xs
xsm
sm
md
lg

สกสว. ประสานพลังภาคีด้านสิ่งแวดล้อม เตรียมขับเคลื่อนสังคมไทย สู่สังคม Net Zero Emission

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



สกสว.จัดประชุม Focus group ววน.กับการขับเคลื่อนสังคมไทย สู่สังคม Net Zero Emission และ สังคม Resilience ที่มั่นคง แข็งแรง พร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในอนาคต

เมื่อวันที่ 1 มี.ค.สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) จัดประชุม Focus Group เรื่อง "ววน.พุ่งสู่ Net Zero และสังคม Resilience" โดยมีทรงคุณวุฒิ นักวิจัย ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ทั้งในและนอกระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สถานการณ์ การปล่อยก๊าซเรือนกระจก มาตรการลดก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญ และการปรับตัวเข้าสู่สังคม Resilience ที่เกิดขึ้น ในปัจจุบัน และระดมความคิด กำหนดทิศทางและช่องว่างของงานวิจัยที่ควรดำเนินการต่อ เพื่อให้ประเทศไทยพุ่งสู่การบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี ค.ศ. 2050 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายใน ปี ค.ศ. 2065

โอกาสนี้ ดร.พงษ์วิภา หล่อสมบูรณ์ ผู้เชี่ยวชาญระดับสูง สกสว. กล่าวว่า ที่ผ่านมา สกสว. โดยหน่วยบูรณาการประเด็นยุทธศาสตร์ เพื่อพัฒนาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ด้านสิ่งแวดล้อม (SAT สิ่งแวดล้อม) จัดให้มีการประชุมหารือการดำเนินงาน ด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ด้านสิ่งแวดล้อม เพื่ออัพเดทการลงทุนด้านการวิจัย ในประเด็นสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ ทั้งในและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง เพื่อทบทวน และ กำหนดการดำเนินงาน ภายใต้แผนด้าน ววน.ในยุทธศาสตร์ที่ 2 การยกระดับสังคมและสิ่งแวดล้อม ให้มีการพัฒนาอย่างยั่งยืน สามารถแก้ไขปัญหาท้าทายและปรับตัวได้ทันต่อพลวัตการเปลี่ยนแปลงของโลก โดยใช้วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โปรแกรมที่ 15 ว่าด้วย การพัฒนาและเร่งแก้ไขปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งเน้นการบริโภคอย่างยั่งยืนและการเป็นสังคมคาร์บอนต่ำ โปรแกรม 16 ว่าด้วย การพัฒนานโยบายและต้นแบบ เพื่อลดความเสี่ยงและผลกระทบที่เกิดจากภัยพิบัติทางธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ที่สอดคล้องกับกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change: UNFCCC) และ เจตนารมณ์ ที่รัฐบาลไทยได้แสดงเจตนารมย์ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ต่อที่ประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Conference of the Parties: COP) โดยประกาศ เป้าหมายการเข้าสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี ค.ศ. 2050 และตั้งเป้าหมายการ ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ภายในปี ค.ศ. 2065 โดยที่ประเทศไทยจะมุ่งลดการ ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จากภาคพลังงาน ซึ่งเป็นแหล่งปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากที่สุดของประเทศ และมีการทำแผนพลังงานแห่งชาติ (National Energy Plan 2022: NEP 2022) โดยกำหนดสัดส่วนของการใช้ พลังงานหมุนเวียนอย่างน้อยร้อยละ 50 ของโรงไฟฟ้าใหม่ และรถยนต์ที่จดทะเบียนใหม่ในตลาดร้อยละ 69 ต้องเป็นรถไฟฟ้า (Electric Vehicles: EV) รวมถึง Battery Electric Vehicles (BEVs) และ Plug-in Hybrid Electric Vehicles (PHEVs) ภายในปี ค.ศ. 2035

สำหรับการจัดประชุมเสวนาครั้งนี้แบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงเช้า เป็นการเสวนา “ววน. พุ่งสู่ Net Zero” ในประเด็นที่น่าสนใจ อาทิ

· พลังงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดย ดร.นุวงศ์ ชลคุ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

· รถยนต์ EV สู่เป้าหมาย Net Zero โดยผู้แทนสถาบันยานยนต์

· วัสดุทดแทนซีเมนต์/กระบวนการผลิตลด CO2 โดยคุณมนสิช สาริกภูติ บริษัท เอสซีจี ซิเมนต์ จำกัด

· เทคโนโลยี CCUS ในประเทศไทย โดยดร.สัญชัย คูบูรณ์ ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สวทช.

· ภาคเอกชนกับเทคโนโลยี CCS สู่เป้าหมาย Net Zero โดยคุณญาณเดช ศรีพาณิชย์ Business Lead, CCS บริษัท ปตท.

· ทรัพยากรทางทะเลกับการดูดซับคาร์บอน โดย รศ.ดร.อัญชนา ประเทพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

· ป่าไม้กับการดูดกลับคาร์บอน โดย ผศ.ดร.กอบศักดิ์ วันธงไชย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ต่อด้วยช่วงบ่าย เป็นการเสวนา “ววน. พุ่งสู่ Climate Adaptation และ สังคม Resilience” ในประเด็น

· นวัตกรรมภาคเกษตรกับการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดย ดร.ไพรัตน์ ศรีชนะ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส สำนักวิชาการอาหารสัตว์ บริษัทซีพี เอฟ

· digital agriculture กับการคาดการณ์ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดย ดร.ชิษณุชา บุดดาบุญ กรมการข้าว

· นวัตกรรมชุมชนในการจัดการน้ำกับการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดย ดร.วินัย เชาว์วิวัฒน์ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ

· การออกแบบเมืองเพื่อพุ่งสู่ Urban Resilience โดย รศ.ดร.วิจิตรบุษบา มารมย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

· องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและความร่วมมือระหว่างประเทศด้าน Urban Climate Resilience โดย ดร.ผกามาศ ถิ่นพังงา สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย

· การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของภาคการท่องเที่ยว โดย ดร.กรรณิการ์ ธรรมพานิชวงศ์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย

· ระบบนิเวศ กับ Slow-onset effects of climate change โดย ดร.อัศมน ลิ่มสกุล กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม

อย่างไรก็ดี สกสว. หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ชุดข้อมูล และข้อแลกเปลี่ยนในวันนี้ จะช่วยให้ระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของไทย ก้าวเข้ามามีบทบาทอย่างยิ่งในการเปลี่ยนผ่านสังคมไทยไปสู่ Net Zero Emission และ สังคม Resilience ที่มั่นคง แข็งแรง ต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในอนาคต










กำลังโหลดความคิดเห็น