คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คิดค้นนวัตกรรมทางการแพทย์ด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีวิศวกรรมกับโปรตีนไหมไทย จนเกิดเป็นนวัตกรรมทางการแพทย์ด้านวิศวกรรมเนื้อเยื่อและระบบนำส่งยา ของการรักษาโรคมะเร็ง โรคข้อเสื่อม การผลิตหลอดเลือดเทียม เส้นประสาทเทียม ท่อน้ำตาเทียม การพิมพ์เนื้อเยื่อสามมิติ การทาเปลือกตาเทียม ทาแผ่นปิดแผลนำส่งยา การทาผิวหนังเทียม และกระดูกเทียม
นวัตกรรมทางการแพทย์จากไหมไทยนี้ ศ.ดร.ศิริพร ดำรงค์ศักดิ์กุล และ รศ. ดร.โศรดา กนกพานนท์ จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ทำการวิจัยเนื่องจากเห็นว่า ไหมไทยเป็นวัตถุดิบทางการเกษตรที่สำคัญ และมีสมบัติที่ดีเหมาะสมสาหรับการนำมาใช้ทางการแพทย์ จึงได้ดำเนินงานวิจัยมาอย่างต่อเนื่อง จนประสบความสำเร็จสามารถนำมาใช้เป็นนวัตกรรมทางการแพทย์ในการรักษาโรคมะเร็งและโรคอื่นๆ ได้
ปัจจุบันคณะผู้วิจัยสามารถพัฒนาระบบนำส่งยาและสารสำคัญ รวมถึงวิศวกรรมเนื้อเยื่อจากชีววัสดุไฟโบรอินที่สกัดจากรังไหมไทยในรูปแบบต่างๆ ทั้งไฮโดรเจล โครงสามมิติ แผ่นแปะ อนุภาคขนาดไมครอน เส้นใยขนาดนาโน เป็นต้น เพื่อประยุกต์ใช้ในทางการแพทย์โดยเฉพาะระบบนำส่งยาหรือสารออกฤทธิ์เพื่อรักษาโรคต่างๆ อาทิ โรคมะเร็ง ข้อเสื่อม เบาหวาน และวิศวกรรมเนื้อเยื่อต่างๆ อาทิ ผิวหนัง กระดูก หลอดเลือด เป็นต้น ซึ่งจากผลการศึกษาวิจัยด้านความปลอดภัย ทำให้ผู้วิจัยมั่นใจว่าจะสามารถนำเทคโนโลยีไฟโบรอินไหมมาประยุกต์ใช้งานได้จริงในทางการแพทย์ เนื่องจากไฟโบรอินไหมมีสมบัติเด่นในด้านความเข้ากันได้ทางชีวภาพ (Biocompatibility) มีปฏิกิริยาต่อต้านจากภูมิคุ้มกันของร่างกายต่ำ (low-immunogenicity) สามารถย่อยสลายได้ในร่างกาย (Biodegradability) และสามารถปรับเปลี่ยนอัตราการย่อยสลายและการปลดปล่อยยาที่บรรจุได้
นอกจากนั้น ไหมไทย ยังสามารถนำมาผลิตเป็นครีมไฮโดรเจลจากสารสกัดไหมไทยผสมยาปฏิชีวนะ ใช้สำหรับทาแผลทั่วไป และแผลกดทับ เพื่อช่วยรักษาความชุ่มชื้นในแผล ช่วยส่งเสริมขบวนการหายของแผล และกำจัดเชื้อแบคทีเรีย โดยไฮโดรเจลจากสารสกัดไหมไทยจะช่วยปลดปล่อยยาออกมาในปริมาณที่เหมาะสม และลดความถี่ของการใช้ยาปฏิชีวนะได้ รวมถึงการพัฒนาไฮโดรเจลแบบฉีดได้ ซึ่งเตรียมจากสารสกัดไหมไทยผสมยาสเตียรอยด์ที่เป็นยาทั่วไปที่ใช้ในการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม โดยจะช่วยลดความเจ็บปวดและอาการบวมจากการเสียดสีกันของข้อเข่าที่เสื่อมและต้านการอักเสบ ไฮโดรเจลจากสารสกัดไหมไทยสามารถช่วยปกป้องตัวยาไม่ให้เสื่อมสลาย และช่วยชะลอการปลดปล่อยของตัวยาให้ออกมาในปริมาณที่เหมาะสม แต่เนิ่นนานขึ้น ส่งเสริมให้ตัวยายังคงมีประสิทธิภาพในการรักษานานขึ้น และลดความถี่ของการฉีดยาสเตียรอยด์ได้ นอกจากนี้ไหมไทยยังสามารถต่อยอด ผลิตเป็นแผ่นแปะช่วยผ่อนคลาย แผ่นไฮโดรเจลนวัตกรรมใหม่ ที่มีไฟโบรอินจากไหมไทยที่ประสิทธิภาพในการช่วยชะลอการปลดปล่อย cannabidiol (CBD) อย่างช้าๆ ซึ่งจะช่วยผ่อนคลาย ลดความเครียด ช่วยให้นอนหลับง่าย และช่วยให้การนอนหลับลึกขึ้น โดยมีผลการทดสอบทางวิทยาศาสตร์รองรับ รวมถึงผ่านการทดสอบทางผิวหนัง และการผลิตอยู่ภายใต้มาตรฐาน GMP
จากความสำเร็จดังกล่าว จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย คณะวิศวกรรมศาสตร์ จึงได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทาง วิชาการ (MOU) กับกรมหม่อนไหม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีวิศวกรรมกับ โปรตีนไหมไทย เพื่อพัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์ด้านวิศวกรรมเนื้อเยื่อและระบบนาส่งยา ซึ่งความร่วมมือของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และกรมหม่อนไหม เป็นโครงการที่ได้ร่วมมือกันมา 17 ปี และที่ผ่านมา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับความร่วมมือจากศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติ โคราช ที่ สนับสนุนด้านองค์ความรู้ มาโดยตลอด ทาให้สามารถผลิตผลงานวิจัยเรื่องการประยุกต์ใช้ไหมไทยในงานทาง การแพทย์เป็นจานวนมาก
“ถือเป็นความภูมิใจและความสาเร็จที่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้ทาการวิจัยค้นคว้า เป็นผลสัมฤทธิ์ที่เป็นที่ประจักษ์ สามารถนำงานวิจัยมาพัฒนาเพื่อการสร้างศักยภาพให้กับเกษตรกร ได้มีความรู้ ความสามารถ และยกระดับมาตรฐานในอาชีพเกษตรกรผู้เลี้ยงหม่อนไหมได้อย่างดียิ่ง ทั้งยังเป็นการสร้างนวัตกรรมให้กับทาง การแพทย์ ให้มีศักยภาพในการรักษาผู้ป่วยได้อย่างทั่วถึงด้วยผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐานสากล สร้างมูลค่าเพิ่ม ด้วยงานวิจัยที่เป็นคุณประโยชน์ต่อประเทศชาติ” ..... ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าว
ความร่วมมือในโครงการ “ไหมไทย” จากอุตสาหกรรมสิ่งทอสู่นวัตกรรมเพื่อการแพทย์นี้ดำเนินการ โดย บริษัท เอนจินไลฟ์ จากัด (EngineLife) ซึ่งเป็นบริษัทที่อยู่ภายใต้การบ่มเพาะของ CU Engineering Enterprise ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และได้รับการสนับสนุนการดาเนินงานจาก CU Innovation Hub ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย