นักวิทยาศาสตร์โชว์หลักฐานไมโครพลาสติกในสิ่งมีชีวิตหากินตามผิวดินที่แอนตาร์กติกา ชี้ปัญหามลพิษขยะพลาสติกหยั่งลึกถึงห่วงโซ่อาหารที่อยู่ไกลและโดดเดี่ยวจากส่วนอื่นๆ ของโลกแล้ว
มหาวิทยาลัยอีเลตตราไซโครต ตรีเยสเตในซีนา (Elettra Sicrotone Trieste University of Siena) อิตาลี เผยภาพหลักฐานการพบโพลีสไตรีน (polystyrene) หรือพลาสติกชนิดหนึ่งในทางเดินอาหารของกลุ่มแมลงหางดีดที่หากินตามผิวดิน (collembolans) ที่แอนตาร์กติกา
การพบหลักฐานดังกล่าวแสดงถึงปัญหาการปนเปื้อนของขยะพลาสติกได้หยั่งลึกถึงห่วงโซ่อาหารในแอนตาร์กติกาที่อยู่ไกลและโดดเดี่ยวที่สุดของโลก โดยนักวิจัยที่นำโดยนักวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยซีนา ได้เก็บตัวอย่างจากก้อนโฟมโพลีสไตรีนที่ปกป้องคลุมชั้นสีเขียวของน้ำแข็งที่ประกอบไปด้วยสาหร่ายขนาดเล็ก มอส และไลเคน บนเกาะคิงจอร์จ (King George Island) ของเกาะเซาท์เชตแลนด์ (South Shetland Islands)