ม. รามคำแหง จับมือกับกรมอุทยานฯ และกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง นำเสนอผลงานวิจัย ในงานประชุมวิชาการ World Conference on Marine Biodiversity ครั้งที่ 6 ณ รัฐปีนัง ประเทศมาเลเซีย
กลุ่มวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพในทะเล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง นำโดยรศ.ดร. ธรรมศักดิ์ ยีมิน ผศ.ดร.มาฆมาส สุทธาชีพ ดร.วิชิน สืบปาละ และ ดร.สิทธิพร เพ็งสกุล พร้อมด้วยนายมรกต โจวรรณถะ หัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการอุทยานแห่งชาติทางทะเลที่ 1 จังหวัดชุมพร นางอรอนงค์ เพ็งจำรัส ดร. ลัดดาวัลย์ แสงสว่าง นักวิชาการจากกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) รวมทั้งบุคลากรของกรมอุทยานฯ กรม ทช. กรมประมง และนักวิจัยจาก ม.รามคำแหง ร่วมนำเสนอผลงานวิจัยในการประชุมทางวิชาการ World Conference on Marine Biodiversity (WCMB) ครั้งที่ 6 ภายใต้หัวข้อ “Marine Biodiversity Challenges in the Anthropocene” ณ Jen Hotel by Shangri-La รัฐปีนัง ประเทศมาเลเซีย ระหว่างวันที่ 2 - 5 กรกฎาคม 2566 ซึ่งมีผู้เข้าร่วมการประชุมกว่า 400 คน จาก 50 ประเทศทั่วโลก
การประชุมทางวิชาการ WCMB จัดทุก 3 ปี โดยในครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกที่จัดขึ้นในภูมิภาคอาเซียน การประขุมฯ มุ่งเน้นงานวิจัยด้านความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเล ที่เชื่อมโยงกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการอนุรักษ์ ซึ่งเป็นประเด็นที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการอนุรักษ์บริเวณที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง (World’s Hotspot in Biodiversity) The Centre for Marine and Coastal Studies (CEMACS), Universiti Sains Malaysia (USM) เป็นเจ้าภาพหลัก โดยกลุ่มวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพในทะเล คณะวิทยาศาสตร์ ม.รามคำแหง เป็นหน่วยงานร่วมสนับสนุน การประชุมครั้งนี้แบ่งเป็น 13 หัวข้อหลัก 7 การประชุมกลุ่มเฉพาะด้าน และการประชุมเชิงปฏิบัติการ ภายใต้หัวข้อ “Marine Life 2030: Catalysing Collaboration for Co-Designed Marine Life Science”
ผลงานวิจัยจากประเทศไทยครอบคลุมประเด็นเกี่ยวกับน้ำมันรั่วไหลในทะเล ไมโครพลาสติก พื้นที่คุ้มครองทางทะเล การกักเก็บคาร์บอน การท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ นิเวศวิทยาและการฟื้นฟูระบบนิเวศแนวปะการัง กองหินใต้น้ำ และแหล่งหญ้าทะเล ตัวอย่างผลงานวิจัยที่นำเสนอ: Effectiveness of Citizen Science in Responding to Oil Spills in Rayong
Abundance and Composition of Microplastics in Seawater in the Inner Gulf of Thailand
How the OECMS Concept Supports the Achievement of the 30x30 Target in Thailand?: Marine Biodiversity Conservation Perspectives
Carbon Sequestration of Mangrove and Seagrass Resources in Krabi Province, Thailand
A Carbon Neutral Tourism Program at Hat Noppharat Thara - Mu Ko Phi Phi National Park, Krabi Province, Thailand
Diversity of Coral Communities in Marine National Parks, the Western Gulf of Thailand
The Growth Rate of Brain Coral (Platygyra sp.) on Fired Clay Tiles in a Coral Nursery and the Natural Environment at Mun Nai Island, Rayong Province
Species Diversity and Abundance of Corals on Underwater Pinnacles in Ko Samui Areas, the Western Gulf of Thailand
Diversity of Macrobenthic Invertebrates on an Underwater Pinnacle and a Nearshore Coral Reef in Rayong Province, Thailand
Spatial Changing of Seagrass Beds at Ao Nammao, Krabi Province
ผลงานวิจัยที่นำเสนอในการประชุมทางวิชาการ WCMB ครั้งนี้ ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากสำนักประสานงานการพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ หน่วยงานบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) และหน่วยงานต้นสังกัด การประชุมครั้งนี้ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ การพัฒนางานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเล และการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างประเทศให้มีความกว้างขวางและเข้มแข็งมากขึ้น