้งนี้ คุณภักดิ์ ทองส้ม ได้แสดงความเห็นว่า ธุรกิจ SMEs ของไทยยังมีความยากลำบากในการปรับตัวสูงมาก เพราะนอกจากจะมีปัญหาเรื่องการบริหารจัดการภายในแล้ว ยังต้องเผชิญปัจจัยภายนอก คือ กระแสโลกาภิวัฒน์และการเปิดเสรีทางการค้า อย่างไรก็ตาม สัดส่วนการส่งออกของ SMEs มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นและเกินดุลการค้า สำหรับยุทธศาสตร์การส่งเสริม SMEs ในระยะยาวสำหรับภาคการผลิต คือ การเข้าถึงเทคโนโลยีและสร้างนวัตกรรมเพื่อเพิ่มผลิตภาพ แต่ในส่วนของภาคบริการ จะเน้นอำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ เช่น ในส่วนของกฎระเบียบและศูนย์ Single Window เป็นต้น
ดร. เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ ผู้อำนวยการด้านการบริหารจัดการระบบเศรษฐกิจ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย กล่าวว่า ผลกระทบต่อธุรกิจ SMEs ในภาคการผลิตคงมีไม่มาก แต่ภาคบริการ โดยเฉพาะโลจิสติกส์ จะได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีชัดเจน อย่างไรก็ดี ประเทศต่างๆในอาเซียน เว้นแต่สิงคโปร์ ไม่มีความจริงใจในการเปิดเสรีภาคบริการ จึงอาจไม่สามารถปฏิบัติตามเป้าหมายของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนภายในปี 2558 ได้
นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยที่ไม่เอื้อต่อการส่งเสริม SMEs คือ การจดสิทธิบัตร เป็นต้น ซึ่งดร. เดือนเด่นให้ความเห็นว่า ประเทศไทยน่าจะเปิดเผยสิทธิบัตรมากกว่านี้ เพื่อให้ SMEs นำไปต่อยอดทำเป็นธุรกิจได้ เพราะในปัจจุบัน ไทยยังด้อยความสามารถในส่วนนี้ และใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศน้อยมาก
คุณพงษ์ศักดิ์ ชิวชรัตน์ กรรมการผู้จัดการธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ตัวแทนภาคการเงิน มองว่าปัญหาใหญ่ของ SME ไทย คือ ความสามารถในการเข้าถึงแหล่งทุนเพราะขาดในเรื่องของหลักประกัน รวมทั้งยังไม่มีการวิจัยตลาดและพัฒนาสินค้าเท่าที่ควร
จากนั้น ดร.นิลสุวรรณ ลีลารัศมี รองเลขาธิการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า “การทำ FTA มีทั้งผลได้ และผลเสีย ถ้าเราเปิดประเภทสินค้าถูก เราก็ขายได้ แต่อย่างไรก็ตามอย่าเปิดเสรีหมด ไม่อยางนั้นธุรกิจก็จะแข่งขันลำบาก … ในอนาคต ควรมีโครงการสนับสนุนธุรกิจขนาดเล็ก ในการขยายเป็นเครือข่ายธุรกิจที่ใหญ่ขึ้น แต่ถ้า SMEs ไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม นักลงทุนต่างชาติก็จะมาเปลี่ยนและเหยียบท่านในที่สุด ดังนั้น SMEs ต้องเข้าถึงข้อมูลต่างๆให้ได้”
นอกจากนี้ คุณภูษิต เพ็ญศิริ ผู้อำนวยการ ศูนย์พัฒนาการค้า-การลงทุนแผนใหม่ และผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัยตลาด บริษัท นาโนเซิรช์ จำกัด ตัวแทนภาคเอกชน เสนอแนะว่า SMEs ต้องรู้จักสร้างมูลค่าทางการตลาด เช่น กล้วยที่ติดสติกเกอร์ว่า “จักรพรรดิ” สามารถส่งออกและเป็นที่นิยมของผู้บริโภคชาวจีนเป็นอย่างมาก SMEs จึงต้องปรับแนวคิดเช่นเดียวกัน เพราะในอนาคต การทำธุรกิจไม่มีเขตแดน การพัฒนาคุณภาพสินค้าจึงต้องทำควบคู่ไปกับการทำการบริหารจัดการที่เหมาะสมและแผนทางการตลาดที่สามารถตอบสนองพฤติกรรมของผู้บริโภคในตลาดอาเซียนได้
ดร. ณรงค์ชัย อัครเศรณี ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ สถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยในระหว่างการสัมมนาภายใต้หัวข้อ “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน: จุดเปลี่ยน SME ไทย? ว่า จากการลงนามในปฏิญญาเซบู จัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจที่เป็นทั้งสหภาพศุลกากร (Custom Union) และตลาดร่วม (Common Market) นั้น ขณะนี้ไทยมีเวลา 7 ปีในการเตรียมความพร้อมเข้าร่วมประชาคมเศรษฐกิจดังกล่าว ซึ่งผู้ประกอบการ SMEs ที่ยังไม่สามารถเข้าถึงข้อมูล จะสูญเสียโอกาสทางการค้าหรือได้รับผลกระทบมากที่สุด ดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้องปรับตัวอย่างรวดเร็วเพื่อรองรับกับกระแสการแข่งขันที่ทวีความรุนแรงขึ้น
จากนั้น คุณณัฐสิทธิ เธียรประสิทธิ์ นักวิจัยสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง กล่าวว่า การปรับตัวของผู้ประกอบการ SME นำเข้าและส่งออกจากอาเซียนค่อนข้างน้อย ตรงนี้แสดงให้เห็นว่า ธุรกิจ SMEs น่าจะใช้ประโยชน์จากการเปิดเสรีการค้าการลงทุนในกรอบภูมิภาคมากกว่านี้ เพราะภาษีลดเหลือเป็นศูนย์เกือบหมดแล้ว อย่างในกรณีของไทยในปี 2558 จะมีสินค้าเกษตรแค่ 7 รายการที่ยังเรียกเก็บภาษีอยู่
“อย่างไรก็ตาม กลุ่ม SMEs มีศักยภาพการแข่งขันไม่สูงนัก โดยส่งออกสินค้าขั้นปฐมภูมิหรือที่ใช้แรงงานเป็นหลัก จึงน่าเป็นห่วงว่า ในเมื่อไทยกำลังสูญเสียขีดความสามารถการแข่งขันให้กับจีนและเวียดนาม ตำแหน่งของไทยในอนาคตจะเป็นอย่างไร เราจะสามารถก้าวขึ้นเป็นเศรษฐกิจฐานความรู้อย่างไต้หวันหรือเกาหลีใต้ได้หรือไม่ ดังนั้น ภาครัฐและภาคเอกชนจึงจำเป็นต้องร่วมมือกันเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขัน โดยส่งเสริมให้ SMEs รู้จักขยายตลาดการค้าไปพร้อมๆกับการลดต้นทุนด้วยการกระจายฐานการผลิต โดยจะต้องมีการสร้างมาตรฐานสินค้าและสร้างพันธมิตรเชิงธุรกิจตามห่วงโซ่มูลค่าและเครือข่ายการผลิต เพื่อแบ่งปันความรู้ ใช้ทรัพยากรร่วม และเพิ่มอำนาจในการต่อรอง”
นอกจากนี้ กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศได้จัดให้มีเวทีเสวนา “โอกาสและความท้าทายของ SMEs ในบริบทการค้าใหม่” โดยมีผู้เข้าร่วมเสวนา 5 ท่าน คือ 1) คุณภักดิ์ ทองส้ม รักษาการผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม 2) คุณพงษ์ศักดิ์ ชิวชรัตน์ กรรมการผู้จัดการธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย 3) ดร. นิลสุวรรณ ลีลารัศมี รองเลขาธิการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย 4) ดร. เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ ผู้อำนวยการด้านการบริหารจัดการระบบเศรษฐกิจ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาแห่งประเทศไทย และ 5) คุณภูษิต เพ็ญศิริ ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาด บริษัทนาโนเซิร์ช จำกัด
ทั้งนี้ คุณภักดิ์ ทองส้ม ได้แสดงความเห็นว่า ธุรกิจ SMEs ของไทยยังมีความยากลำบากในการปรับตัวสูงมาก เพราะนอกจากจะมีปัญหาเรื่องการบริหารจัดการภายในแล้ว ยังต้องเผชิญปัจจัยภายนอก คือ กระแสโลกาภิวัฒน์และการเปิดเสรีทางการค้า อย่างไรก็ตาม สัดส่วนการส่งออกของ SMEs มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นและเกินดุลการค้า สำหรับยุทธศาสตร์การส่งเสริม SMEs ในระยะยาวสำหรับภาคการผลิต คือ การเข้าถึงเทคโนโลยีและสร้างนวัตกรรมเพื่อเพิ่มผลิตภาพ แต่ในส่วนของภาคบริการ จะเน้นอำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ เช่น ในส่วนของกฎระเบียบและศูนย์ Single Window เป็นต้น
ดร. เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ ผู้อำนวยการด้านการบริหารจัดการระบบเศรษฐกิจ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย กล่าวว่า ผลกระทบต่อธุรกิจ SMEs ในภาคการผลิตคงมีไม่มาก แต่ภาคบริการ โดยเฉพาะโลจิสติกส์ จะได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีชัดเจน อย่างไรก็ดี ประเทศต่างๆในอาเซียน เว้นแต่สิงคโปร์ ไม่มีความจริงใจในการเปิดเสรีภาคบริการ จึงอาจไม่สามารถปฏิบัติตามเป้าหมายของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนภายในปี 2558 ได้
นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยที่ไม่เอื้อต่อการส่งเสริม SMEs คือ การจดสิทธิบัตร เป็นต้น ซึ่งดร. เดือนเด่นให้ความเห็นว่า ประเทศไทยน่าจะเปิดเผยสิทธิบัตรมากกว่านี้ เพื่อให้ SMEs นำไปต่อยอดทำเป็นธุรกิจได้ เพราะในปัจจุบัน ไทยยังด้อยความสามารถในส่วนนี้ และใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศน้อยมาก
คุณพงษ์ศักดิ์ ชิวชรัตน์ กรรมการผู้จัดการธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ตัวแทนภาคการเงิน มองว่าปัญหาใหญ่ของ SME ไทย คือ ความสามารถในการเข้าถึงแหล่งทุนเพราะขาดในเรื่องของหลักประกัน รวมทั้งยังไม่มีการวิจัยตลาดและพัฒนาสินค้าเท่าที่ควร
จากนั้น ดร.นิลสุวรรณ ลีลารัศมี รองเลขาธิการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า “การทำ FTA มีทั้งผลได้ และผลเสีย ถ้าเราเปิดประเภทสินค้าถูก เราก็ขายได้ แต่อย่างไรก็ตามอย่าเปิดเสรีหมด ไม่อยางนั้นธุรกิจก็จะแข่งขันลำบาก … ในอนาคต ควรมีโครงการสนับสนุนธุรกิจขนาดเล็ก ในการขยายเป็นเครือข่ายธุรกิจที่ใหญ่ขึ้น แต่ถ้า SMEs ไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม นักลงทุนต่างชาติก็จะมาเปลี่ยนและเหยียบท่านในที่สุด ดังนั้น SMEs ต้องเข้าถึงข้อมูลต่างๆให้ได้”
นอกจากนี้ คุณภูษิต เพ็ญศิริ ผู้อำนวยการ ศูนย์พัฒนาการค้า-การลงทุนแผนใหม่ และผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัยตลาด บริษัท นาโนเซิรช์ จำกัด ตัวแทนภาคเอกชน เสนอแนะว่า SMEs ต้องรู้จักสร้างมูลค่าทางการตลาด เช่น กล้วยที่ติดสติกเกอร์ว่า “จักรพรรดิ” สามารถส่งออกและเป็นที่นิยมของผู้บริโภคชาวจีนเป็นอย่างมาก SMEs จึงต้องปรับแนวคิดเช่นเดียวกัน เพราะในอนาคต การทำธุรกิจไม่มีเขตแดน การพัฒนาคุณภาพสินค้าจึงต้องทำควบคู่ไปกับการทำการบริหารจัดการที่เหมาะสมและแผนทางการตลาดที่สามารถตอบสนองพฤติกรรมของผู้บริโภคในตลาดอาเซียนได้