โลกของเราเมื่อนอกจากชั้นบรรยากาศที่ถูกแบ่งออกเป็นชั้นแล้ว ภายใต้พื้นดินก็ยังถูกแบ่งออกเป็นชั้นต่างๆ ด้วยเหมือนกัน ได้แก่ ชั้นที่ 1.เปลือกโลก (Crust) 2.เนื้อโลก (Mantle) 3.แก่นโลกชั้นนอก (Outer Core) และ 4.แก่นโลกชั้นใน (Inner Core) ที่จะมีการหมุนเกิดขึ้นด้วยความเร็วที่ต่างจากการหมุนของโลก
ในการศึกษาเรื่องชั้นต่างๆ ภายในพื้นโลก นักวิทยาศาสตร์ได้เผยว่า แก่นโลกชั้นในที่มีลักษณะเป็นแกนทรงกลมเหล็ก-นิกเกิลที่เป็นของแข็ง ล้อมรอบด้วยแกนชั้นนอกที่เป็นเหล็ก-นิกเกิลเหลว แกนกลางชั้นในมีขนาดประมาณดวงจันทร์ ซึ่งอยู่ใต้ฝ่าเท้าของเรามากกว่า 3,000 ไมล์ ในช่วงเวลาที่ผ่านมาได้เกิดการหยุดหมุน หมุนช้าลง หรือเปลี่ยนทิศทางการหมุน
John Vidale นักวิทยาศาสตร์จาก ภาควิชาธรณีศาสตร์แห่งวิทยาลัยอักษร ศิลปะ และวิทยาศาสตร์ยูเอสซีดอร์นซิฟ Professor of Earth Sciences at the USC ได้มีการเปิดข้อมูลในการศึกษาแก่นโลกว่า ในปัจจุบันแก่นโลกชั้นในหมุนช้าลงจริงเมื่อเทียบกับพื้นผิวดาวเคราะห์ เนื่องจากการเคลื่อนตัวช้าลงเล็กน้อยแทนที่จะเร็วกว่า เป็นครั้งแรกในรอบประมาณ 40 ปีเมื่อเทียบกับความเร็วในทศวรรษก่อน โดยข้อมูลในการศึกานี้ได้ตีพิมพ์ใน วารสาร Nature เมื่อวันที่ 12 มิ.ย. ที่ผ่านมา
การศึกษาใหม่ของ USC ให้หลักฐานที่ชัดเจนว่า แก่นโลกชั้นในเริ่มลดความเร็วลงราวปี 2010 โดยหมุนช้ากว่าพื้นผิวโลก John Vidale และ Wei Wang นักวิทยาศาสตร์จาก Chinese Academy of Sciencesได้ศึกษาโดยใช้รูปคลื่นและการเกิดแผ่นดินไหวซ้ำๆ ตรงกันข้ามกับการวิจัยอื่นๆ แผ่นดินไหวซ้ำคือเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นที่ตำแหน่งเดียวกันเพื่อสร้างกราฟคลื่นไหวสะเทือนที่เหมือนกัน ในการศึกษานี้ นักวิจัยได้รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลแผ่นดินไหวที่บันทึกไว้รอบๆ หมู่เกาะเซาท์แซนด์วิชจากแผ่นดินไหวซ้ำ 121 ครั้งที่เกิดขึ้นระหว่างปี 1991 ถึง 2023 นอกจากนี้ พวกเขายังใช้ข้อมูลจากการทดสอบนิวเคลียร์ของสหภาพโซเวียตสองครั้งระหว่างปี 1971 ถึง 1974 เช่นเดียวกับแผ่นดินไหวในฝรั่งเศสและอเมริกาซ้ำ การทดสอบนิวเคลียร์จากการศึกษาอื่นๆ เกี่ยวกับแกนกลางชั้นใน
สำหรับความเร็วที่ช้าลงของแกนชั้นในของโลกนั้น เกิดจากการปั่นป่วนของแกนกลางชั้นนอกที่เป็นเหล็กเหลวที่ล้อมรอบ ซึ่งก่อให้เกิดสนามแม่เหล็กโลก เช่นเดียวกับแรงดึงดูดโน้มถ่วงจากบริเวณหนาแน่นของเนื้อโลกหินที่อยู่ด้านบน
“เมื่อผมเห็นผลการวัดคลื่นครั้งแรกที่บอกเป็นนัยถึงการเปลี่ยนแปลงนี้ ผมถึงกับนิ่งงัน แต่เมื่อเราพบข้อสังเกตอีกมากกว่า 20 ครั้งที่ส่งสัญญาณรูปแบบเดียวกัน ผลลัพธ์ก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ แกนในได้ชะลอตัวลงเป็นครั้งแรกในรอบหลายทศวรรษ”
“นักวิทยาศาสตร์คนอื่นๆ ได้โต้เถียงกันเรื่องแบบจำลองที่คล้ายกันและแตกต่างกันเมื่อเร็วๆ นี้ แต่การศึกษาล่าสุดของเราระบุความละเอียดที่น่าเชื่อที่สุด” .... John Vidale นักวิทยาศาสตร์ของ USC กล่าว
ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงนี้ อาจเปลี่ยนความยาวของวันไปเป็นเสี้ยววินาที โดยเป็นเรื่องที่ยากมากที่จะสังเกตได้ในระดับหนึ่งในพันของวินาที การวิจัยในอนาคตของนักวิทยาศาสตร์ของ USC มุ่งหวังที่จะจัดทำแผนภูมิวิถีของแกนกลางในโดยละเอียดยิ่งขึ้น เพื่อเผยให้เห็นว่าทำไมมันถึงมีการเปลี่ยนแปลง
ข้อมูล – รูปอ้างอิง
- today.usc.edu/
- University of Southern California
- worldexplorer.co.th
- attheu.utah.edu