xs
xsm
sm
md
lg

ดาวเสาร์ใกล้โลก วันศารทวิษุวัต ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์น่าติดตาม เดือนกันยายน 2567

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ NARIT เผย ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ น่าติดตามในเดือนกันยายน 2567 โดยมีไฮไลต์อยู่ที่ ดาวเสาร์ใกล้โลกที่สุดในรอบปี ในวันที่ 28 กันยายน และ วันศารทวิษุวัต วันที่มีช่วงเวลากลางวันยาวเท่ากับกลางคืน ในวันที่ 22 กันยายน 


สำหรับปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ ที่จะเกิดขึ้นในเดือนกันยายนนี้ มีดังนี้

5 กันยายน ดาวเคียงเดือน
ดาวศุกร์เคียงดวงจันทร์ สังเกตได้ทางทิศตะวันตก หลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า จนถึงเวลาประมาณ 19.20 น.

7 กันยายน ดาวเคียงเดือน
ดาวสไปกา (Spica) หรือ ดาวรวงข้าว เคียงดวงจันทร์ (0.3 องศา) สังเกตได้ทางทิศตะวันตก หลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า จนถึงเวลาประมาณ 20.30 น.

8 กันยายน ดาวเสาร์ ใกล้โลกที่สุดในรอบปี
ดาวเสาร์จะโคจรมาอยู่ในตำแหน่งตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ ส่งผลให้ดาวเสาร์อยู่ในตำแหน่งใกล้โลกที่สุดในรอบปี หลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า ดาวเสาร์สว่างจะปรากฏทางทิศตะวันออก สังเกตได้ด้วยตาเปล่ายาวนานตลอดคืนจนถึงรุ่งเช้า หากดูดาวเสาร์ผ่านกล้องโทรทรรศน์ เส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 4 นิ้ว หรือมีกำลังขยายตั้งแต่ 50 เท่าขึ้นไป

10 กันยายน ดาวเคียงเดือน
ดาวแอนทาเรสเคียงดวงจันทร์ สังเกตได้ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ หลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า จนถึงเวลาประมาณ 22.40 น.

17 กันยายน ดาวเคียงเดือน
ดาวเสาร์เคียงดวงจันทร์ (0.3 องศา) สังเกตได้ทางทิศตะวันออก หลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า จนถึงรุ่งเช้า

22 กันยายน วันศารทวิษุวัต
ช่วงเวลากลางวันยาวนานเท่ากับกลางคืน และยังเป็นช่วงเวลาที่ประเทศทางซีกโลกเหนือเข้าสู่ฤดูใบไม้ร่วง ส่วนประเทศทางซีกโลกใต้เข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิ

26 กันยายน ดาวเคียงเดือน
ดาวพอลลักซ์เคียงดวงจันทร์ สังเกตได้ทางทิศตะวันออก เวลาประมาณ 01.20 น. จนถึงรุ่งเช้า

29 กันยายน 2567 ดาวเคียงเดือน
ดาวเรกูลัสเคียงดวงจันทร์ สังเกตได้ทางทิศตะวันออก เวลาประมาณ 03.45 น. จนถึงรุ่งเช้า




กำลังโหลดความคิดเห็น