xs
xsm
sm
md
lg

พบ “ฟอสฟอรัส” บนดวงจันทร์เอนเซลาดัส สารตั้งต้นกำเนิดสิ่งมีชีวิต ยืนยันการเป็นสถานที่นอกโลกที่เอื้อต่อการดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิตมากที่สุดในระบบสุริยะ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ในการประชุม Enceladus Focus Group Conference ที่ได้ประกาศว่า “ดวงจันทร์เอนเซลาดัส” หนึ่งในดาวบริวารของดาวเสาร์ เป็นสถานที่นอกโลกที่เอื้อต่อการดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิตมากที่สุดในระบบสุริยะเท่าที่รู้จักมา จนทำให้ในปีนี้ดวงจันทร์ดวงนี้ ได้กลายเป็นดวงจันทร์ที่ถูกพูดถึงมากที่สุด

ด้วยความน่าสนใจของดวงจันทร์ดวงจันทร์เอนเซลาดัส ทาง NASA ได้มีโครงการสำรวจดวงจันทร์ที่แสนพิเศษดวงนี้ คือ โครงการหุ่นยนต์งู Exobiology Extant Life Surveyor (EELS) ที่จะสามารถเคลื่อนที่ไปจนถึงน้ำของเหลวใต้พื้นผิวน้ำแข็งของดวงจันทร์ดวงนี้ และก่อนหน้านี้ ก็ยังได้รับการสำรวจจากยานอวกาศแคสสินีอีกด้วย


ล่าสุดงานวิจัยที่ตีพิมพ์ใน วารสาร Nature ระบุว่า มีการค้นพบ ธาตุฟอสฟอรัส (P) ในรูปของสารประกอบฟอสเฟตบางชนิดบนดวงจันทร์เอนเซลาดัส ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่มีการค้นพบแร่ธาตุสำคัญในการกำเนิดสิ่งมีชีวิต ภายในมหาสมุทรของดาวดวงอื่นนอกเหนือจากโลก

ทีมนักวิจัยนานาชาติ นำโดย ดร. แฟรงก์ โพสต์เบิร์ก จากมหาวิทยาลัย Free University of Berlin ของเยอรมนี ระบุว่าพบสารอินทรีย์ฟอสเฟตในเกล็ดน้ำแข็ง ซึ่งยานแคสสินีเก็บได้จากวงแหวนของดาวเสาร์ โดยพวกเขาสันนิษฐานว่า มันมาจากไอน้ำร้อนที่พวยพุ่งขึ้นจากมหาสมุทรใต้พื้นผิวน้ำแข็งของเอนเซลาดัส


ในการค้นพบครั้งนี้ ทาวนักวิทยาศาสตร์ได้มีการพวกประเมินว่า ฟอสฟอรัสอาจมีอยู่อย่างมากมายในมหาสมุทรของเอนเซลาดัส มากกว่าบนโลก 100 เท่า ธาตุนี้เป็นธาตุที่สำคัญมากกับชีวิตบนโลก เพราะทุกเซลล์ดูดซับมันเอาไปสร้างเป็นแกนของเส้น DNA เอาไว้ซ่อมเยื่อมหุ้มเซลล์ รวมถึงมีผลกับกระดูกด้วย

การค้นพบในครั้งนี้ ได้ตอกย้ำคำประกาศ ที่ให้ดวงจันทร์เอนเซลาดัสเป็นสถานที่นอกโลกที่เอื้อต่อการดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิตมากที่สุดในระบบสุริยะเท่าที่รู้จักมา ซึ่งได้กลายเป็นดวงดาวดวงแรกที่ผ่านข้อกำหนดในทุกข้อ ของสิ่งที่ต้องมีเพื่อการเอื้อต่อการเกิดชีวิต และนอกจากฟอสฟอรัสแล้ว ดวงจันทร์ดวงนี้ยังมี ธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจน ไนโตรเจน ออกซิเจน กำมะถัน ที่เป็นธาตุสำคัญด้วย


ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : tech.hindustantimes.com / FB : NASA / Science Think


กำลังโหลดความคิดเห็น