xs
xsm
sm
md
lg

เนคเทคส่งต่อเทคโนโลยีเซนเซอร์พัฒนาเกษตรอัจฉริยะขยายสู่ EEC

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



เนคเทค-สวทช. พัฒนาระบบเกษตรอัจฉริยะ (Handy Sense) สู่การใช้งานจริงในพื้นที่ พร้อมขยายต่อระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC)

ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พัฒนาระบบเกษตรอัจฉริยะ (Handy Sense) ใช้งานจริงในพื้นที่ทำการเกษตรปลอดภัยสูงหรือผักปลอดภัย จังหวัดฉะเชิงเทรา ช่วยให้สามารถควบคุมสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมแก่การเจริญเติบโตของพืช ใช้งานง่าย ทนทาน ราคาถูก ตรวจวัดเกษตรได้อย่างแม่นยำ

ล่าสุด ดร.พนิตา พงษ์ไพบูลย์ รองผู้อำนวยการเนคเทค ได้นำคณะสื่อมวลชนเยี่ยมชมและติดตามความก้าวหน้าภายหลังการติดตั้งระบบเกษตรอัจฉริยะในพื้นที่ปลูกผักปลอดภัยสูงและฟาร์มสมายเมล่อน จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยระบุว่า การควบคุมคุณภาพและปริมาณการผลิตได้อย่างแม่นยำนั้น จำเป็นต่อการทำเกษตรกรรมแบบปลอดภัย ซึ่งเป็นการปลูกพืชที่ใช้กระบวนการทางธรรมชาติทำให้ไม่มีสารพิษตกค้าง และการเพาะปลูกให้ตรงตามมาตรฐาน จะส่งผลให้มีราคาสูง

"การเกษตรแม่นยำคือการสร้างระบบการเพาะปลูกที่สามาถควบคุมตัวแปรสำคัญที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการวัสดุ การเพาะปลูก การให้น้ำ การให้ปุ๋ย การป้องกันโรคและแมลงศัตรูพืช รวมถึงการควบคุมสภาวะแวดล้อมทางธรรมชาติ อาทิ อุณหภูมิ ความชื้น ปริมาณแสง ข้อมูลดังกล่าวนี้ เกษตรกรสามารถดำเนินการควบคุมได้ทั้งหมด แต่ตัวแปรที่สำคัญในการควบคุม คือ การควบคุมสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของพืชว่าควรทำอย่างไร พืชจึงมีการเจริญเติบโตในสภาวะที่เหมาะสมตลอดช่วงอายุ คือ ตั้งแต่กระบวนการเพาะปลูกจนกระทั่งเก็บเกี่ยว”

สำหรับระบบเกษตรอัจฉริยะ เป็นการนำเทคโนโลยีเซนเซอร์ไปช่วยในกระบวนการเพาะปลูก ซึ่งสิ่งจำเป็นในการควบคุมสภาวะแวดล้อมการปลูกตั้งแต่ต้น ส่งผลให้ควบคุมคุณภาพและประเมินปริมาณผลผลิต รวมถึงช่วยเรื่องการเพิ่มคุณค่าของผลิตผลได้ โดยใช้การควบคุมกระบวนการเพาะปลูกเพื่อให้ผลผลิตออกในช่วงที่มีความต้องการ หรือผลผลิตขาดแคลน เนคเทคยังช่วยเกษตกรนำองค์ความรู้ที่เกิดจากทักษะที่ไม่สามารถถ่ายทอดให้เข้าใจได้เนื่องจากเป็นภูมิปัญญาและเป็นการทำเกษตกรรมแบบวิถีชาวบ้าน

"การลองผิดลองถูก หรือองค์ความรู้ที่สืบทอดต่อกันมา ไม่มีการจัดเก็บองค์ความรู้หรือข้อมูลที่ใช้อ้างอิง ต้องใช้เทคโนโลยีเซนเซอร์เข้ามาช่วยปรับเปลี่ยน เพื่อส่งผลให้มีกระบวนการเรียนรู้ สามารถถ่ายทอดได้ง่าย รวมถึงสามารถเก็บข้อมูลมาศึกษาและถ่ายทอดสู่เกษตรกรรุ่นต่อไปได้สะดวกมากยิ่งขึ้น"

เทคโนโลยีเซนเซอร์ที่ใช้นั้นช่วยวิเคราะห์และควบคุมปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม ที่สำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืช ตั้งแต่การปลูกจนกระทั่งเก็บเกี่ยว โดยรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์สภาพแวดล้อม มีทั้งเซนเซอร์อุณหภูมิ ความชื้นในอากาศ ปริมาณแสง ปริมาณการให้น้ำ ค่าความเป็นกรดด่าง ค่าความขุ่น ปริมาณออกซิเจน โดยนำข้อมูลมากำหนดตัวแปรสำหรับควบคุมสภาวะแวดล้อม เพื่อให้สามารถควบคุมคุณภาพ ประเมินปริมาณผลผลิต เพิ่มคุณค่าผลผลิต รวมทั้งลดต้นทุนการผลิต















ดร.พนิตา พงษ์ไพบูลย์

ดร.พนิตา พงษ์ไพบูลย์








กำลังโหลดความคิดเห็น