xs
xsm
sm
md
lg

สกสว. บพข. ชู BCG Model ขับเคลื่อนการท่องเที่ยว “สร้างสรรค์” ยกระดับเศรษฐกิจของประเทศ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



สกสว.เยี่ยมชมผลงาน “การยกระดับเศรษฐกิจการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและเศรษฐกิจ สร้างสรรค์” พร้อมหารือแนวทางการขับเคลื่อนให้ตอบโจทย์ยุทธศาสตร์ BCG Model ของรัฐบาล ด้วย ววน.

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.พงศ์พันธ์ แก้วตาทิพย์ รองผู้อำนวยการ สกสว. และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุภาวดี โพธิยะราช ผู้เชี่ยวชาญอาวุโส สกสว. และประธานคณะอนุกรรมการแผนงานกลุ่มการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) ลงพื้นที่เยี่ยมชมผลการดําเนินงานโครงการ “การยกระดับเศรษฐกิจการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและเศรษฐกิจ สร้างสรรค์ ด้วยวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม” แผนงานการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ที่ได้รับทุนจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กองทุนส่งเสริม ววน.) ผ่าน บพข. รวม 5 โครงการ ประกอบด้วย

1.การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อสร้างมูลค่าและคุณค่าแก่การท่องเที่ยวเชิงพักผ่อนล้านนา โดย ดร.ดนัยธัญ พงษ์พัชราธรเทพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

2.การพัฒนาต่อยอดการจัดงานเทศกาลประจำเมืองสู่ยุทธศาสตร์การส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในจังหวัดเชียงใหม่ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพงศ์ พันธ์น้อย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

3. การยกระดับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของธุรกิจสปาและการท่องเที่ยวเชิงกีฬาเพื่อมุ่งสู่การท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.อารีวรรณ กลั่นกลิ่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

4. แพลตฟอร์มไทยเวลเนสเพื่อยกระดับระบบนิเวศน์ทางธุรกิจของกลุ่มผู้ประกอบการเวลเนส โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ภก.ไชยวัฒน์ ไชยสุต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

5. การพัฒนาต้นแบบการบริการสปาเพื่อสุขภาพด้วยศาสตร์ภูมิปัญญาไทย โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.อารีวรรณ กลั่นกลิ่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ สมาคมสปาล้านนา

โอกาสนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.พงศ์พันธ์ กล่าวว่า อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม การพัฒนาทุนทางสังคม วัฒนธรรมและธรรมชาติกลายเป็นฐานทรัพยากรทางการท่องเที่ยวที่สร้างความได้เปรียบของการแข่งขันมาอย่างต่อเนื่อง โดยอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็น 1 ใน 4 ของยุทธศาสตร์ BCG Model ที่รัฐบาลกำหนดให้เป็นวาระแห่งชาติ เพื่อขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจสร้างคุณค่าด้วยการองค์ความรู้และนวัตกรรม ต่อความสำคัญดังกล่าว แผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ปี 2566 – 2570 โดยยุทธศาสตร์ที่ 1 แผนงานที่ 3 พัฒนาระบบเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy: BCG) ในด้านการท่องเที่ยวให้เป็นระบบเศรษฐกิจมูลค่าสูง มีความยั่งยืนและเพิ่มรายได้ของประเทศ และ แผนงานสำคัญตามจุดมุ่งเน้นของนโยบาย (F5) พัฒนาและยกระดับการท่องเที่ยว โดยใช้แนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ที่เน้นคุณค่า สร้างความยังยืนและเพิ่มรายได้ของประเทศ จึงกำหนดให้มีการวิจัยในประเด็นนี้

พร้อมกำหนดเป้าหมาย ไว้ 3 ข้อ คือ 1.นักท่องเที่ยวคุณภาพสูงที่มาเที่ยวในประเทศไทยที่มาเยือนซ้ำเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยการใช้ผลงานวิจัย องค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ตามแนวทางของระบบเศรษฐกิจ BCG 2. รายได้จากการท่องเที่ยวบนฐานเศรษฐกิจ BCG เพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยการใช้ผลงานวิจัย องค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ตามแนวทางของระบบเศรษฐกิจ BCG 3. ท้องถิ่น/ ชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจ และความสำเร็จในการอนุรักษ์ ฟื้นฟูและการเพิ่มพูนความหลากหลายทางชีวภาพ รวมถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่สำคัญ ทำให้เกิดการท่องเที่ยวคุณค่าสูง โดยการใช้ผลงานวิจัย องค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ตามแนวทางของระบบเศรษฐกิจ BCG

ด้าน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพงศ์ พันธ์น้อย ผู้อํานวยการแผนงานการยกระดับอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ กล่าวว่า การขับเคลื่อนงานวิจัยด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของ บพข. จะมุ่งเน้นการยกระดับและความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ และการต่อยอดไปสู่กลไกการพัฒนาเศรษฐกิจทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ โดยความร่วมมือของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในส่วนของหน่วยงานด้านการท่องเที่ยว ผู้ประกอบการ สถาบันการศึกษา และชุมชนพื้นที่ ซึ่งแบ่งการทำงานออกเป็น 3 ช่วง คือ ช่วงปี 2563-2565 การดำเนินงานจะเป็นการต่อยอดจากฐานภูมิปัญญา โดยการพัฒนาต่อยอดสินค้าและบริการ สร้างสรรค์จากฐานภูมิปัญญาวัฒนธรรมไทย และทรัพยากรในท้องถิ่นเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ ช่วงปี 2565-2567 จะเป็นการเชื่อมโยงนวัตกรรม สร้างสรรค์ธุรกิจรูปแบบใหม่ โดยการพัฒนาสินค้าและบริการสร้างสรรค์ ภายใต้รูปแบบธุรกิจใหม่จากการเชื่อมโยงภูมิปัญญาเข้ากับเทคโนโลยีและนวัตกรรม และช่วงปี 2567-2570 การดำเนินงานจะเน้นบูรณาการระหว่างอุตสาหกรรม เพื่อเพิ่มมูลค่าและความสามารถในการแข่งขัน โดยการบูรณาการอุตสาหกรรมสร้างสรรค์กับอุตสาหกรรมและภาค ธุรกิจอื่นๆ เพื่อขยายศักยภาพ สร้างโอกาสใหม่ เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ และพัฒนา Soft Power

อย่างไรก็ดี สกสว.และ บพข.หวังเป็นอย่างยิ่งว่า แผนงานการยกระดับอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ เพื่อเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ของแผนด้านววน.จะสามารถตอบโจทย์ยุทธศาสตร์ BCG Model ของรัฐบาล และสร้างความเข้มแข็งด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ให้ประเทศไทยเป็นจุดหมายของการท่องเที่ยวที่เน้นคุณค่าและความยังยืน










กำลังโหลดความคิดเห็น