xs
xsm
sm
md
lg

นักวิทย์ฯ ออกโรงเตือน น้ำแข็งอาร์กติกอาจหายไปหมด ภายในปี 2030 แม้ฤดูหนาวก็สร้างน้ำแข็งไม่ได้

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



สภาวะโลกร้อนที่กำลังให้สภาพอากาศของโลกกำลังแปรปรวน ทำให้นักวิทยาศาสตร์ให้ความสนใจเป็นอย่างมากในการแก้ไขปัญหาในเรื่องนี้ และยังพยายามให้คำเตือนถึงสิ่งต่างๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตข้างหน้า เช่น รายงานใหม่จากทีมนักวิทยาศาสตร์นานาชาติ ที่ได้มีคำเตือนว่า น้ำแข็งบริเวณขั้วโลกเหนือ หรือที่เรารู้จักกันเขตอาร์กติก อาจหายไปหมดภายในปี 2030 นี้ เพราะผลจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทำให้เกิดภาวะโลกร้อนจนอาร์กติกไม่สามารถสร้างน้ำแข็งเองได้ และถึงแม้เราจะหยุดปล่อยมลพิษตอนนี้ทันที ผลก็จะไม่เปลี่ยนแปลง

คำเตือนในเรื่องนี้ ได้มีงานวิจัยเผยแพร่ในวารสารออนไลน์ Nature communications ซึ่งเก็บข้อมูลดาวเทียมตั้งแต่ปี 1979 ถึง 2019 และสร้างแบบจำลองสภาพอากาศที่แตกต่างกันไปตามปัจจัยต่างๆ เพื่อประเมินว่าน้ำแข็งในทะเลอาร์กติกจะเป็นยังไงบ้าง


นักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาในเรื่องนี้พบว่า ในฤดูร้อนของขั้วโลกเหนือ น้ำแข็งจะหายไปหมด และมันจะไม่กลับภายในปี 2030 หรือพูดง่ายๆ ว่าน้ำแข็งที่อาร์ติกจะหายไปหมดภายในปี 2030 แม้ว่าเราจะลดหรือหยุดปล่อยตอนนี้เลย ผลกระทบก็จะยังเกิดขึ้น แต่อาจเกิดขึ้นช้ากว่าเดิมนิดหน่อย

Seung-Ki Min ผู้เขียนหลักของการศึกษาและศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์โพฮังในเกาหลีใต้กล่าวว่า 


“เรารู้สึกประหลาดใจที่ว่าอาร์กติกจะไม่มีน้ำแข็งเกิดขึ้นในช่วงฤดูร้อน โดยไม่คำนึงถึงความพยายามในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่คาดคิดเลย”


ในช่วงปกติ น้ำแข็งที่ขั้วโลกจะก่อตัวขึ้นในฤดูหนาว แล้วละลายในฤดูร้อนซึ่งจะละลายมากสุดในเดือนกันยายน จากนั้นก็เริ่มวัฏจักรใหม่อีกครั้ง ทีนี้ โลกที่ร้อนขึ้นไปซ้ำเติมให้ฤดูหนาวปกติสร้างน้ำแข็งได้น้อยลง และก็ทำให้ฤดูร้อนมีน้ำแข็งละลายมากขึ้น จนน้ำแข็งน้อยลงเรื่อย ๆ

ในอนาคต ขั้วโลกเหนือ หรือเขตอาร์กติกจะไม่มีน้ำแข็งปกคลุม เพราะสร้างในฤดูหนาวก็ไม่ได้ แถมละลายมากขึ้นในฤดูร้อน และที่สำคัญ โลกกำลังสูญเสียน้ำแข็งเหล่านี้ในอัตราเร่งที่เร็วเกินกว่าใคร ๆ เคยประเมินไว้ ก็คืออาจหายไปหมดภายใน 7 ปีนี้ ไม่ใช่ว่าเรามองไม่เห็นอนาคตที่จะมาถึง แต่มันมาถึงเร็วกว่าที่คาดไว้มาก


หากขั้วโลกเหนือไม่มีน้ำแข็งในทะเลจะส่งผลกระทบเป็นระลอกคลื่นที่รุนแรงไปทั่วโลก กระแสน้ำหยุดชะงัก สภาพอากาศสุดขั้ว คลื่นความร้อน ไฟป่า น้ำท่วม และภาพหมีขั้วโลกที่ไม่มีน้ำแข็งให้ยืนอยู่จะเป็นจริง แค่ใน 30 ปีที่ผ่านมา 95% ของน้ำแข็งในทะเลที่หนาที่สุดของอาร์กติกได้ละลายหายไปแล้ว


“น้ำแข็งในทะเลเป็นรากฐานของระบบนิเวศมากมาย สาหร่ายเป็นอาหารของปลา ปลาเป็นอาหารของนกและอื่น ๆ ระบบนิเวศทางทะเลจะได้รับผลกระทบทั่วโลก เรายังไม่รู้คำตอบแน่ชัดว่าจะเป็นอย่างไรหากน้ำแข็งหายไป” ...  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ภาควิชาธรณีศาสตร์ จากมหาวิทยาลัย Aarhus กล่าว

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : www.phys.org / FB : Environman


กำลังโหลดความคิดเห็น