“เด็กไทยเก่งไม่แพ้ชาติใดในโลก” คำพูดนี้เห็นจะไม่เกินความจริงๆ เนื่องใน “วันเด็กแห่งชาติ 2568” ..... MGROnline science ขอนำ 3 โครงงานของเยาวชนไทยที่น่าสนใจ ที่สามารถนำมาตอบโจทย์และช่วยเหลือชุมชนได้อย่าตรงจุด มาให้ได้ชมกัน
โครงงาน “เครื่องฟอกอากาศอัจฉริยะ” : สร้างหมอกจับฝุ่น PM 2.5 “เครื่องฟอกอากาศอัจฉริยะ” ไอเดียดีจากนักเรียนมัธยม ทำใช้เองได้ไม่ยาก
ในปัจจุบัน“ฝุ่น PM 2.5” กลายมาเป็นปัญหามลพิษทางอากาศที่เราได้ยินกันบ่อยๆ ในทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย และในบางพื้นที่ก็มีค่ามลภาวะทางอากาศสูงมาก จนติดอันดับต้นๆ ของโลก ด้วยเหตุนี้หลายๆ หน่วยงานจึงได้มีแนวคิดในการแก้ไขปัญหา เพื่อที่จะพลิกพื้นสภาพอากาศที่ดีให้กลับคืนขึ้นมาได้อีกครั้ง เหมือนอย่างเช่น “เครื่องฟอกอากาศอัจฉริยะ”
หนึ่งในนวัตกรรมจากฝีมือนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ที่มีแนวความคิดในการช่วยแก้ไขปัญหาในเรื่องนี้
อ่านบทความ >>> https://mgronline.com/science/detail/9670000003807
โครงงาน “วิมานหอยหอม” : ถอดแบบจอมปลวกเป็น "โดมเลี้ยงหอยหอม" สร้างรายได้ เลี้ยงได้ตลอดปี อนุรักษ์สัตว์ประจำถิ่นอย่างยั่งยืน
“วิมานหอยหอม” สิ่งประดิษฐ์ฝีมือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา โรงเรียนปลาปากวิทยา ที่สามารถตอบโจทย์การเลี้ยงหอยหอมได้ตลอดทั้งปี สร้างอาชีพรายได้ พร้อมๆ กับการอนุรักษ์สัตว์ประจำถิ่น ที่เริ่มจะพบเจอในธรรมชาติได้ยากมากขึ้น
นางสาวกรรณิการ์ คำกลอนลือชา และ นางสาวฐิตินันท์ วงศ์ญาพ่อ นักเรียนชั้นมัธยม โรงเรียนปลาบากวิทยา อำเภอปลาบาก จังหวัดนครพนม เล่าว่า “วิมานหอยหอม” เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่ถูกคิดขึ้นเพื่อตอบโจทย์ ในเรื่องความต้องการบริโภค “หอยหอม” ที่มากขึ้นในปัจจุบัน เนื่องจากหอยชนิดนี้ มีโปรตีนสูง และเมื่อนำไปประกอบอาหาร เช่น เมนูปิ้งย่าง ก็จะมีกลิ่นหอมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ทำให้ในปัจจุบันมีคนให้นิยมนำมาประกอบอาหารกันเป็นอย่างมาก และตลาดก็มีความต้องการเพิ่มมากขึ้นในทุกปีๆ ทำให้ราคาหอยหอมในปัจจุบัน อยู่ที่กิโลกรัมละ 450 – 500 บาท
อ่านบทความ >>> https://mgronline.com/science/detail/9670000122704
โครงงาน “เตาปิ้งย่างปลาเม็งด้วยโอ่งดิน พร้อมระบบลดสารก่อมะเร็งในอาหาร” : ไอเดียเจ๋ง! เปลี่ยนโอ่งให้เป็นเตาอบและรมควันปลาเม็ง เพิ่มคุณภาพการแปรรูป
นางสาวบุญฑิตา มั่นยืน และ นายคัมภีร์ ศรีเทพ นักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี ผู้ร่วมโครงการวิจัย ได้เล่าถึงจุดเริ่มของการนำโอ่งมาดัดแปลงเป็น เตาอบโอ่งและรมควันปลาเม็ง ในชื่อผลงานสิ่งประดิษฐ์ “เตาปิ้งย่างด้วยโอ่งดิน พร้อมระบบลดสารก่อมะเร็งในอาหาร” ว่า จากการศึกษากระบวนการแปรรูปปลาเม็งรมควันของวิสาหกิจชุมชนศูนย์การเรียนรู้บ้านห้วยทรายในขั้นตอนการอบและการรมควันประสบปัญหาหลายด้าน อาทิ สิ้นเปลืองเชื้อเพลิงมาก หากใช้ระบบแก๊สหรือไฟฟ้าก็สิ้นเปลืองพลังงานมาก และใช้เวลาในการอบควันนาน 3 วัน ต้องคอยพลิกกลับตลอดเวลา ทำให้ผลิตภัณฑ์ปลาเม็งรมควันแห้งไม่สม่ำเสมอ ปลาที่รมควันไหม้เสียหายจนไม่สามารถขาย หรือนำไปรับประทานได้
อ่านบทความ >>> https://mgronline.com/science/detail/9670000120342