กลุ่มนักวิจัยจับมือองค์กรมหาชน ตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนามังคุดแห่งชาติครั้งแรกของไทย นำทีมโดย บมจ.เอเชียน ไฟย์โตซูติคอลล์ ควักงบกว่า 30 ล้านบาท ต่อยอดงานวิจัยที่ทำกว่า 30 ปีสู่ภาคการผลิต นำร่องผลิตภัณฑ์เสริมอาหารกว่า 4 ล้านชิ้น จำหน่ายทั้งในและต่างประเทศ คาดช่วยเกษตรกรแก้ปัญหามังคุดล้นตลาดกว่า 1,000 ตัน
ศ.ดร.พิเชษฐ์ วิริยะจิตรา กรรมการผู้จัดการ บจก.เอเชียน ไฟย์โตซูติคอลส์ จำกัด (มหาชน) หนึ่งในผู้ก่อตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนามังคุดแห่งชาติ เปิดเผยว่า ทางบริษัท ได้ร่วมกับองค์กรมหาชนของกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ และองค์กรมหาชนของกระทรวงอุตสาหกรรม ได้ดำเนินการทำข้อตกลงร่วมกันในการจัดตั้งศูนย์ วิจัยและพัฒนามังคุดแห่งชาติครั้งแรกของประเทศไทยขึ้น เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ปัญหามังคุดล้นตลาดและราคาตกต่ำขาดทุนมาตลอด โดยประเทศไทยมีมังคุดมากกว่า 235,000 ตัน เกินความต้องการของตลาด ซึ่งภาครัฐพยายามแก้ปัญหาดังกล่าว แต่ขาดระบบการบริหาร จนล่าสุดภาครัฐมีแผนอนุมัติงบประมาณกว่า 10 ล้านบาท เพื่อทำวิจัย ซึ่งทางบริษัทเล็งเห็นว่า ในเมื่อมีการทำวิจัยอยู่แล้ว และเป็นงานวิจัยที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลกที่เป็นฝีมือคนไทย เราก็ ไม่ควรที่จะทำอะไรที่ซ้ำซ้อน จึงตัดสินใจเปิดศูนย์แห่งนี้ขึ้น
ทั้งนี้ ศูนย์แห่งนี้ ตั้งงบประมาณในช่วงแรกไว้จำนวน 30 ล้านบาท โดยทางบริษัทเอเชียน ไฟย์โตซูติคอลส์ จำกัด (มหาชน) สนับสนุนเงินจำนวน 15 ล้านบาท และเงินสนับสนุนอีก 15 ล้านบาท เป็นเงินสนับสนุนจากองค์กรมหาชนทั้งภาคเกษตรและอุตสาหกรรม โดยผลงานนำร่องที่ทางศูนย์จะพัฒนาออกสู่ตลาด จะเริ่มจากผลิตภัณฑ์อาหารเสริม โดยในช่วงแรกจะผลิตจำนวน 4 ล้านชิ้น จำหน่ายทั้งในและต่างประเทศ ประมาณไตรมาสแรกของปี 2551 คาดว่าจะใช้มังคุดประมาณ 1,000 ตัน โดยเงินกำไรที่ได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ทางศูนย์ฯ จะคืนเงินกลับองค์กรมหาชนทั้งหมด เพื่อนำเงินกลับมาใช้บริหารศูนย์และทำงานวิจัยชิ้นต่อๆไป ซึ่งหน่วยงานของภาครัฐที่ร่วมทำงานในครั้งนี้ จะมีสถาบันอาหาร และสำนักพัฒนางานการวิจัยการเกษตร
อย่างไรก็ตามที่ผ่านมาประเทศไทยมีนักวิจัยจำนวนมากที่ทำการวิจัยและศึกษาสารสกัดจากมังคุดอย่างต่อเนื่องมานานกว่า 30 ปี แต่ขาดการนำผลงานวิจัยไปต่อยอดอย่างจริงจัง ทำให้นักวิจัยไทยมีแนวคิดที่ต้องการจะจัดตั้งศูนย์วิจัยแห่งนี้ขึ้นมาเพื่อเป็นศูนย์กลาง ในการรวบรวมผลงานวิจัยจากนักวิจัยทั่วประเทศ และประสานให้นักวิจัยร่วมวางแผนการวิจัยเพิ่มเติม และช่วยประสานให้นักวิจัยไทยใช้ผลงานและข้อมูลงานวิจัยในการสร้างอุตสาหกรรมที่มั่นคงและยั่งยืนกับชาวสวนและนักอุตสาหกรรม และเพื่อนำเสนอผลงานและข้อมูลปัจจุบันและที่จะเกิดขึ้นในอนาคตให้กับวงการวิชาการและวงการธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ สร้างความเชื่อมั่นและยอมรับแก่กลุ่มผู้บริโภค
ศ.ดร.พิเชษฐ์ วิริยะจิตรา กรรมการผู้จัดการ บจก.เอเชียน ไฟย์โตซูติคอลส์ จำกัด (มหาชน) หนึ่งในผู้ก่อตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนามังคุดแห่งชาติ เปิดเผยว่า ทางบริษัท ได้ร่วมกับองค์กรมหาชนของกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ และองค์กรมหาชนของกระทรวงอุตสาหกรรม ได้ดำเนินการทำข้อตกลงร่วมกันในการจัดตั้งศูนย์ วิจัยและพัฒนามังคุดแห่งชาติครั้งแรกของประเทศไทยขึ้น เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ปัญหามังคุดล้นตลาดและราคาตกต่ำขาดทุนมาตลอด โดยประเทศไทยมีมังคุดมากกว่า 235,000 ตัน เกินความต้องการของตลาด ซึ่งภาครัฐพยายามแก้ปัญหาดังกล่าว แต่ขาดระบบการบริหาร จนล่าสุดภาครัฐมีแผนอนุมัติงบประมาณกว่า 10 ล้านบาท เพื่อทำวิจัย ซึ่งทางบริษัทเล็งเห็นว่า ในเมื่อมีการทำวิจัยอยู่แล้ว และเป็นงานวิจัยที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลกที่เป็นฝีมือคนไทย เราก็ ไม่ควรที่จะทำอะไรที่ซ้ำซ้อน จึงตัดสินใจเปิดศูนย์แห่งนี้ขึ้น
ทั้งนี้ ศูนย์แห่งนี้ ตั้งงบประมาณในช่วงแรกไว้จำนวน 30 ล้านบาท โดยทางบริษัทเอเชียน ไฟย์โตซูติคอลส์ จำกัด (มหาชน) สนับสนุนเงินจำนวน 15 ล้านบาท และเงินสนับสนุนอีก 15 ล้านบาท เป็นเงินสนับสนุนจากองค์กรมหาชนทั้งภาคเกษตรและอุตสาหกรรม โดยผลงานนำร่องที่ทางศูนย์จะพัฒนาออกสู่ตลาด จะเริ่มจากผลิตภัณฑ์อาหารเสริม โดยในช่วงแรกจะผลิตจำนวน 4 ล้านชิ้น จำหน่ายทั้งในและต่างประเทศ ประมาณไตรมาสแรกของปี 2551 คาดว่าจะใช้มังคุดประมาณ 1,000 ตัน โดยเงินกำไรที่ได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ทางศูนย์ฯ จะคืนเงินกลับองค์กรมหาชนทั้งหมด เพื่อนำเงินกลับมาใช้บริหารศูนย์และทำงานวิจัยชิ้นต่อๆไป ซึ่งหน่วยงานของภาครัฐที่ร่วมทำงานในครั้งนี้ จะมีสถาบันอาหาร และสำนักพัฒนางานการวิจัยการเกษตร
อย่างไรก็ตามที่ผ่านมาประเทศไทยมีนักวิจัยจำนวนมากที่ทำการวิจัยและศึกษาสารสกัดจากมังคุดอย่างต่อเนื่องมานานกว่า 30 ปี แต่ขาดการนำผลงานวิจัยไปต่อยอดอย่างจริงจัง ทำให้นักวิจัยไทยมีแนวคิดที่ต้องการจะจัดตั้งศูนย์วิจัยแห่งนี้ขึ้นมาเพื่อเป็นศูนย์กลาง ในการรวบรวมผลงานวิจัยจากนักวิจัยทั่วประเทศ และประสานให้นักวิจัยร่วมวางแผนการวิจัยเพิ่มเติม และช่วยประสานให้นักวิจัยไทยใช้ผลงานและข้อมูลงานวิจัยในการสร้างอุตสาหกรรมที่มั่นคงและยั่งยืนกับชาวสวนและนักอุตสาหกรรม และเพื่อนำเสนอผลงานและข้อมูลปัจจุบันและที่จะเกิดขึ้นในอนาคตให้กับวงการวิชาการและวงการธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ สร้างความเชื่อมั่นและยอมรับแก่กลุ่มผู้บริโภค