xs
xsm
sm
md
lg

8 ธันวาคม “ดาวอังคาร” โคจรอยู่ในตำแหน่งตรงข้ามดวงอาทิตย์ แต่ไม่ใช่ตำแหน่งใกล้โลกที่สุด

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ในวันที่ 8 ธันวาคม 2565 นี้ “ดาวอังคาร” จะมีการโคจรมาอยู่ในตำแหน่งตรงข้ามดวงอาทิตย์ โดยตำแหน่ง ดวงอาทิตย์ โลก และ ดาวอังคาร จะเรียงตัวอยู่ในเส้นเดียวกัน ซึ่งในวันที่ 1 ธันวาคมที่ผ่านมา ดาวอังคารยังได้โคจรในตำแหน่งใกล้โลกในรอบปี จึงถือได้ว่าในช่วงนี้ ดาวเคราะห์สีแดงยังอยู่ในระยะที่โคจรใกล้โลกในรอบปี เมื่อหลังจากดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า ดาวอังคารจะปรากฏสว่างมากทางทิศตะวันออก มีสีส้มแดง และสว่างเด่นชัดอยู่บนท้องฟ้าตลอดคืนจนถึงรุ่งเช้า และสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าจากโลกโดยง่ายซึ่งจะปรากฏให้เห็นเป็นสีออกแดง มีความส่องสว่างปรากฏได้ถึง −2.91 ซึ่งเป็นรองเพียงดาวพฤหัสบดี ดาวศุกร์ ดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์


ดาวอังคาร เป็นดาวเคราะห์บริววารลำดับที่ 4 ของดวงอาทิตย์ เป็นดาวเคราะห์เล็กที่สุดอันดับที่ 2 ในระบบสุริยะรองจากดาวพุธ โดยวงโคจรของดาวอังคารมีระยะหางเฉลี่ย 230 ล้านกิโลเมตรโดยประมาณ (1.5 หน่วยดาราศาสตร์) และมีคาบการโคจรเท่ากับ 687 วันของโลก หนึ่งวันสุริยะบนดาวอังคารยาวกว่าหนึ่งวันของโลกเพียงเล็กน้อยคือเท่ากับ 24 ชั่วโมง 39 นาที 35.244 วินาที หนึ่งปีของดาวอังคารเท่ากับ 1.8809 ปีของโลก หรือ 1 ปี 320 วัน กับอีก 18.2 ชั่วโมง

เนื่องจากวงโคจรของดาวอังคารนั้นค่อนข้างรี และอยู่ใกล้โลกมาก เมื่อเทียบกับดาวเคราะห์วงนอกดวงอื่นๆ เป็นผลให้วันที่ดาวอังคารอยู่ตำแหน่งตรงข้ามดวงอาทิตย์ จะไม่ใช่วันที่ดาวอังคารเข้าใกล้โลกมากที่สุด ต่างจากดาวเสาร์และดาวพฤหัสบดี ทั้งนี้ ดาวอังคารจะเข้าใกล้โลกในทุกๆ 2 ปี 2 เดือน และจะเข้าใกล้โลกมากที่สุดทุกๆ 15 - 17 ปี




ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ NARIT


กำลังโหลดความคิดเห็น