xs
xsm
sm
md
lg

21 มี.ค.“วันวสันตวิษุวัต” กลางวันยาวนานเท่ากับกลางคืน พระอาทิตย์จะขึ้นและตกที่ “ราศีมีน”

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



เป็นที่รู้กันว่าโลกที่เราอาศัยอยู่นั้น โคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ ใช้เวลา 365 และในแต่ละวันก็มีความหมายที่แตกต่างกันออกไป ตามองศาและพื้นหลังของดวงอาทิตย์บนท้องฟ้า เหมือนอย่างเช่น วันที่ 20 หรือ 21 มีนาคม ของทุกๆ ปี จะถูกเรียกว่า “วันวสันตวิษุวัต” เป็นวันที่ช่วงเวลากลางวันยาวนานเท่ากับกลางคืน และในช่วงนี้ของทุกปี ดวงอาทิตย์จะมีพื้นหลังเป็น “กลุ่มดาวปลาคู่” หรือ “กลุ่มดาวราศีมีน” กลุ่มดาวกลุ่มสุดท้ายของกลุ่มดาว 12 จักรราศี



“วันวสันตวิษุวัต”
คือวันที่ตำแหน่งของโลก ได้โคจรมาในองศา ช่วงเวลากลางวันยาวนานเท่ากับกลางคืน ดวงอาทิตย์จะขึ้นทางทิศตะวันออกและตกทางทิศตะวันตกพอดี ในตำแหน่งนี้เป็นตำแหน่งที่ดวงอาทิตย์ตั้งฉากกับเส้นศูนย์สูตรของโลกพอดี จึงทำให้ในวันที่ 20 หรือ 21 มีนาคมของทุกปี ช่วงเวลากลางวันยาวนานเท่ากับกลางคืน และถือเป็นวันเปลี่ยนฤดูกาลเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิของประเทศทางซีกโลกเหนือ และเปลี่ยนสู่ฤดูใบไม้ร่วงของประเทศทางซีกโลกใต้


ในความของ “วสันตวิษุวัต” (วะ-สัน-ตะ-วิ-สุ-วัด) คำว่า “วิษุวัต” เป็นภาษาสันสกฤต หมายถึง “จุดราตรีเสมอภาค” จุดที่ดวงอาทิตย์อยู่ในตำแหน่งตั้งฉากกับเส้นศูนย์สูตรของโลกพอดี ส่งผลให้เป็นที่มีชื่อว่าวิษุวัตต่างๆ คือวันที่มีเวลากลางวันและกลางคืนยาวเท่ากัน วันดังกล่าวเกิดขึ้นเพียง 2 ครั้งต่อปี คือช่วงเริ่มต้นของฤดูใบไม้ผลิในเขตซีกโลกเหนือ เรียกว่า “วันวสันตวิษุวัต” และช่วงเริ่มต้นฤดูใบไม้ร่วงในเขตซีกโลกเหนือเรียกว่า “วันศารทวิษุวัต” จะเกิดขึ้นในช่วงประมาณวันที่ 22 - 24 กันยายน ของทุกๆ ปี


และระนาบโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์นี้ ทำให้พื้นที่ต่างๆ ทั่วโลกได้รับแสงอาทิตย์ในปริมาณไม่เท่ากัน ส่งผลให้มีอุณหภูมิต่างกัน รวมถึงระยะเวลากลางวันและกลางคืนก็ต่างกันด้วยเหตุนี้ทำให้เกิดฤดูกาลขึ้นบนโลกนั้นเอง จะสังเกตได้ว่าในฤดูร้อนเวลากลางวันจะยาวกว่ากลางคืน ดวงอาทิตย์จะขึ้นเร็วและตกช้า แตกต่างกับฤดูหนาวเวลากลางคืนจะยาวนานกว่ากลางวัน ดวงอาทิตย์จะขึ้นช้าและตกเร็ว


นอกจากในช่วง 20 -21 มีนาคม ของทุกปี จะเป็นวันวสันตวิษุวัต ขอบฟ้าที่ดวงอาทิตย์ขึ้นในยามเช้า ในช่วงเวลานี้จะมีพื้นหลังเป็น “กลุ่มดาวปลาคู่” (Pisces) หรือที่ทางโหราศาสตร์เรียกกันว่า “กลุ่มดาวราศีมีน” กลุ่มดาวกลุ่มสุดท้าย ในดาว 12 จักรราศี และเมื่อดวงอาทิตย์ตกจะเห็นกลุ่มดาวนี้อยู่ทางขอบฟ้าทิศตะวันตกพอดี โดยกลุ่มดาวนี้จะเป็นพื้นหลังอยู่ในช่วงระหว่างวันที่ 13 มีนาคม – 12 เมษายน ของทุกปี กลุ่มดาวนี้ เป็นกลุ่มดาวฤกษ์ที่ไม่มีค่อยมีความสว่าง และหาชมได้ยาก แต่กลุ่มดาวนี้จะถูกนักดาราศาสตร์อ้างถึงอยู่บ่อยๆ เพราะในวันที่ 21 มีนาคม ดวงอาทิตย์เคลื่อนที่ปรากฏเข้ามาอยู่ในกลุ่มดาวนี้ ดวงอาทิตย์ตั้งฉากกับเส้นศูนย์สูตรของโลกพอดี

จักรราศีนั้น เป็นแถบสมมติบนท้องฟ้า ค่อนไปทางเหนือและใต้ของแนวเส้นทางที่ดวงอาทิตย์ปรากฏเคลื่อนผ่าน การแบ่งเส้นสุริยวิถีออกเป็นจักรราศี เริ่มต้นในยุคบาบิโลเนีย ดาราศาสตร์ในช่วงครึ่งแรกของ 1,000 ปีก่อนคริสตกาล คล้ายกับช่วงกลางหรือบาบิโลเนียใหม่ เมื่อ 700 ปีก่อนคริสตกาล

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ NARIT


กำลังโหลดความคิดเห็น