สถาบันอาหารชี้ช่องผู้ประกอบการไทยรุกตลาดเกษตรอินทรีย์ หลังจากพบว่าปัจจุบันผู้บริโภคทั่วโลกตื่นตัวหันมาใส่ใจสุขภาพมากขึ้น คาดการณ์ในปี 2555 เพิ่มสูงถึง 2,204 พันล้านบาท เพื่มขึ้นถึงร้อยละ 53.6 ตลาดใหญ่ที่สุดยังเป็นสภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกา ซึ่งที่ผ่านมาเกษตรอินทรีย์ของไทยยังไปทำตลาดต่างประเทศน้อยเพราะยังไม่เป็นที่รู้จัก
ดร.ยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร เปิดเผยว่า เนื่องจากปัจจุบัน ผู้บริโภคทั่วโลกตื่นตัวใส่ใจสุขภาพ ส่งผลให้มูลค่าตลาดอาหารเกษตรอินทรีย์โลก ในปี 2550 สูงถึง 1,435.5 พันล้านบาท และคาดการณ์ ปี 2555 เพิ่มสูงขึ้นถึง 2,204.4 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 53.6 จากปี 2550 โดยเฉพาะในกลุ่มผลิตภัณฑ์ผลไม้ และผัก มีมูลค่าตลาดมากที่สุด ร้อยละ 35.4 ซึ่งตลาดใหญ่ที่สุดเป็นตลาดในสหภาพยุโรป และ สหรัฐอเมริกา เพราะผู้บริโภคมีกำลังซื้อสูง โดยปัจจุบันทั้งสองตลาด ครองส่วนแบ่งตลาด ร้อยละ 51.4 และร้อยละ 44.6 ตามลำดับ
ดังนั้น ทางสถาบันอาหารเล็งเห็นว่า ผู้ประกอบการไทยควรเพิ่มทางเลือกในการลงทุน เจาะตลาดสินค้าเกษตร อาหาร และเครื่องดื่มเกษตรอินทรีย์ในตลาดโลกที่มีแนวโน้มความต้องการเพิ่มขึ้น ซึ่งการจำหน่ายสินค้าเกษตรอินทรีย์ของไทยไปยังต่างประเทศ ตลาดส่งออกที่สำคัญอันดับ 1 ได้แก่ กลุ่มประเทศในสหภาพยุโรป รองลงมา คือ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และสิงคโปร์ ตามลำดับ โดยมีข้าวเป็นสินค้าส่งออกหลัก รองลงมาได้แก่ ผัก ผลไม้ ข้าวโพด สมุนไพร และเครื่องเทศ ทั้งนี้อุปสรรคที่สำคัญของสินค้าเกษตรอินทรีย์ไทยในการนำไปจำหน่ายยังต่างประเทศ คือ การที่ผู้บริโภคในต่างประเทศยังไม่รู้จักผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ของไทยมากนัก โดยเฉพาะสินค้าประเภทผักและผลไม้
ทั้งนี้ ตลาดเกษตรอินทรีย์ของไทยในปี 2549 มีมูลค่าประมาณ 947 ล้านบาท แบ่งเป็นมูลค่าตลาดภายในประเทศ 520 ล้านบาท และมูลค่าตลาดส่งออก 427 ล้านบาท ผลผลิตเกษตรอินทรีย์ของไทยส่วนใหญ่จะเป็นผลผลิตเบื้องต้น เช่น ข้าว สมุนไพร ผักและผลไม้ ส่วนสินค้าแปรรูปเบื้องต้น และสินค้าแปรรูปที่เป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จยังมีจำนวนน้อย สินค้าเกษตรอินทรีย์ที่ไทยส่งออกไปยังต่างประเทศส่วนใหญ่เป็นสินค้าขั้นต้น เช่น ข้าวหอมมะลิ ผัก ผลไม้ สมุนไพรแห้ง ซึ่งเป็นสินค้ามูลค่าค่อนข้างต่ำ ในขณะที่สินค้าแปรรูป ซึ่งมีมูลค่าสูงยังมีไม่มากนัก อาจเนื่องมาจากผู้ซื้อต่างประเทศนิยมซื้อวัตถุดิบเกษตรอินทรีย์จากประเทศไทย เพื่อนำไปแปรรูปในต่างประเทศมากกว่า เพราะสามารถควบคุมคุณภาพสินค้าได้ดีกว่า และมีภาระภาษีนำเข้าที่ต่ำกว่าด้วย
ปัจจุบันแนวโน้มกระแสผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มเกษตรอินทรีย์กำลังมาแรง โดยมูลค่าตลาดอาหารเกษตรอินทรีย์โลกในปี 2550 มีการเติบโตเพิ่มขึ้น ร้อยละ 10.9 เมื่อเทียบจากปี 2549 หรือคิดเป็นมูลค่าตลาดสูงถึง 1,435.5 พันล้านบาท และคาดการณ์ว่าในปี 2555 มูลค่าตลาดอาหารเกษตรอินทรีย์โลกจะเพิ่มสูงขึ้นถึง 2,204.4 พันล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 53.6 เมื่อเทียบจากปี 2550 ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าตลาดมากที่สุด ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ผลไม้ และผัก โดยคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 35.4 ของมูลค่าตลาดอาหารเกษตรอินทรีย์ทั้งหมด ตลาดอาหารและเครื่องดื่มเกษตรอินทรีย์ที่มีขนาดใหญ่และผู้บริโภคมีกำลังซื้อสูง ได้แก่ สหภาพยุโรป เช่น เยอรมนี อิตาลี รวมถึงสหรัฐอเมริกา แคนาดา และญี่ปุ่น โดยส่วนแบ่งการตลาดของสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริการวมกันครองตลาดถึงร้อยละ 96 ของมูลค่าตลาดเกษตรอินทรีย์โลก
ทั้งนี้ สินค้าเกษตรอินทรีย์ที่นิยมในแต่ละตลาดมีความแตกต่างกัน โดยตลาดเกษตรอินทรีย์ในเยอรมนีมีแนวโน้มเติบโตสูง เพราะภาครัฐให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ ในการทำการค้าเกษตรอินทรีย์ในเยอรมนีควรต้องพิจารณาว่ากลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่มมีเป้าหมายและแรงจูงใจในการบริโภคสินค้าเกษตรอินทรีย์อย่างไร เพื่อนำมาเป็นแนวทางการขายและส่งเสริมการขายต่อไป สินค้าเกษตรอินทรีย์ที่ผู้บริโภคในเยอรมนีนิยมซื้อมาบริโภคอันดับ 1 เป็นสินค้าประเภทผัก ผลไม้ รองลงมาคือ นม และผลิตภัณฑ์จากนม ขนมปัง และขนมอบ เนื้อ และไส้กรอก ตามลำดับ ส่วนตลาดเกษตรอินทรีย์ในสหรัฐอเมริกา ในปี 2550 มีมูลค่าสูงถึง 640.2 พันล้านบาท ทั้งนี้ผลิตภัณฑ์อาหารเกษตรอินทรีย์ที่ผู้บริโภคนิยมจะเป็นผลิตภัณฑ์ประเภทผักและผลไม้ รองลงมาคือ นม และผลิตภัณฑ์นม ส่วนผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ ปลา และสัตว์ปีกนั้นยังมีส่วนแบ่งการตลาดเกษตรอินทรีย์น้อยที่สุด
สำหรับมูลค่าตลาดอาหารและเครื่องดื่มเกษตรอินทรีย์ในแคนาดาโดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ประมาณ 9.6-24 พันล้านบาท อย่างไรก็ตาม แม้ว่ามูลค่าตลาดจะยังมีสัดส่วนน้อยอยู่มาก แต่แนวโน้มตลาดดังกล่าวมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว กล่าวคือ มีอัตราการเติบโตมากกว่าร้อยละ 15 ต่อปี ผู้บริโภคสินค้าเกษตรอินทรีย์ในแคนาดามีประมาณร้อยละ 20 ของจำนวนประชากรทั้งประเทศ โดยเป็นกลุ่มผู้บริโภคที่มีความใส่ใจด้านสุขภาพ หรือกลุ่มผู้แพ้อาหารบางชนิด เหตุผลหลักที่ผู้บริโภคเลือกซื้อสินค้าเกษตรอินทรีย์ เพราะเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความปลอดภัยมากกว่าสินค้าอื่น และยินดีที่จะจ่ายเงินซื้อแม้ว่าสินค้าอาจจะมีราคาแพงกว่าสินค้าโดยทั่วไปก็ตาม ซึ่งผลิตภัณฑ์อาหารเกษตรอินทรีย์ที่ผู้บริโภคนิยมจะมีลักษณะคล้ายคลึงกับผู้บริโภคในสหรัฐอเมริกา ในส่วนของประเทศญี่ปุ่นผู้บริโภคจะนิยมบริโภคผักสด ข้าว ผลไม้ ชา และกาแฟ ส่วนผู้บริโภคในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปอื่นๆ จะนิยมสินค้าพวกผักสด ผลไม้สด และอาหารแปรรูป เช่น มันฝรั่ง มะเขือเทศ หัวหอม และแครอท แอปเปิ้ล ส้ม ไวน์ขาว โยเกิร์ต เป็นต้น
ตลาดสินค้าเกษตร อาหารและเครื่องดื่มเกษตรอินทรีย์มีแนวโน้มเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในตลาดที่มีกำลังซื้อสูง จึงถือเป็นโอกาสของไทย แม้ว่าในการผลิตและจำหน่ายสินค้าเกษตรอินทรีย์ของไทยจะอยู่ในระยะเริ่มต้น และยังมีข้อจำกัดอยู่มาก แต่จากแนวโน้มความต้องการสินค้าเกษตรอินทรีย์ของโลกที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นั้นทำให้เห็นโอกาสทางการค้าในด้านนี้มีอยู่สูงมาก ซึ่งผู้ประกอบการไทยควรพิจารณาเป็นแนวทางเลือกหนึ่งในการลงทุนและการทำธุรกิจของตนต่อไป
ดร.ยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร เปิดเผยว่า เนื่องจากปัจจุบัน ผู้บริโภคทั่วโลกตื่นตัวใส่ใจสุขภาพ ส่งผลให้มูลค่าตลาดอาหารเกษตรอินทรีย์โลก ในปี 2550 สูงถึง 1,435.5 พันล้านบาท และคาดการณ์ ปี 2555 เพิ่มสูงขึ้นถึง 2,204.4 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 53.6 จากปี 2550 โดยเฉพาะในกลุ่มผลิตภัณฑ์ผลไม้ และผัก มีมูลค่าตลาดมากที่สุด ร้อยละ 35.4 ซึ่งตลาดใหญ่ที่สุดเป็นตลาดในสหภาพยุโรป และ สหรัฐอเมริกา เพราะผู้บริโภคมีกำลังซื้อสูง โดยปัจจุบันทั้งสองตลาด ครองส่วนแบ่งตลาด ร้อยละ 51.4 และร้อยละ 44.6 ตามลำดับ
ดังนั้น ทางสถาบันอาหารเล็งเห็นว่า ผู้ประกอบการไทยควรเพิ่มทางเลือกในการลงทุน เจาะตลาดสินค้าเกษตร อาหาร และเครื่องดื่มเกษตรอินทรีย์ในตลาดโลกที่มีแนวโน้มความต้องการเพิ่มขึ้น ซึ่งการจำหน่ายสินค้าเกษตรอินทรีย์ของไทยไปยังต่างประเทศ ตลาดส่งออกที่สำคัญอันดับ 1 ได้แก่ กลุ่มประเทศในสหภาพยุโรป รองลงมา คือ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และสิงคโปร์ ตามลำดับ โดยมีข้าวเป็นสินค้าส่งออกหลัก รองลงมาได้แก่ ผัก ผลไม้ ข้าวโพด สมุนไพร และเครื่องเทศ ทั้งนี้อุปสรรคที่สำคัญของสินค้าเกษตรอินทรีย์ไทยในการนำไปจำหน่ายยังต่างประเทศ คือ การที่ผู้บริโภคในต่างประเทศยังไม่รู้จักผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ของไทยมากนัก โดยเฉพาะสินค้าประเภทผักและผลไม้
ทั้งนี้ ตลาดเกษตรอินทรีย์ของไทยในปี 2549 มีมูลค่าประมาณ 947 ล้านบาท แบ่งเป็นมูลค่าตลาดภายในประเทศ 520 ล้านบาท และมูลค่าตลาดส่งออก 427 ล้านบาท ผลผลิตเกษตรอินทรีย์ของไทยส่วนใหญ่จะเป็นผลผลิตเบื้องต้น เช่น ข้าว สมุนไพร ผักและผลไม้ ส่วนสินค้าแปรรูปเบื้องต้น และสินค้าแปรรูปที่เป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จยังมีจำนวนน้อย สินค้าเกษตรอินทรีย์ที่ไทยส่งออกไปยังต่างประเทศส่วนใหญ่เป็นสินค้าขั้นต้น เช่น ข้าวหอมมะลิ ผัก ผลไม้ สมุนไพรแห้ง ซึ่งเป็นสินค้ามูลค่าค่อนข้างต่ำ ในขณะที่สินค้าแปรรูป ซึ่งมีมูลค่าสูงยังมีไม่มากนัก อาจเนื่องมาจากผู้ซื้อต่างประเทศนิยมซื้อวัตถุดิบเกษตรอินทรีย์จากประเทศไทย เพื่อนำไปแปรรูปในต่างประเทศมากกว่า เพราะสามารถควบคุมคุณภาพสินค้าได้ดีกว่า และมีภาระภาษีนำเข้าที่ต่ำกว่าด้วย
ปัจจุบันแนวโน้มกระแสผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มเกษตรอินทรีย์กำลังมาแรง โดยมูลค่าตลาดอาหารเกษตรอินทรีย์โลกในปี 2550 มีการเติบโตเพิ่มขึ้น ร้อยละ 10.9 เมื่อเทียบจากปี 2549 หรือคิดเป็นมูลค่าตลาดสูงถึง 1,435.5 พันล้านบาท และคาดการณ์ว่าในปี 2555 มูลค่าตลาดอาหารเกษตรอินทรีย์โลกจะเพิ่มสูงขึ้นถึง 2,204.4 พันล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 53.6 เมื่อเทียบจากปี 2550 ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าตลาดมากที่สุด ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ผลไม้ และผัก โดยคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 35.4 ของมูลค่าตลาดอาหารเกษตรอินทรีย์ทั้งหมด ตลาดอาหารและเครื่องดื่มเกษตรอินทรีย์ที่มีขนาดใหญ่และผู้บริโภคมีกำลังซื้อสูง ได้แก่ สหภาพยุโรป เช่น เยอรมนี อิตาลี รวมถึงสหรัฐอเมริกา แคนาดา และญี่ปุ่น โดยส่วนแบ่งการตลาดของสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริการวมกันครองตลาดถึงร้อยละ 96 ของมูลค่าตลาดเกษตรอินทรีย์โลก
ทั้งนี้ สินค้าเกษตรอินทรีย์ที่นิยมในแต่ละตลาดมีความแตกต่างกัน โดยตลาดเกษตรอินทรีย์ในเยอรมนีมีแนวโน้มเติบโตสูง เพราะภาครัฐให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ ในการทำการค้าเกษตรอินทรีย์ในเยอรมนีควรต้องพิจารณาว่ากลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่มมีเป้าหมายและแรงจูงใจในการบริโภคสินค้าเกษตรอินทรีย์อย่างไร เพื่อนำมาเป็นแนวทางการขายและส่งเสริมการขายต่อไป สินค้าเกษตรอินทรีย์ที่ผู้บริโภคในเยอรมนีนิยมซื้อมาบริโภคอันดับ 1 เป็นสินค้าประเภทผัก ผลไม้ รองลงมาคือ นม และผลิตภัณฑ์จากนม ขนมปัง และขนมอบ เนื้อ และไส้กรอก ตามลำดับ ส่วนตลาดเกษตรอินทรีย์ในสหรัฐอเมริกา ในปี 2550 มีมูลค่าสูงถึง 640.2 พันล้านบาท ทั้งนี้ผลิตภัณฑ์อาหารเกษตรอินทรีย์ที่ผู้บริโภคนิยมจะเป็นผลิตภัณฑ์ประเภทผักและผลไม้ รองลงมาคือ นม และผลิตภัณฑ์นม ส่วนผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ ปลา และสัตว์ปีกนั้นยังมีส่วนแบ่งการตลาดเกษตรอินทรีย์น้อยที่สุด
สำหรับมูลค่าตลาดอาหารและเครื่องดื่มเกษตรอินทรีย์ในแคนาดาโดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ประมาณ 9.6-24 พันล้านบาท อย่างไรก็ตาม แม้ว่ามูลค่าตลาดจะยังมีสัดส่วนน้อยอยู่มาก แต่แนวโน้มตลาดดังกล่าวมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว กล่าวคือ มีอัตราการเติบโตมากกว่าร้อยละ 15 ต่อปี ผู้บริโภคสินค้าเกษตรอินทรีย์ในแคนาดามีประมาณร้อยละ 20 ของจำนวนประชากรทั้งประเทศ โดยเป็นกลุ่มผู้บริโภคที่มีความใส่ใจด้านสุขภาพ หรือกลุ่มผู้แพ้อาหารบางชนิด เหตุผลหลักที่ผู้บริโภคเลือกซื้อสินค้าเกษตรอินทรีย์ เพราะเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความปลอดภัยมากกว่าสินค้าอื่น และยินดีที่จะจ่ายเงินซื้อแม้ว่าสินค้าอาจจะมีราคาแพงกว่าสินค้าโดยทั่วไปก็ตาม ซึ่งผลิตภัณฑ์อาหารเกษตรอินทรีย์ที่ผู้บริโภคนิยมจะมีลักษณะคล้ายคลึงกับผู้บริโภคในสหรัฐอเมริกา ในส่วนของประเทศญี่ปุ่นผู้บริโภคจะนิยมบริโภคผักสด ข้าว ผลไม้ ชา และกาแฟ ส่วนผู้บริโภคในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปอื่นๆ จะนิยมสินค้าพวกผักสด ผลไม้สด และอาหารแปรรูป เช่น มันฝรั่ง มะเขือเทศ หัวหอม และแครอท แอปเปิ้ล ส้ม ไวน์ขาว โยเกิร์ต เป็นต้น
ตลาดสินค้าเกษตร อาหารและเครื่องดื่มเกษตรอินทรีย์มีแนวโน้มเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในตลาดที่มีกำลังซื้อสูง จึงถือเป็นโอกาสของไทย แม้ว่าในการผลิตและจำหน่ายสินค้าเกษตรอินทรีย์ของไทยจะอยู่ในระยะเริ่มต้น และยังมีข้อจำกัดอยู่มาก แต่จากแนวโน้มความต้องการสินค้าเกษตรอินทรีย์ของโลกที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นั้นทำให้เห็นโอกาสทางการค้าในด้านนี้มีอยู่สูงมาก ซึ่งผู้ประกอบการไทยควรพิจารณาเป็นแนวทางเลือกหนึ่งในการลงทุนและการทำธุรกิจของตนต่อไป